Magnetic Resonance Imaging (MRI)
Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะให้ภาพที่มีความชัดเจน มีความคมชัดสูง สามารถตรวจได้ในอวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกาย วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่อง MRI มาฝากว่าสามารถใช้ตรวจอะไรได้บ้าง ตามมาดูกันค่ะ
เครื่อง Magnetic Resonance Imaging (MRI) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพอวัยวะต่างๆ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะได้ภาพที่มีรายละเอียดของเนื้อเยื่อสูง และสามารถแสดงภาพได้ทุกระนาบของผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่างละเอียด
MRI ตรวจอะไรได้บ้าง
• MRI สมอง ตรวจเนื้อสมอง และเส้นเลือดสมอง สมองขาดเลือด เนื้องอก การติดเชื้อในสมอง
• MRI ช่องท้อง และกระดูกเชิงกราน ตรวจหาเนื้องอก มะเร็งตับ นิ่ว ความผิดปกติของมดลูก และต่อมลูกหมาก
• MRI กระดูกสันหลัง เช่น หมองรองกระดูกกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม และปวดหลังเรื้อรัง
• MRI กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อ ตรวจให้เห็นถึงการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือกระดูกอ่อน
• MRI เส้นเลือด สามารถตรวจหลอดเลือดดำ และหลอดเลือดแดง ความผิดปกติของการอุดตัน หรือโป่งพองของระบบหลอดเลือด
การตรวจด้วยเครื่อง MRI นั้น ผู้รับการตรวจจะต้องนอนนิ่งๆ ในอุโมงค์ โดยระยะเวลาในการตรวจขึ้นอยู่กับอวัยวะที่จะตรวจ เฉลี่ยประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรอยโรคที่สงสัย เช่น ตรวจความผิดปกติของเนื้อสมองโดยรวม จะอยู่ที่ประมาณ 30 นาที กรณีตรวจดูความผิดปกติของส่วนช่องท้อง จะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติก่อนเข้ารับการตรวจ
• เนื่องจากเป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวด เพียงแต่ทำใจให้สงบ นอนให้สบาย ไม่ต้องกลัว
• ในขณะที่เครื่องทำงานจะมีเสียงดัง กรุณาอย่าตกใจ
• ในขณะที่ทำการตรวจอยู่ในเครื่อง จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไร ท่านสามารถบอกได้โดยผ่านไมโครโฟนที่อยู่ภายในเครื่อง
• ด้วยเป็นการตรวจที่ละเอียดจึงใช้เวลาค่อนข้างนานในการตรวจแต่ละชุด ท่านต้องนอนให้นิ่งที่สุด ไม่เช่นนั้นจะทำให้ภาพไม่ชัดเจน อาจทำให้การวินิจฉัยไม่แม่นยำได้
• เจ้าหน้าที่จะทำการอธิบายขั้นตอนการตรวจอีกครั้งก่อนเข้ารับการตรวจ
• หากท่านเกิดความกังวลใจ กลัวที่จะอยู่คนเดียวในห้องหรือกลัวที่แคบ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ ซึ่งอาจให้ญาตินั่งเป็นเพื่อนได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
• หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า เนื่องจากเครื่องสำอางบางชนิดทำให้เกิดภาพบิดเบี้ยวได้
• โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่หากท่านมีโลหะในร่างกายหรือฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
แพทย์ผู้เขียน : พญ. ขนิษฐา กิตติศาสตรา รังสีวินิจฉัย
เครื่อง Magnetic Resonance Imaging (MRI) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพอวัยวะต่างๆ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะได้ภาพที่มีรายละเอียดของเนื้อเยื่อสูง และสามารถแสดงภาพได้ทุกระนาบของผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่างละเอียด
MRI ตรวจอะไรได้บ้าง
• MRI สมอง ตรวจเนื้อสมอง และเส้นเลือดสมอง สมองขาดเลือด เนื้องอก การติดเชื้อในสมอง
• MRI ช่องท้อง และกระดูกเชิงกราน ตรวจหาเนื้องอก มะเร็งตับ นิ่ว ความผิดปกติของมดลูก และต่อมลูกหมาก
• MRI กระดูกสันหลัง เช่น หมองรองกระดูกกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม และปวดหลังเรื้อรัง
• MRI กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อ ตรวจให้เห็นถึงการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือกระดูกอ่อน
• MRI เส้นเลือด สามารถตรวจหลอดเลือดดำ และหลอดเลือดแดง ความผิดปกติของการอุดตัน หรือโป่งพองของระบบหลอดเลือด
การตรวจด้วยเครื่อง MRI นั้น ผู้รับการตรวจจะต้องนอนนิ่งๆ ในอุโมงค์ โดยระยะเวลาในการตรวจขึ้นอยู่กับอวัยวะที่จะตรวจ เฉลี่ยประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรอยโรคที่สงสัย เช่น ตรวจความผิดปกติของเนื้อสมองโดยรวม จะอยู่ที่ประมาณ 30 นาที กรณีตรวจดูความผิดปกติของส่วนช่องท้อง จะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติก่อนเข้ารับการตรวจ
• เนื่องจากเป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวด เพียงแต่ทำใจให้สงบ นอนให้สบาย ไม่ต้องกลัว
• ในขณะที่เครื่องทำงานจะมีเสียงดัง กรุณาอย่าตกใจ
• ในขณะที่ทำการตรวจอยู่ในเครื่อง จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไร ท่านสามารถบอกได้โดยผ่านไมโครโฟนที่อยู่ภายในเครื่อง
• ด้วยเป็นการตรวจที่ละเอียดจึงใช้เวลาค่อนข้างนานในการตรวจแต่ละชุด ท่านต้องนอนให้นิ่งที่สุด ไม่เช่นนั้นจะทำให้ภาพไม่ชัดเจน อาจทำให้การวินิจฉัยไม่แม่นยำได้
• เจ้าหน้าที่จะทำการอธิบายขั้นตอนการตรวจอีกครั้งก่อนเข้ารับการตรวจ
• หากท่านเกิดความกังวลใจ กลัวที่จะอยู่คนเดียวในห้องหรือกลัวที่แคบ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ ซึ่งอาจให้ญาตินั่งเป็นเพื่อนได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
• หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า เนื่องจากเครื่องสำอางบางชนิดทำให้เกิดภาพบิดเบี้ยวได้
• โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่หากท่านมีโลหะในร่างกายหรือฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
แพทย์ผู้เขียน : พญ. ขนิษฐา กิตติศาสตรา รังสีวินิจฉัย