เรื่องของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ควรรู้
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากในผู้หญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แนวทางการป้องกันที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบไปจนถึงอายุ 45 ปี นอกจากป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กผู้หญิงแล้ว ยังป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้อีกด้วย วันนี้เรามีข้อมูลในเรื่องต่างๆ ที่ควรรู้เอาไว้ก่อนมาบอกค่ะ
ทำไมวัคซีนป้องกันโรคได้ และป้องกันได้อย่างไร? สาเหตุหลักๆ เกือบ 100 เปอร์เซนต์ เกิดจากติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เอชพีวี และในการฉีดวัคซีนก็เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อร่ายกาย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อแต่หากมีการติดเชื้อแล้ววัคซีนตัวนี้ก็จะช่วยกำจัดไวรัสให้ออกจากร่างกายได้เร็วยิ่งขึ้น
จำเป็นจะต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวีก่อนรับการฉีดวัคซีนหรือไม่? ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกานั้น ผู้หญิงที่ไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำและไม่พบผลผิดปกติใด ๆ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวีก่อนการได้รับวัคซีน
ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว จะยังสามารถฉีดวัคซีนเอชพีวีได้หรือไม่? สำหรับผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วก็ยังคงสามารถฉีดวัคซีนได้ เพียงแต่อาจจะไม่ได้รับประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกัน เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ถึงแม้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวีไปแล้ว ก็ยังได้รับประโยชน์จากการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีในบางสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในวัคซีนได้
วัคซีนชนิดนี้ สามารถฉีดในสตรีมีครรภ์หรือสตรีในระยะให้นมบุตรได้หรือไม่? ในสตรีมีครรภ์ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แต่จากรายงานพบว่าวัคซีนนี้ไม่มีอันตรายต่อเด็กที่คลอดจากแม่ที่ได้รับวัคซีนในขณะตั้งครรภ์ แต่หากในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ระหว่างการฉีดวัคซีนในเข็มที่ 2 หรือ 3 นั้น ควรหยุดฉีดทันที และกลับมาฉีดเข็มต่อไปได้หลังจากที่คลอดโดยไม่ต้องเริ่มเข็มแรกใหม่ ส่วนในระยะให้นมบุตรสามารถที่จะฉีดวัคซีนได้
แนะนำการฉีดวัคซีนเอชพีวี ในช่วงอายุใดจึงจะเหมาะสมที่สุด? วัคซีนเอชพีวี จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดในกรณีที่ยังไม่เคยมีการสัมผัสกับเชื้อ จึงเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดในเด็ก หรือหญิงสาววัยรุ่น เพื่อเป็นการป้องกันล่วงหน้าก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา ได้รับรองการใช้ในเด็กผู้หญิงและหญิงสาวอายุ 9-45 ปี ว่าสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์หลักคือ 16 และ 18 ได้อย่างมีประสิทธิภาพในผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ทำไมวัคซีนป้องกันโรคได้ และป้องกันได้อย่างไร? สาเหตุหลักๆ เกือบ 100 เปอร์เซนต์ เกิดจากติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า เอชพีวี และในการฉีดวัคซีนก็เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อร่ายกาย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อแต่หากมีการติดเชื้อแล้ววัคซีนตัวนี้ก็จะช่วยกำจัดไวรัสให้ออกจากร่างกายได้เร็วยิ่งขึ้น
จำเป็นจะต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวีก่อนรับการฉีดวัคซีนหรือไม่? ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกานั้น ผู้หญิงที่ไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำและไม่พบผลผิดปกติใด ๆ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวีก่อนการได้รับวัคซีน
ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว จะยังสามารถฉีดวัคซีนเอชพีวีได้หรือไม่? สำหรับผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วก็ยังคงสามารถฉีดวัคซีนได้ เพียงแต่อาจจะไม่ได้รับประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกัน เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ถึงแม้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวีไปแล้ว ก็ยังได้รับประโยชน์จากการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีในบางสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในวัคซีนได้
วัคซีนชนิดนี้ สามารถฉีดในสตรีมีครรภ์หรือสตรีในระยะให้นมบุตรได้หรือไม่? ในสตรีมีครรภ์ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แต่จากรายงานพบว่าวัคซีนนี้ไม่มีอันตรายต่อเด็กที่คลอดจากแม่ที่ได้รับวัคซีนในขณะตั้งครรภ์ แต่หากในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ระหว่างการฉีดวัคซีนในเข็มที่ 2 หรือ 3 นั้น ควรหยุดฉีดทันที และกลับมาฉีดเข็มต่อไปได้หลังจากที่คลอดโดยไม่ต้องเริ่มเข็มแรกใหม่ ส่วนในระยะให้นมบุตรสามารถที่จะฉีดวัคซีนได้
แนะนำการฉีดวัคซีนเอชพีวี ในช่วงอายุใดจึงจะเหมาะสมที่สุด? วัคซีนเอชพีวี จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดในกรณีที่ยังไม่เคยมีการสัมผัสกับเชื้อ จึงเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดในเด็ก หรือหญิงสาววัยรุ่น เพื่อเป็นการป้องกันล่วงหน้าก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา ได้รับรองการใช้ในเด็กผู้หญิงและหญิงสาวอายุ 9-45 ปี ว่าสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์หลักคือ 16 และ 18 ได้อย่างมีประสิทธิภาพในผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 20/06/2022
Author doctor
Dr. Kamonlapat Wijuckhapan
Specialty
Meternal Fetal Medicine