กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัวที่ใคร ๆ ก็เป็นได้
หนุ่มสาวออฟฟิศคนไหนที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ชอบกลั้นปัสสาวะ ไม่ค่อยลุกไปเข้าห้องน้ำ อาจทำให้ติดเป็นนิสัยได้นะครับ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอีกด้วย อาการของโรคนี้จะเป็นอย่างไร ร้ายแรงมากหรือไม่ เรามีข้อมูลสุขภาพมาบอกครับ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกวิธี การมีเพศสัมพันธ์ การสวนปัสสาวะ เป็นต้น นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณจุดซ่อนเร้น เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง การฉายรังสีบริเวณกล้ามเนื้อเชิงกราน แต่มักจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยช่วงอายุที่พบโรคนี้มาก คือ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป หากเกิดจากการอักเสบเฉียบพลัน สามารถรักษาหายได้ภายใน 2-3 วัน แต่หากมีอาการอักเสบเรื้อรัง ไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามไปที่ไตทำให้กรวยไตอักเสบได้ และถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังแทรกซ้อนได้ อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ ปวดบริเวณท้องน้อยในบางรายจะมีเลือดปนในปัสสาวะ และมีอาการคล้ายปัสสาวะไม่สุดอยู่ตลอดเวลา
ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
• ผู้หญิง ด้วยเหตุผลทางด้านสรีระ เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะจึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า
• การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกวิธี คือ ใช้กระดาษชำระเช็ดจากทวารหนักย้อนขึ้นด้านบนทำให้โดนท่อปััสสาวะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ในผู้หญิง
• ดื่มน้ำน้อย จึงทำให้ไม่ค่อยได้ปัสสาวะ ปัสสาวะจึงแช่ค้างอยู่นาน ส่งผลให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี
• อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศและท่อปัสสาวะหลังหมดประจำเดือน จึงทำให้ป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้น้อยลง
• กลั้นปัสสาวะ ยิ่งกลั้นปัสสาวะนานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียอยู่ในร่างกายนานขึ้นเท่านั้น และนำไปสู่การติดเชื้อได้
• ผู้หญิงที่มีการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิในช่องคลอด
• การไม่เปลี่ยนแผ่นผ้าอนามัยและผ้าอนามัยแบบสอด อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในขณะที่มีอาการให้ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อขับเชื้อออกจากปัสสาวะ ในกรณีบางรายอาจมีอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยทันที เมื่อรักษาหายแล้วพยายามอย่ากลั้นปัสสาวะเป็นอันขาด มิเช่นนั้นอาการจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกวิธี การมีเพศสัมพันธ์ การสวนปัสสาวะ เป็นต้น นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณจุดซ่อนเร้น เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง การฉายรังสีบริเวณกล้ามเนื้อเชิงกราน แต่มักจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยช่วงอายุที่พบโรคนี้มาก คือ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป หากเกิดจากการอักเสบเฉียบพลัน สามารถรักษาหายได้ภายใน 2-3 วัน แต่หากมีอาการอักเสบเรื้อรัง ไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามไปที่ไตทำให้กรวยไตอักเสบได้ และถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังแทรกซ้อนได้ อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ ปวดบริเวณท้องน้อยในบางรายจะมีเลือดปนในปัสสาวะ และมีอาการคล้ายปัสสาวะไม่สุดอยู่ตลอดเวลา
ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
• ผู้หญิง ด้วยเหตุผลทางด้านสรีระ เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะจึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า
• การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกวิธี คือ ใช้กระดาษชำระเช็ดจากทวารหนักย้อนขึ้นด้านบนทำให้โดนท่อปััสสาวะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ในผู้หญิง
• ดื่มน้ำน้อย จึงทำให้ไม่ค่อยได้ปัสสาวะ ปัสสาวะจึงแช่ค้างอยู่นาน ส่งผลให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี
• อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศและท่อปัสสาวะหลังหมดประจำเดือน จึงทำให้ป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้น้อยลง
• กลั้นปัสสาวะ ยิ่งกลั้นปัสสาวะนานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียอยู่ในร่างกายนานขึ้นเท่านั้น และนำไปสู่การติดเชื้อได้
• ผู้หญิงที่มีการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิในช่องคลอด
• การไม่เปลี่ยนแผ่นผ้าอนามัยและผ้าอนามัยแบบสอด อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในขณะที่มีอาการให้ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อขับเชื้อออกจากปัสสาวะ ในกรณีบางรายอาจมีอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยทันที เมื่อรักษาหายแล้วพยายามอย่ากลั้นปัสสาวะเป็นอันขาด มิเช่นนั้นอาการจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Internal Medicine Center
Publish date desc: 22/09/2024
Author doctor
Dr. Athiphat Banjongjit
Specialty
Kidney Disease