มาดูแลสุขภาพในช่องปากกันเถอะ
ผู้สูงอายุในประเทศไทย หมายถึง ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป จากฐานข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติคาดการณ์ไว้ว่า ในปีพ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 และในปี 2568 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 20
จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 50 จะมีโรคเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งโรค และจำนวนไม่น้อยที่มีโรคเรื้อรังหลายโรค นอกเหนือจากสภาพช่องปากที่มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติแล้ว การดูแลทางทันตกรรมในผู้ป่วยสุงอายุยังต้องคำนึงถึงภาวะแทรกซ้อนจากยาและการรักษาอื่นๆ โดยต้องประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม (Comprehensive geriatric assessment) และต้องมีการปรึกษาร่วมกันระหว่างทันตแพทย์กับแพทย์ผู้ทำการรักษาโรคประจำตัวของผู้สูงอายุด้วย
การเปลี่ยนแปลงในช่องปากของผู้สูงอายุ เป็นผลเนื่องมาจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เป็นต้นว่า เยื่อบุผิวบางลง ความยืดหยุ่นลดลง ต่อมน้ำลายเสื่อมทำให้น้ำลายน้อยลง ระบบภูมิคุ้มกันก็ทำงานลดลงด้วย ส่งผลให้ผู้สูงอายุมักจะมีอาการ “เหงือกร่น ปากแห้ง ติดเชื้อง่าย แผลหายช้า”
ภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย เป็นภาวะที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก สาเหตุนอกจากต่อมน้ำลายเสื่อมตามอายุขัยแล้ว พบว่าส่วนใหญ่มาจากการรับประทานยารักษาโรคประจำตัวต่างๆของผู้สูงอายุ เช่น ยาคลายเครียด (Antidepressant) ยาแก้แพ้ (Antihistamine) เป็นต้น
น้ำลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ทั้งนี้เพราะน้ำลายทำหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อ ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมความเป็นกรดด่างในช่องปาก และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ช่วยในการพูด การรับรส การกลืนอาหาร และย่อยอาหาร เป็นไปได้มากที่ผู้สูงอายุที่น้ำลายน้อยจะรับประทานอาหารลำบากและไม่อร่อย เกิดความเสี่ยงต่อการขาดอาหาร ทำให้เกิดภาวะทุโภชนาการได้ด้วย นอกจากนี้แล้วผู้สูงอายุที่มีน้ำลายน้อยจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันผุและโรคปริทันต์เพิ่มขึ้นด้วย และเมื่อน้ำลายหลั่งน้อย สารโปรตีนต่างๆที่มีอยู่ในน้ำลายที่ทำหน้าที่ต้านจุลชีพก็จะหลั่งออกมาน้อยด้วย จึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆได้มากขึ้น เช่น เชื้อราในช่องปาก (C a n d i d i a s i s) การดูแลผู้สูงอายุจึงต้องคำนึงถึงการช่วยลดภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อยด้วยเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคเหงือกและฟัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นอย่างดีและพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ อาจจะปีละ 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคน และยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า การเลือกอาหารรับประทาน โดยรับประทานให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือร้อนจัด ควรบริโภคน้ำตาลในปริมาณจำกัด ลดการรับประทานของหวานระหว่างมื้อ เพื่อป้องกันโรคฟันผุ ดูแลทำความสะอาดฟันปลอมหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ้าผู้สูงอายุ (และญาติ) มีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะมีสุขภาพช่องปากที่ดีได้เหมือนที่เคยเป็นในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 50 จะมีโรคเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งโรค และจำนวนไม่น้อยที่มีโรคเรื้อรังหลายโรค นอกเหนือจากสภาพช่องปากที่มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติแล้ว การดูแลทางทันตกรรมในผู้ป่วยสุงอายุยังต้องคำนึงถึงภาวะแทรกซ้อนจากยาและการรักษาอื่นๆ โดยต้องประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม (Comprehensive geriatric assessment) และต้องมีการปรึกษาร่วมกันระหว่างทันตแพทย์กับแพทย์ผู้ทำการรักษาโรคประจำตัวของผู้สูงอายุด้วย
การเปลี่ยนแปลงในช่องปากของผู้สูงอายุ เป็นผลเนื่องมาจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เป็นต้นว่า เยื่อบุผิวบางลง ความยืดหยุ่นลดลง ต่อมน้ำลายเสื่อมทำให้น้ำลายน้อยลง ระบบภูมิคุ้มกันก็ทำงานลดลงด้วย ส่งผลให้ผู้สูงอายุมักจะมีอาการ “เหงือกร่น ปากแห้ง ติดเชื้อง่าย แผลหายช้า”
ภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย เป็นภาวะที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก สาเหตุนอกจากต่อมน้ำลายเสื่อมตามอายุขัยแล้ว พบว่าส่วนใหญ่มาจากการรับประทานยารักษาโรคประจำตัวต่างๆของผู้สูงอายุ เช่น ยาคลายเครียด (Antidepressant) ยาแก้แพ้ (Antihistamine) เป็นต้น
น้ำลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ทั้งนี้เพราะน้ำลายทำหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อ ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมความเป็นกรดด่างในช่องปาก และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ช่วยในการพูด การรับรส การกลืนอาหาร และย่อยอาหาร เป็นไปได้มากที่ผู้สูงอายุที่น้ำลายน้อยจะรับประทานอาหารลำบากและไม่อร่อย เกิดความเสี่ยงต่อการขาดอาหาร ทำให้เกิดภาวะทุโภชนาการได้ด้วย นอกจากนี้แล้วผู้สูงอายุที่มีน้ำลายน้อยจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันผุและโรคปริทันต์เพิ่มขึ้นด้วย และเมื่อน้ำลายหลั่งน้อย สารโปรตีนต่างๆที่มีอยู่ในน้ำลายที่ทำหน้าที่ต้านจุลชีพก็จะหลั่งออกมาน้อยด้วย จึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆได้มากขึ้น เช่น เชื้อราในช่องปาก (C a n d i d i a s i s) การดูแลผู้สูงอายุจึงต้องคำนึงถึงการช่วยลดภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อยด้วยเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคเหงือกและฟัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นอย่างดีและพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ อาจจะปีละ 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคน และยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า การเลือกอาหารรับประทาน โดยรับประทานให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือร้อนจัด ควรบริโภคน้ำตาลในปริมาณจำกัด ลดการรับประทานของหวานระหว่างมื้อ เพื่อป้องกันโรคฟันผุ ดูแลทำความสะอาดฟันปลอมหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ้าผู้สูงอายุ (และญาติ) มีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะมีสุขภาพช่องปากที่ดีได้เหมือนที่เคยเป็นในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Dental Center
Publish date desc: 11/04/2022
Author doctor
Dr. Chutakorn Sukriket
Specialty
General Dentist