นอนกัดฟัน อันตรายที่หลายคนอาจไม่รู้
ภาวะนอนกัดฟัน คือ ความผิดปกติในขณะนอนหลับอย่างหนึ่ง ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดปัญหาฟันแตก ฟันร้าว ฟันโยก และความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร และกล้ามเนื้อบดเคี้ยว หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะทำให้ฟันได้รับความเสียหายได้
ภาวะนอนกัดฟันเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของปัญหาฟันแตก ฟันร้าว ฟันโยก และความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร และกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
กำลังนอนฝันหวานอยู่ดีๆ แต่ต้องสะดุ้งตื่นเพราะเสียง “กรอดๆ” ของคนข้างตัวที่นอนกัดฟัน และคนนอนกัดฟันเองก็คงรู้สึกปวดร้าวกรามเมื่อตื่นขึ้นมา ฉะนั้น ถ้ารู้ตัวว่าเป็นโรคนอนกัดฟัน ควรหาวิธีป้องกันก่อนที่จะทำให้ฟันเสียหายและใบหน้าเสียสวย ทั้งนี้ภาวะนอนกัดฟัน เป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกายขณะนอนหลับ (Sleep Disordered Movement) โดยมีลักษณะที่ฟันบนและฟันล่างชนกันขณะนอนหลับ ทั้งแบบกัดเกร็งค้างไว้ หรือแบบที่ขากรรไกรล่างขยับเยื้องออก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของขากรรไกรล่างในลักษณะที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ และมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนช่วงการหลับ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการนอนกัดฟัน แต่พบว่าการนอนกัดฟันเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ได้แก่
• การเปลี่ยนช่วงการหลับ เนื่องจาก 85% ของจำนวนครั้งที่มีการนอนกัดฟันเกิดขึ้นหลังจากเปลี่ยนช่วงการหลับ เช่น จากหลับลึกตื้น ซึ่งเป็นการที่สมองและหัวใจถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น เป็นช่วงสั้นๆ ร่วมกับมีการทำงานที่เพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจ และกล้ามเนื้อบดเคี้ยว โดยเฉพาะบริเวณมุมคางและขมับ ส่งผลทำให้ฟันบนและฟันล่างชนกันขณะนอนหลับ ส่วนใหญ่จะพบการนอนกัดฟันในช่วงหลับตื้น และช่วงเปลี่ยนการหลับจากหลับลึกไปสู่หลับตื้น หรือหลับฝัน ทั้งนี้ การเปลี่ยนช่วงการหลับเป็นกระบวนการปกติของร่างกายที่ช่วยเตรียมร่างกายให้พร้อมที่จะปรับตัวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ขณะนอนหลับ เช่น ระดับออกซิเจนที่ต่ำลงจากภาวะกรน/หยุดหายใจ เสียงและแสงที่มารบกวนการนอนหลับ แต่ถ้ามีสิ่งกระตุ้นขณะนอนหลับมากเกินการปรับตัวของร่างกาย ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนช่วงการหลับบ่อยเกิน ค่าปกติซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการนอนกัดฟันตามมา
• ระดับออกซิเจนในร่างกายที่ต่ำลงจากภาวะกรนหรือหยุดหายใจ พบว่าการขยายขนาดช่องทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น โดยการใส่เครื่องมือทันตกรรมที่แก้ไขภาวะนอนกรน นอนหยุดหายใจขณะนอนหลับ มีผลทำให้ความถี่ภาวะนอนกัดฟันลดลง นอกจากนี้ ท่านอนที่พบในช่วงที่มีการนอนกัดฟันและการกรน หรือหยุดหายใจเป็นท่าเดียวกัน คือ ท่านอนหงาย แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ระดับออกซิเจนในร่างกายที่ต่ำลงจากภาวะกรนหรือหยุดหายใจเป็นสาเหตุโดยตรงของภาวะนอนกัดฟัน
• ความเครียดและความวิตกกังวล พบว่าในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีการนอนกัดฟันจะมี Catecholamine ซึ่งเป็นสารเคมีที่ร่างกายผลิตออกมาเวลามีความเครียด พบในปัสสาวะมากกว่าคนที่ไม่นอนกัดฟัน
• กรรมพันธุ์ พบได้บ่อยที่มีสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 1 คนมีภาวะนอนกัดฟัน แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการนอนกัดฟันมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์
นอนกัดฟันทำร้ายคุณและคนใกล้ชิด
การนอนกัดฟันทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น อาการเจ็บข้อต่อขากรรไกร กล้ามเนื้อบดเคี้ยว ปวดศีรษะหลังตื่นนอน (โรคข้อต่อขากรรไกร/กล้ามเนื้อเคี้ยวอักเสบ) เสียงคลิกที่ข้อต่อขากรรไกรเวลาอ้าปาก (โรคหมอนรองกระดูกข้อต่อขากรรไกรเคลื่อน) ปัญหาฟันแตก ฟันร้าว ฟันโยก รวมถึงปัญหาใบหน้า/ขากรรไกรเบี้ยวเละ ใบหน้ากางมากขึ้นจากการทำงานมากเกินปกติของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว โดยเฉพาะมัดบริเวณมุมคาง ทำให้บางคนต้องไปฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เพื่อแก้ปัญหาหน้ากาง แต่อีก 3 เดือนก็ต้องไปฉีดใหม่ เพราะสารดังกล่าวหมดฤทธิ์ หน้าจึงกลับมากางอีก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่าการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซินจะทำให้เราเลิกนอนกัดฟัน นอกจากนี้เสียงจากการนอนกัดฟันยังรบกวนการหลับ ทำให้คนที่นอนกัดฟันและคนที่นอนด้วยหลับไม่สนิท เกิดอาการเพลียหลังตื่นนอนทั้งๆ ที่ได้นอนมากพอ
นอนกัดฟันรักษาได้หรือไม่
คนนอนกัดฟันที่ไม่มีอาการต่างๆ ของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว เช่น อาการปวดเมื่อยใบหน้าและขากรรไกร เสียงที่ข้อต่อขากรรไกร จำเป็นต้องใส่เครื่องมือทันตกรรมขณะนอนหลับที่เรียกว่า “Stabilization appliance” เพื่อป้องกันแรงกระแทกจากการนอนกัดฟันที่ส่งผลเสียต่อข้อต่อขากรรไกร กล้ามเนื้อบดเคี้ยวและฟัน ส่วนคนที่นอนกัดฟันที่มีอาการต่างๆ ของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว อาจต้องใช้เครื่องมือทันตกรรมชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น Mandibular orthopedic repositioning appliance, Nociceptive trigeminal inhibitorybsplint ในการรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว โดยเครื่องมือสามารถทำหน้าที่เหมือน retainer ที่ใช้ในการจัดฟัน ทำให้คงสภาพการเรียงตัวของฟันไว้ ป้องกันปัญหาฟันเคลื่อนและซ้อนเกจากการนอนกัดฟัน และยังช่วยทำให้คนที่นอนกัดฟันหลับสนิทด้วย
ในเด็กนอนกัดฟัน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 6-10 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองในช่องคอ เช่น ทอนซิล อะดีนอยด์ จะมีผลทำให้เกิดแรงต้านในช่องคอมากขึ้น หายใจตอนนอนลำบากขึ้น ทำให้ระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำลงขณะนอนหลับ และอาจส่งผลให้มีการนอนกัดฟันตามมารวมทั้งเด็กวัยนี้อาจมีความเครียดและวิตกกังวลจากการปรับตัวเข้าสังคมใหม่ เช่น การเปลี่ยนโรงเรียนและกลุ่มเพื่อน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ด้านหู คอ จมูก และกุมารแพทย์ ในกรณีที่ลูกมีการนอนกัดฟันรุนแรง เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้บางรายอาจจะยังไม่สามารถใส่เครื่องมือทันตกรรมสำหรับการนอนกัดฟันได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ภาวะนอนกัดฟันเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของปัญหาฟันแตก ฟันร้าว ฟันโยก และความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร และกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
กำลังนอนฝันหวานอยู่ดีๆ แต่ต้องสะดุ้งตื่นเพราะเสียง “กรอดๆ” ของคนข้างตัวที่นอนกัดฟัน และคนนอนกัดฟันเองก็คงรู้สึกปวดร้าวกรามเมื่อตื่นขึ้นมา ฉะนั้น ถ้ารู้ตัวว่าเป็นโรคนอนกัดฟัน ควรหาวิธีป้องกันก่อนที่จะทำให้ฟันเสียหายและใบหน้าเสียสวย ทั้งนี้ภาวะนอนกัดฟัน เป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกายขณะนอนหลับ (Sleep Disordered Movement) โดยมีลักษณะที่ฟันบนและฟันล่างชนกันขณะนอนหลับ ทั้งแบบกัดเกร็งค้างไว้ หรือแบบที่ขากรรไกรล่างขยับเยื้องออก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของขากรรไกรล่างในลักษณะที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ และมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนช่วงการหลับ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการนอนกัดฟัน แต่พบว่าการนอนกัดฟันเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ได้แก่
• การเปลี่ยนช่วงการหลับ เนื่องจาก 85% ของจำนวนครั้งที่มีการนอนกัดฟันเกิดขึ้นหลังจากเปลี่ยนช่วงการหลับ เช่น จากหลับลึกตื้น ซึ่งเป็นการที่สมองและหัวใจถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น เป็นช่วงสั้นๆ ร่วมกับมีการทำงานที่เพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจ และกล้ามเนื้อบดเคี้ยว โดยเฉพาะบริเวณมุมคางและขมับ ส่งผลทำให้ฟันบนและฟันล่างชนกันขณะนอนหลับ ส่วนใหญ่จะพบการนอนกัดฟันในช่วงหลับตื้น และช่วงเปลี่ยนการหลับจากหลับลึกไปสู่หลับตื้น หรือหลับฝัน ทั้งนี้ การเปลี่ยนช่วงการหลับเป็นกระบวนการปกติของร่างกายที่ช่วยเตรียมร่างกายให้พร้อมที่จะปรับตัวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ขณะนอนหลับ เช่น ระดับออกซิเจนที่ต่ำลงจากภาวะกรน/หยุดหายใจ เสียงและแสงที่มารบกวนการนอนหลับ แต่ถ้ามีสิ่งกระตุ้นขณะนอนหลับมากเกินการปรับตัวของร่างกาย ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนช่วงการหลับบ่อยเกิน ค่าปกติซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการนอนกัดฟันตามมา
• ระดับออกซิเจนในร่างกายที่ต่ำลงจากภาวะกรนหรือหยุดหายใจ พบว่าการขยายขนาดช่องทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น โดยการใส่เครื่องมือทันตกรรมที่แก้ไขภาวะนอนกรน นอนหยุดหายใจขณะนอนหลับ มีผลทำให้ความถี่ภาวะนอนกัดฟันลดลง นอกจากนี้ ท่านอนที่พบในช่วงที่มีการนอนกัดฟันและการกรน หรือหยุดหายใจเป็นท่าเดียวกัน คือ ท่านอนหงาย แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ระดับออกซิเจนในร่างกายที่ต่ำลงจากภาวะกรนหรือหยุดหายใจเป็นสาเหตุโดยตรงของภาวะนอนกัดฟัน
• ความเครียดและความวิตกกังวล พบว่าในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีการนอนกัดฟันจะมี Catecholamine ซึ่งเป็นสารเคมีที่ร่างกายผลิตออกมาเวลามีความเครียด พบในปัสสาวะมากกว่าคนที่ไม่นอนกัดฟัน
• กรรมพันธุ์ พบได้บ่อยที่มีสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 1 คนมีภาวะนอนกัดฟัน แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการนอนกัดฟันมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์
นอนกัดฟันทำร้ายคุณและคนใกล้ชิด
การนอนกัดฟันทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น อาการเจ็บข้อต่อขากรรไกร กล้ามเนื้อบดเคี้ยว ปวดศีรษะหลังตื่นนอน (โรคข้อต่อขากรรไกร/กล้ามเนื้อเคี้ยวอักเสบ) เสียงคลิกที่ข้อต่อขากรรไกรเวลาอ้าปาก (โรคหมอนรองกระดูกข้อต่อขากรรไกรเคลื่อน) ปัญหาฟันแตก ฟันร้าว ฟันโยก รวมถึงปัญหาใบหน้า/ขากรรไกรเบี้ยวเละ ใบหน้ากางมากขึ้นจากการทำงานมากเกินปกติของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว โดยเฉพาะมัดบริเวณมุมคาง ทำให้บางคนต้องไปฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เพื่อแก้ปัญหาหน้ากาง แต่อีก 3 เดือนก็ต้องไปฉีดใหม่ เพราะสารดังกล่าวหมดฤทธิ์ หน้าจึงกลับมากางอีก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่าการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซินจะทำให้เราเลิกนอนกัดฟัน นอกจากนี้เสียงจากการนอนกัดฟันยังรบกวนการหลับ ทำให้คนที่นอนกัดฟันและคนที่นอนด้วยหลับไม่สนิท เกิดอาการเพลียหลังตื่นนอนทั้งๆ ที่ได้นอนมากพอ
นอนกัดฟันรักษาได้หรือไม่
คนนอนกัดฟันที่ไม่มีอาการต่างๆ ของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว เช่น อาการปวดเมื่อยใบหน้าและขากรรไกร เสียงที่ข้อต่อขากรรไกร จำเป็นต้องใส่เครื่องมือทันตกรรมขณะนอนหลับที่เรียกว่า “Stabilization appliance” เพื่อป้องกันแรงกระแทกจากการนอนกัดฟันที่ส่งผลเสียต่อข้อต่อขากรรไกร กล้ามเนื้อบดเคี้ยวและฟัน ส่วนคนที่นอนกัดฟันที่มีอาการต่างๆ ของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว อาจต้องใช้เครื่องมือทันตกรรมชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น Mandibular orthopedic repositioning appliance, Nociceptive trigeminal inhibitorybsplint ในการรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว โดยเครื่องมือสามารถทำหน้าที่เหมือน retainer ที่ใช้ในการจัดฟัน ทำให้คงสภาพการเรียงตัวของฟันไว้ ป้องกันปัญหาฟันเคลื่อนและซ้อนเกจากการนอนกัดฟัน และยังช่วยทำให้คนที่นอนกัดฟันหลับสนิทด้วย
ในเด็กนอนกัดฟัน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 6-10 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองในช่องคอ เช่น ทอนซิล อะดีนอยด์ จะมีผลทำให้เกิดแรงต้านในช่องคอมากขึ้น หายใจตอนนอนลำบากขึ้น ทำให้ระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำลงขณะนอนหลับ และอาจส่งผลให้มีการนอนกัดฟันตามมารวมทั้งเด็กวัยนี้อาจมีความเครียดและวิตกกังวลจากการปรับตัวเข้าสังคมใหม่ เช่น การเปลี่ยนโรงเรียนและกลุ่มเพื่อน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ด้านหู คอ จมูก และกุมารแพทย์ ในกรณีที่ลูกมีการนอนกัดฟันรุนแรง เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้บางรายอาจจะยังไม่สามารถใส่เครื่องมือทันตกรรมสำหรับการนอนกัดฟันได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Dental Center
Publish date desc: 12/11/2024
Author doctor
Dr. Wipasinee Phuapradit
Specialty
Occlusion and Oral and Maxillofacial Pain