• banner

ปวดไหล่ รู้ก่อนสายเกินไป

ปวดไหล่ ปัญหาของหัวไหล่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 รองจาก ปวดหลังและข้อเข่า สาเหตุของการปวดไหล่แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามช่วงอายุ สําหรับกลุ่มคนอายุน้อย เป็นวัยทํางาน มักจะเป็นจากกล้ามเนื้อ office syndrome หรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น ข้อไหล่หลุด ส่วนอีกกลุ่มคือกลุ่มคนที่อายุมากกว่า40ปี ซึ่งเกิดได้จาก2 สาเหตุหลักๆ คือ

1. เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด หรือ กระดูกงอกทับเอ็นหัวไหล่
2. ไหล่ติดหรือ เยื่อหุ้มข้ออักเสบ


เอ็นหัวไหล่อักเสบ หรือฉีกขาด
สําหรับเอ็นหัวไหล่อักเสบ หรือฉีกขาด ปกติหัวไหล่ของเรามีเอ็นกล้ามเนื้อยึดอยู่ด้านหน้า ด้านบน ด้านหลัง โดยส่วนเอ็นกล้ามเนื้อส่วนบนจะถูกกดทับได้บ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากการใช้งานแขนเหนือระดับหัวไหล่บ่อย หรือเมื่ออายุมากขึ้น อาจเกิดกระดูกงอกมากดทับเอ็นหัวไหล่ทําให้เอ็นหัวไหล่อักเสบ หรือฉีกขาดได้ ถ้าเกิดจากสาเหตุนี้จะมีอาการปวดบริเวณต้นแขน ปวดมากขึ้นเวลากลางคืน หรือเวลายกแขนเหนือระดับหัวไหล่จะมีอาการปวด

ไหล่ติด เยื่อหุ้มข้ออักเสบ
ปัญหาต่อมาที่พบได้บ่อยคือ ไหล่ติด โดยปกติในหัวไหล่เราจะมีเยื่อหุ้มข้อซึ่งถ้าเกิดการอักเสบขึ้นมาจะทําให้เกิดการปวด และขยับข้อไหล่ได้ไม่สุด ถ้าเกิดจากสาเหตุนี้ จะมีอาการปวดทั่วๆ บริเวณหัวไหล่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีอาการปวดมากขึ้นเวลากลางคืน นอนตะแคงทับข้างที่มีอาการแล้วปวดมาก ยกแขน2ข้างไม่เท่ากัน ทํากิจวัตรประจําวันบางอย่างไม่ได้ เช่น ใส่เสื้อลําบาก สําหรับผู้หญิงจะติดตะขอเสื้อ ในด้านหลังไม่ถึง ส่วนผู้ชายเนี่ยจะล้วงกระเป๋าหลังไม่ถึง

การรักษา
โดยปกติแล้วโรคนี้สามารถหายเองได้แต่จะใช้เวลาค่อนข้างนาน ปีครึ่งถึงสองปี แต่การรักษาจะทําให้บรรเทาอาการปวดและทําให้ระยะเวลาของตัวโรคสั้นลง ถ้าอาการเป็นน้อยๆ สามารถรักษาด้วยวิธีอนุรักษนิยม ทานยา กายภาพบําบัด ปรับให้ใช้งานลดลง อาการจะ ค่อยๆ ดีขึ้น แต่ถ้าอาการเริ่มเป็นมากขึ้นอาจจะต้องมีการฉีดยาลดการอักเสบ หรือผ่าตัดโดยส่องกล้องเพื่อตัดเยื่อหุ้มข้อไหล่ที่มี การอักเสบ ซึ่งการผ่าตัดแบบส่องกล้องจะช่วยให้แผลมีขนาดเล็กและฟื้นตัวไวกว่าการผ่าตัดแบบปกติ

การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยสาเหตุของการปวดไหล่ต้องอาศัยการซักประวัติ, ตรวจร่างกาย ซึ่งจะมีท่าตรวจร่างกายโดยเฉพาะใน การวินิจฉัยว่าอาการปวดไหล่เกิดจากสาเหตุใด ในบางกรณีต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเช่น X-ray หรือ MRI เพื่อยืนยัน การวินิจฉัย เพื่อจะได้รักษาได้อย่างถูกต้อง

ถ้ามีอาการเหล่านี้แนะนําให้ปรึกษาเฉพาะทางกระดูกและข้อซึ่งจะเป็นผู้วินิจฉัยและแนะนําวิธีการรักษาที่เหมาะสมในคนไข้แต่ละราย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777 
Medical Center: Bone and Joint Center
Publish date desc: 25/10/2022

Author doctor

Dr. Napat Prasitmeeboon

img

Specialty

Orthopaedic Surgeon

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us

Other package