โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยุค 2025
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถติดผ่านทางช่องคลอด ปาก ทวารหนัก นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่านการใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น และจากแม่สู่ลูกตอนตั้งครรภ์และขณะคลอดบุตรได้ โดยแต่ละโรคเกิดจากเชื้อต่างชนิดกัน มีอาการและอาการแสดงของโรคที่แตกต่างกัน
3 โรคที่พบบ่อย
หนองในแท้ หนองในเทียม
หนองในแท้ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae มีระยะฟักตัว 2-7 วัน ผู้ชายจะมีอาการมีหนองออกมาจากท่อปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด สำหรับผู้หญิงอาจมีตกขาวผิดปกติ เป็นน้ำ หรือมีสีเขียวเหลือง ปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะขัด มีหนองไหลออกจากช่องคลอด หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้โรคลุกลามและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้ เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ ท่อรังไข่ตัน
หนองในเทียมเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia Trachomatis ระยะฟักตัว 7-14 วัน อาการคล้ายกับโรคหนองในแท้แต่รุนแรงน้อยกว่า ผู้ชายอาจมีอาการปวดบวมบริเวณอัณฑะ ผู้หญิงจะมีอาการตกขาวเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดออกในช่วงที่ไม่ใช่รอบประจำเดือน บางรายอาจไม่มีอาการแสดง แต่เชื้อสามารถแพร่กระจายต่อไปยังผู้อื่นได้หากยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษา หรือหากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน
ซิฟิลิส
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum ระยะฟักตัว 1-90 วัน อาการในระยะแรกจะมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ลักษณะแผลนูน ขอบแข็ง ไม่เจ็บ จากนั้นแผลสามารถหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์แม้ไม่ได้รับการรักษา จากนั้นจะมีผื่นขึ้นบริเวณลำตัว โดยเฉพาะฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีไข้ ปวดศีรษะ ผมร่วงและปวดข้อ และจะเข้าสู่ระยะแฝง ระยะนี้จะไม่มีอาการแสดง แต่สามารถตรวจพบการติดเชื้อผ่านการตรวจเลือดได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะภายในต่างๆ ทำลายระบบสมอง ตาบอด หูหนวก เส้นเลือดหัวใจโป่งพองและอักเสบ อันตรายถึงชีวิตได้
เอชไอวี
เกิดจากเชื้อ Human Immunodeficiency Virus (HIV) ติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนม เป็นต้น ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มักไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน ต่อมาเชื้อจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ (AIDS) มีโอกาสติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆตามมา ซึ่งอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
รู้ทัน ป้องกันได้
การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกวิธีและใช้ทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรคได้ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หมั่นสังเกตอาการและรักษาความสะอาดร่างกาย ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดความรุนแรงของโรค
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
3 โรคที่พบบ่อย
หนองในแท้ หนองในเทียม
หนองในแท้ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae มีระยะฟักตัว 2-7 วัน ผู้ชายจะมีอาการมีหนองออกมาจากท่อปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด สำหรับผู้หญิงอาจมีตกขาวผิดปกติ เป็นน้ำ หรือมีสีเขียวเหลือง ปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะขัด มีหนองไหลออกจากช่องคลอด หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้โรคลุกลามและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้ เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ ท่อรังไข่ตัน
หนองในเทียมเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia Trachomatis ระยะฟักตัว 7-14 วัน อาการคล้ายกับโรคหนองในแท้แต่รุนแรงน้อยกว่า ผู้ชายอาจมีอาการปวดบวมบริเวณอัณฑะ ผู้หญิงจะมีอาการตกขาวเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดออกในช่วงที่ไม่ใช่รอบประจำเดือน บางรายอาจไม่มีอาการแสดง แต่เชื้อสามารถแพร่กระจายต่อไปยังผู้อื่นได้หากยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษา หรือหากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน
ซิฟิลิส
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum ระยะฟักตัว 1-90 วัน อาการในระยะแรกจะมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ลักษณะแผลนูน ขอบแข็ง ไม่เจ็บ จากนั้นแผลสามารถหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์แม้ไม่ได้รับการรักษา จากนั้นจะมีผื่นขึ้นบริเวณลำตัว โดยเฉพาะฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีไข้ ปวดศีรษะ ผมร่วงและปวดข้อ และจะเข้าสู่ระยะแฝง ระยะนี้จะไม่มีอาการแสดง แต่สามารถตรวจพบการติดเชื้อผ่านการตรวจเลือดได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะภายในต่างๆ ทำลายระบบสมอง ตาบอด หูหนวก เส้นเลือดหัวใจโป่งพองและอักเสบ อันตรายถึงชีวิตได้
เอชไอวี
เกิดจากเชื้อ Human Immunodeficiency Virus (HIV) ติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนม เป็นต้น ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มักไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน ต่อมาเชื้อจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ (AIDS) มีโอกาสติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆตามมา ซึ่งอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
รู้ทัน ป้องกันได้
การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกวิธีและใช้ทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรคได้ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หมั่นสังเกตอาการและรักษาความสะอาดร่างกาย ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดความรุนแรงของโรค
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 30/01/2025
Author doctor
Dr. Pimon Kongprayoon
Specialty
Meternal Fetal Medicine