ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คือ ภาวะที่มีการติดเชื้อในร่างกายและเชื้อโรคนั้นเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โดยถ้าเป็นการติดเชื้อรุนแรง จะทำให้เกิดการทำงานอวัยวะล้มเหลวและนำไปสู่การเสียชีวิตได้
เมื่อไรที่สามารถเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
ภาวะการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและได้ตลอดเวลา โดยเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
ในแต่ละอวัยวะสามารถเกิดการติดเชื้อรุนแรงได้ เช่น ที่ปอดจะเป็นปอดอักเสบ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในช่องท้อง โดยการติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับเชื้อเข้าไปและมีการแบ่งตัวของเชื้อ ทำให้เกิดการติดเชื้อและทำลายเนื้อเยื่อ โดยเชื้อที่มักเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด มักจะเป็นแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นเชื้อราหรืออาจเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิดพร้อมกัน
ใครที่มีโอกาสเกิดการติดเชื้อ
ทุกคนสามารถเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือถ้ามีการติดเชื้อแล้วจะมีความรุนแรงกว่าบุคคลทั่วไป ได้แก่
• ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
• เด็กเล็ก
• ผู้สูงอายุ
• ผู้ป่วยที่มีโรคภาวะเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ติดเชื้อเอชไอวี มะเร็ง
• ผู้ป่วยที่มีโรคตับและโรคไต
• ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อผ่านทางผิวหนัง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับไฟไหม้ มีแผลถลอกขนาดใหญ่
• ผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนหรือท่อในร่างกาย เช่น สายสวนปัสสาวะการใส่ท่อหายใจเป็นระยะเวลานาน
อาการแสดงของการติดเชื้อ
ไม่มีอาการและอาการแสดงจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมากมักเป็นการแสดงของการติดเชื้อตามระบบที่มีการติดเชื้อ โดยอาจมีอาการนำเป็นไข้ หนาวสั่น หายใจเร็ว หรือถ้ามีอาการติดเชื้อในช่องท้อง อาจนำมาด้วยอาการปวดท้อง โดยกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย เช่น
• ไข้สูงเกิน 38.3 องศาเซลเซียสหรืออุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 36.3 องศาเซลเซียส
• ชีพจรเต้นเร็วเกิน 90 ครั้งต่อนาที
• อัตราหายใจเร็วเกิน 24 ครั้งต่อนาที
• ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
• อาการบวมน้ำหรือสมดุลของสารน้ำในร่างกายเป็นบวกมากกว่า 20 มล./กก. ใน 24 ชั่วโมง
• ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 140 มก./ดล โดยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน
• ผลตรวจเลือดหรือเม็ดเลือดขาวสูงกว่า 12,000 ตัว/มิลลิลิตร หรือน้อยกว่า 4,000 ตัว/มิลลิลิตร
การวินิจฉัยโรค
มีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ร่วมกับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อหาตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ เช่น ในรายที่สงสัยว่ามีอาการปอดอักเสบ แพทย์จะทำการส่งตรวจเสมหะ เพื่อหาเชื้อและเอกซเรย์ปอดเพื่อหารอยโรค หรือในรายที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจะมีการส่งตรวจปัสสาวะ
แนวทางการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
หลักการในการรักษา คือ หาตำแหน่งในการติดเชื้อเพื่อกำจัดตำแหน่งที่ติดเชื้อและเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการรักษาประคับประคองอวัยวะต่างๆไม่ให้มีทำงานล้มเหลว
1.การรักษาเฉพาะโรค
• กำจัดสาเหตุหรือควบคุมการติดเชื้อ เช่น ในกรณีที่เป็นฝีที่ตับขนาดใหญ่ ควรมีระบายหนองออก หรือมีการติดเชื้อที่สายสวนปัสสาวะ ควรมีการเปลี่ยนสายปัสสาวะ
• การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยให้เร็วที่สุดหลังจากวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ โดยการเลือกให้ยาปฏิชีวนะจะต้องครอบคลุมเชื้อที่คิดว่าเป็นสาเหตุ และพิจารณาเรื่องความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียว่าดื้อยาหรือไม่ และปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคประจำตัวของผู้ป่วย
2.การรักษาประคับประคอง
• การให้สารน้ำอย่างพอเพียง
• การให้ยากระตุ้นหัวใจ ในกรณีที่มีความดันเลือดแดงเฉลี่ยน้อยกว่า 65 มม.ปรอท โดยที่ได้สารน้ำอย่างพอเพียงแล้ว
• การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยให้ระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
• การบำบัดทดแทนไต (renal replacement therapy) ในกรณีที่มีไตวายเฉียบพลัน
• การรักษาอื่นๆ เช่น การให้โภชนาการ การให้ส่วนประกอบของเลือด ในกรณีที่ค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 7 กรัม/เดซิลิตร การป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
วิธีป้องกันตัวเองจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
เตรียมร่างกายให้แข็งแรงและดูแลตัวเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และพักผ่อนให้เพียงพอ ร่วมทั้งเสริมสร้างภูมคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนในโรคที่ป้องกันได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
เมื่อไรที่สามารถเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
ภาวะการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและได้ตลอดเวลา โดยเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
ในแต่ละอวัยวะสามารถเกิดการติดเชื้อรุนแรงได้ เช่น ที่ปอดจะเป็นปอดอักเสบ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในช่องท้อง โดยการติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับเชื้อเข้าไปและมีการแบ่งตัวของเชื้อ ทำให้เกิดการติดเชื้อและทำลายเนื้อเยื่อ โดยเชื้อที่มักเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด มักจะเป็นแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นเชื้อราหรืออาจเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิดพร้อมกัน
ใครที่มีโอกาสเกิดการติดเชื้อ
ทุกคนสามารถเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือถ้ามีการติดเชื้อแล้วจะมีความรุนแรงกว่าบุคคลทั่วไป ได้แก่
• ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
• เด็กเล็ก
• ผู้สูงอายุ
• ผู้ป่วยที่มีโรคภาวะเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ติดเชื้อเอชไอวี มะเร็ง
• ผู้ป่วยที่มีโรคตับและโรคไต
• ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อผ่านทางผิวหนัง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับไฟไหม้ มีแผลถลอกขนาดใหญ่
• ผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนหรือท่อในร่างกาย เช่น สายสวนปัสสาวะการใส่ท่อหายใจเป็นระยะเวลานาน
อาการแสดงของการติดเชื้อ
ไม่มีอาการและอาการแสดงจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมากมักเป็นการแสดงของการติดเชื้อตามระบบที่มีการติดเชื้อ โดยอาจมีอาการนำเป็นไข้ หนาวสั่น หายใจเร็ว หรือถ้ามีอาการติดเชื้อในช่องท้อง อาจนำมาด้วยอาการปวดท้อง โดยกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย เช่น
• ไข้สูงเกิน 38.3 องศาเซลเซียสหรืออุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 36.3 องศาเซลเซียส
• ชีพจรเต้นเร็วเกิน 90 ครั้งต่อนาที
• อัตราหายใจเร็วเกิน 24 ครั้งต่อนาที
• ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
• อาการบวมน้ำหรือสมดุลของสารน้ำในร่างกายเป็นบวกมากกว่า 20 มล./กก. ใน 24 ชั่วโมง
• ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 140 มก./ดล โดยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน
• ผลตรวจเลือดหรือเม็ดเลือดขาวสูงกว่า 12,000 ตัว/มิลลิลิตร หรือน้อยกว่า 4,000 ตัว/มิลลิลิตร
การวินิจฉัยโรค
มีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ร่วมกับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อหาตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ เช่น ในรายที่สงสัยว่ามีอาการปอดอักเสบ แพทย์จะทำการส่งตรวจเสมหะ เพื่อหาเชื้อและเอกซเรย์ปอดเพื่อหารอยโรค หรือในรายที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจะมีการส่งตรวจปัสสาวะ
แนวทางการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
หลักการในการรักษา คือ หาตำแหน่งในการติดเชื้อเพื่อกำจัดตำแหน่งที่ติดเชื้อและเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการรักษาประคับประคองอวัยวะต่างๆไม่ให้มีทำงานล้มเหลว
1.การรักษาเฉพาะโรค
• กำจัดสาเหตุหรือควบคุมการติดเชื้อ เช่น ในกรณีที่เป็นฝีที่ตับขนาดใหญ่ ควรมีระบายหนองออก หรือมีการติดเชื้อที่สายสวนปัสสาวะ ควรมีการเปลี่ยนสายปัสสาวะ
• การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยให้เร็วที่สุดหลังจากวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ โดยการเลือกให้ยาปฏิชีวนะจะต้องครอบคลุมเชื้อที่คิดว่าเป็นสาเหตุ และพิจารณาเรื่องความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียว่าดื้อยาหรือไม่ และปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคประจำตัวของผู้ป่วย
2.การรักษาประคับประคอง
• การให้สารน้ำอย่างพอเพียง
• การให้ยากระตุ้นหัวใจ ในกรณีที่มีความดันเลือดแดงเฉลี่ยน้อยกว่า 65 มม.ปรอท โดยที่ได้สารน้ำอย่างพอเพียงแล้ว
• การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยให้ระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
• การบำบัดทดแทนไต (renal replacement therapy) ในกรณีที่มีไตวายเฉียบพลัน
• การรักษาอื่นๆ เช่น การให้โภชนาการ การให้ส่วนประกอบของเลือด ในกรณีที่ค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 7 กรัม/เดซิลิตร การป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
วิธีป้องกันตัวเองจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
เตรียมร่างกายให้แข็งแรงและดูแลตัวเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และพักผ่อนให้เพียงพอ ร่วมทั้งเสริมสร้างภูมคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนในโรคที่ป้องกันได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Internal Medicine Center
Publish date desc: 30/07/2024
Author doctor
Dr. Pannawadee Uppathamnarakorn
Specialty
Infectious and Tropical Diseases