ตรวจคัดกรองมะเร็ง รู้ก่อน รักษาก่อน
มะเร็งเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย และมักลุกลามรวดเร็ว การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง จึงทำให้สามารถค้นหามะเร็งระยะเริ่มต้นได้ เพื่อเพิ่มโอกาสการรักษาได้มากขึ้น เนื่องในวันมะเร็งโลก เราจึงอยากให้เห็นถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็ง เพื่อรู้ทันโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นและรับมือกับโรคร้ายได้ทันเวลา
นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีที่ตรวจอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่ควรพลาดการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำทุกปีด้วยเช่นกัน เพราะทุกวันนี้โรคมะเร็งกลายเป็นโรคที่ทำให้คนเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกไปแล้ว และโรคมะเร็งสามารถเกิดกับใครก็ได้ ไม่จำกัดเพศ เพียงแต่คนที่อายุมากขึ้นอาจจะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่อายุน้อยกว่า หรือแม้แต่พฤติกรรมต่างๆ ของคนเราในแต่ละวัน ก็ทำให้แต่ละคนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งแตกต่างกัน หากมีการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ก็จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากการเป็นมะเร็งในอัตราที่สูง
โรคมะเร็งในปัจจุบันที่สามารถทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้ เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งปอด เป็นต้น โดยการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งแต่ละชนิดจะการตรวจที่แตกต่างกัน ดังนี้
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม
• ดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) การตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม เครื่องจะบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอล ทำให้สามารถมองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ มีความแม่นยำสูง หากแพทย์พบจุดที่น่าสงสัย ก็สามารถขยายภาพให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น แนะนำให้ในสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ทำทุกปี
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
• จะทำการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ การตรวจด้วยวิธีนี้จะให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำ และยังสามารถทำการรักษาในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย แนะนำในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 45-50 ปีเป็นต้นไป ให้เข้ารับการตรวจคัดกรอง
• หรือถ้ายังไม่อยากส่องกล้อง สามารถเก็บอุจจาระหาเม็ดเลือดแดงปนเปื้อนในอุจจาระทุก 1 ปี
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
• แปปเสมียร์ (Pap Smear) เป็นการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูกแบบดั้งเดิม โดยแพทย์จะใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก แล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
• ลิควิดเพร็พและตินเพร๊พ (Liquid Prep & Thin Prep) เป็นวิธีการตรวจที่มีการใช้น้ำยา หรือสารเคมีมาช่วย สามารถเก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากขึ้น ชัดขึ้น ทำให้สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแบบดั้งเดิม
• หาเชื้อเอชพีวี (HPV DNA Test) เป็นเทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลที่จะตรวจหาตัวเชื้อ HPV ได้โดยตรง ทำให้สามารถตรวจหาระยะของโรคก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง
ข้อแนะนำ : ผู้หญิงอาจเริ่มต้นตรวจตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ขึ้นอยู่ว่าช่วงเวลาใดถึงก่อน หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี และผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจแปปสเมียร์ทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจแปปสเมียร์ทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
• การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สามารถร่วมกับการมาพบแพทย์คลำต่อมลูกหมาก ตรวจได้จากเลือด เพื่อดูค่าสารบ่งชี้มะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะมีค่า PSA สูงกว่าปกติ แนะนำในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) แต่หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเข้ารับการตรวจครั้งแรกเมื่ออายุ 40 ปี และควรตรวจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
• ตรวจคัดกรองมะเร็งปอด Low-dose CT Scan คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณช่วงอกแบบใช้รังสีต่ำ ช่วยให้พบมะเร็งปอดได้รวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น แนะนำในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่จัด ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองมะเร็งจึงจำเป็นต้องตรวจคัดกรองทุกปี โดยองค์กรอนามัยโลกแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรกถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างถูกต้อง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีที่ตรวจอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่ควรพลาดการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำทุกปีด้วยเช่นกัน เพราะทุกวันนี้โรคมะเร็งกลายเป็นโรคที่ทำให้คนเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกไปแล้ว และโรคมะเร็งสามารถเกิดกับใครก็ได้ ไม่จำกัดเพศ เพียงแต่คนที่อายุมากขึ้นอาจจะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่อายุน้อยกว่า หรือแม้แต่พฤติกรรมต่างๆ ของคนเราในแต่ละวัน ก็ทำให้แต่ละคนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งแตกต่างกัน หากมีการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ก็จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากการเป็นมะเร็งในอัตราที่สูง
โรคมะเร็งในปัจจุบันที่สามารถทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้ เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งปอด เป็นต้น โดยการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งแต่ละชนิดจะการตรวจที่แตกต่างกัน ดังนี้
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม
• ดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) การตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม เครื่องจะบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอล ทำให้สามารถมองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ มีความแม่นยำสูง หากแพทย์พบจุดที่น่าสงสัย ก็สามารถขยายภาพให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น แนะนำให้ในสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ทำทุกปี
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
• จะทำการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ การตรวจด้วยวิธีนี้จะให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำ และยังสามารถทำการรักษาในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย แนะนำในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 45-50 ปีเป็นต้นไป ให้เข้ารับการตรวจคัดกรอง
• หรือถ้ายังไม่อยากส่องกล้อง สามารถเก็บอุจจาระหาเม็ดเลือดแดงปนเปื้อนในอุจจาระทุก 1 ปี
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
• แปปเสมียร์ (Pap Smear) เป็นการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูกแบบดั้งเดิม โดยแพทย์จะใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก แล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
• ลิควิดเพร็พและตินเพร๊พ (Liquid Prep & Thin Prep) เป็นวิธีการตรวจที่มีการใช้น้ำยา หรือสารเคมีมาช่วย สามารถเก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากขึ้น ชัดขึ้น ทำให้สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแบบดั้งเดิม
• หาเชื้อเอชพีวี (HPV DNA Test) เป็นเทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลที่จะตรวจหาตัวเชื้อ HPV ได้โดยตรง ทำให้สามารถตรวจหาระยะของโรคก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง
ข้อแนะนำ : ผู้หญิงอาจเริ่มต้นตรวจตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ขึ้นอยู่ว่าช่วงเวลาใดถึงก่อน หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี และผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจแปปสเมียร์ทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจแปปสเมียร์ทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
• การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สามารถร่วมกับการมาพบแพทย์คลำต่อมลูกหมาก ตรวจได้จากเลือด เพื่อดูค่าสารบ่งชี้มะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะมีค่า PSA สูงกว่าปกติ แนะนำในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) แต่หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเข้ารับการตรวจครั้งแรกเมื่ออายุ 40 ปี และควรตรวจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
• ตรวจคัดกรองมะเร็งปอด Low-dose CT Scan คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณช่วงอกแบบใช้รังสีต่ำ ช่วยให้พบมะเร็งปอดได้รวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น แนะนำในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่จัด ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองมะเร็งจึงจำเป็นต้องตรวจคัดกรองทุกปี โดยองค์กรอนามัยโลกแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรกถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างถูกต้อง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Chemotherapy and Hematology Center
Publish date desc: 21/05/2024
Author doctor
Dr. Kakanan Tienchai
Specialty
Cancer Therapist