เสี่ยงมีบุตรยากฝากไข่ดีมั้ย ?
“ไม่ท้องสักที” กว่าจะมีลูกทำไมยากเหลือเกิน... หลายคู่พยายามสุดความสามารถ ลองหลายวิธีแต่ก็ไร้วี่แวว ตรวจร่างกายแล้วแต่ก็ปกติทั้งคู่ ถ้าเป็นแบบนี้อาจต้องหาตัวช่วยด้านอื่นๆ ด้วย เช่น รู้ทันร่างกาย บำรุงจิตใจ หรือแม้กระทั่งในด้านอาหารการกิน เป็นต้น
"สังเกตอาการว่ามีลูกยากมั้ย"
หากคุณเป็นอีกคนที่มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์จนทําให้กระบวนการการมีลูกไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หรือเกิดขึ้นโดยไม่สมบูรณ์ คุณจะสังเกตได้โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่คุมกําเนิดด้วยวิธีใดๆ เกิน 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ , การที่ฝ่ายหญิงมีอาการประจําเดือนมาไม่ปกติเป็นประจํา หรือเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับมดลูก ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บทความ “แค่ไหนเรียกมีลูกยาก”
“ปัญหามีบุตรยาก” ไม่ได้เป็นสิ่งที่แสดงออกมาเป็นอาการชัดเจน เราไม่มีทางรู้หรอกว่าคู่เรามีลูกยากแค่ไหน ฉะนั้นแม้ว่าคุณจะคิดว่าตัวเองไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีบุตรยาก ก็ควรวางแผนอนาคตแต่เนิ่นๆ ว่าจะมีบุตรกันแน่ๆ ในอนาคตเมื่อไหร่ รวมถึงทางออกที่ดีที่สุดนั้นให้ทั้งคู่จูงมือกันเข้ามาปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ ตรวจร่างกายให้พร้อม จะได้ไม่ตรอมใจทีหลัง
นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้วคุณควร “เลี่ยงอาหารกินแล้วเสี่ยง” สำหรับคุณผู้หญิงที่ยังชอบปาร์ตี้ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลงถึง 50% ยิ่งดื่มมากเท่าไหร่ โอกาสในการตั้งครรภ์ก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น
เพื่อการมีบุตรได้ง่ายขี้น นอกจากการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงสุขภาพ และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับการแนะนำที่เหมาะสม รวมถึงการตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ของร่างกายของคู่ที่มีบุตรยากแล้ว ทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายต้องแข็งแรงทั้งกายและใจ พร้อมก้าวข้ามปัญหาการมีบุตรยากไปด้วยกัน
"นับวันไข่ตกช่วยเพิ่มโอกาสการมีบุตร"
เรายังมีอีกหนึ่งปฏิบัติการร่วมด้วยช่วยกันสำหรับคู่ที่มีบุตรยาก นั่นคือ การนับวันไข่ตก ที่คุณผู้หญิงต้องรู้และคุณผู้ชายต้องช่วยกัน โดยสังเกตง่ายๆ ในช่วงใกล้ไข่ตกร่างกายของผู้หญิงจะส่งสัญญาณ เช่น อวัยยะเพศเต่งขึ้น หน้าอกคัด ช่องคลอดแน่นขึ้น รู้สึกปวดหน่วงๆ ที่ช่องท้องข้างใดข้างหนึ่ง พบมูกไข่ตก อุณหภูมิร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการทางเพศมากขึ้น โดยในแต่ละรอบเดือนคุณจะมีโอกาสในการตั้งครรภ์ คือ ช่วงเวลาก่อนไข่ตก 5 วัน รวมกับวันไข่ตก เพียง 1 ครั้ง เท่านั้น ซึ่งจะสังเกตได้โดย
การนับวันไข่ตก สามารถทำได้โดยการบันทึกวันที่ประจำเดือนมาในรอบก่อนหน้าอย่างน้อย 2 รอบเดือน โดยนำระยะห่างระหว่างรอบเดือนลบด้วย 14 เช่น ถ้าระยะห่างระหว่างรอบเดือนคือ 28 วัน นำ 28 -14 = 14 ดังนั้นจะตกไข่ในวันที่ 14 ของรอบเดือน ถ้าระยะห่างระหว่างรอบเดือนคือ 32 วัน นำ 32-14 = 18 ดังนั้นจะตกไข่ในวันที่ 18 ของรอบเดือน โดยก่อนวันไข่ตกอุณหภูมิร่างกายจะลดลงเล็กน้อย และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเมื่อไข่ตกไปแล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาวัดสังเกตหาวันไข่ตกจากอุณหภูมิ 2-3 รอบเดือน ทั้งนี้คุณสามารถ สังเกตได้จากมูกที่ปากมดลูกเช่นกัน คือ ในช่วงวันตกไข่ จะเป็นมูกใสมีปริมาณค่อนข้างเยอะ
นับวันไข่ตกอย่างไรถ้าประจำเดือนมาไม่ปกติ สำหรับคุณผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ การนับวันตกไข่ จะมีหลักการคล้ายๆ กันกับการนับวันตกไข่แบบปกติ แต่ต้องอดทนรอคอยการเก็บข้อมูลรอบเดือนในแต่ละรอบอย่างน้อยให้ได้ 3 รอบเดือน รวมถึงวัดอุณหภูมิร่างกายทุกๆ วันในช่วงเช้าหลังตื่นนอนทันที ให้สังเกตุว่าอุณหภูมิของร่างกาย ช่วงไหนที่วัดค่าได้ต่ำที่สุด ช่วงนั้นจะเป็นช่วงไข่ตก ในปัจจุบันสามารถตรวจหาวันไข่ตกได้โดยการใช้ชุดทดสอบไข่ตก ซึ่งคู่สมรสสามารถทำได้สะดวกขึ้นกว่าการวัดอุณหภูมิ สามารถปรึกษารายละเอียดได้จากสูตินรีแพทย์
"ฝากไข่ของฝ่ายหญิงช่วยอะไรได้บ้าง"
การฝากไข่ของผู้หญิงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถเก็บไข่ไว้ได้นานหลายปี โดยวิธีการ คือ การนำเชลล์ไข่ไปแช่ไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเชลเซียส ซึ่งปกติแล้วในรังไข่ของผู้หญิงจะมีไข่ประมาณ 400 ใบ ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และไข่จะตกในทุกรอบเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งไข่ที่ตกมานั้นจะมีทั้งคุณภาพดีและไม่ดีได้ นั่นหมายความว่าเมื่อเราอายุมากขึ้นจะยิ่งมีโอกาสทำให้โครโมโซมในเซลล์ไข่นั้นด้อยลงหรือผิดปกติเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ผู้ที่นิยม หรือควรทำการฝากเซลล์ไข่นั้นมีอยู่ ดังนี้
แต่การฝากไข่ใช่ว่าคิดจะฝากไข่ก็ทำได้ทันที แต่จะต้องมีการตรวจร่างกายก่อนเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด และได้ไข่ที่มีประสิทธภาพมากที่สุด โดยสิ่งที่ต้องตรวจก่อนฝากไข่คือ
ถ้าคิดว่าท่านมีข้อบ่งชี้ดังกล่าวข้างต้นนี้และต้องการจะฝากไข่ไว้ใช้ในอนาคต คงจะต้องเข้าไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
"สังเกตอาการว่ามีลูกยากมั้ย"
หากคุณเป็นอีกคนที่มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์จนทําให้กระบวนการการมีลูกไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หรือเกิดขึ้นโดยไม่สมบูรณ์ คุณจะสังเกตได้โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่คุมกําเนิดด้วยวิธีใดๆ เกิน 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ , การที่ฝ่ายหญิงมีอาการประจําเดือนมาไม่ปกติเป็นประจํา หรือเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับมดลูก ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บทความ “แค่ไหนเรียกมีลูกยาก”
“ปัญหามีบุตรยาก” ไม่ได้เป็นสิ่งที่แสดงออกมาเป็นอาการชัดเจน เราไม่มีทางรู้หรอกว่าคู่เรามีลูกยากแค่ไหน ฉะนั้นแม้ว่าคุณจะคิดว่าตัวเองไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีบุตรยาก ก็ควรวางแผนอนาคตแต่เนิ่นๆ ว่าจะมีบุตรกันแน่ๆ ในอนาคตเมื่อไหร่ รวมถึงทางออกที่ดีที่สุดนั้นให้ทั้งคู่จูงมือกันเข้ามาปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ ตรวจร่างกายให้พร้อม จะได้ไม่ตรอมใจทีหลัง
นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้วคุณควร “เลี่ยงอาหารกินแล้วเสี่ยง” สำหรับคุณผู้หญิงที่ยังชอบปาร์ตี้ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลงถึง 50% ยิ่งดื่มมากเท่าไหร่ โอกาสในการตั้งครรภ์ก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น
เพื่อการมีบุตรได้ง่ายขี้น นอกจากการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงสุขภาพ และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับการแนะนำที่เหมาะสม รวมถึงการตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ของร่างกายของคู่ที่มีบุตรยากแล้ว ทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายต้องแข็งแรงทั้งกายและใจ พร้อมก้าวข้ามปัญหาการมีบุตรยากไปด้วยกัน
"นับวันไข่ตกช่วยเพิ่มโอกาสการมีบุตร"
เรายังมีอีกหนึ่งปฏิบัติการร่วมด้วยช่วยกันสำหรับคู่ที่มีบุตรยาก นั่นคือ การนับวันไข่ตก ที่คุณผู้หญิงต้องรู้และคุณผู้ชายต้องช่วยกัน โดยสังเกตง่ายๆ ในช่วงใกล้ไข่ตกร่างกายของผู้หญิงจะส่งสัญญาณ เช่น อวัยยะเพศเต่งขึ้น หน้าอกคัด ช่องคลอดแน่นขึ้น รู้สึกปวดหน่วงๆ ที่ช่องท้องข้างใดข้างหนึ่ง พบมูกไข่ตก อุณหภูมิร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการทางเพศมากขึ้น โดยในแต่ละรอบเดือนคุณจะมีโอกาสในการตั้งครรภ์ คือ ช่วงเวลาก่อนไข่ตก 5 วัน รวมกับวันไข่ตก เพียง 1 ครั้ง เท่านั้น ซึ่งจะสังเกตได้โดย
การนับวันไข่ตก สามารถทำได้โดยการบันทึกวันที่ประจำเดือนมาในรอบก่อนหน้าอย่างน้อย 2 รอบเดือน โดยนำระยะห่างระหว่างรอบเดือนลบด้วย 14 เช่น ถ้าระยะห่างระหว่างรอบเดือนคือ 28 วัน นำ 28 -14 = 14 ดังนั้นจะตกไข่ในวันที่ 14 ของรอบเดือน ถ้าระยะห่างระหว่างรอบเดือนคือ 32 วัน นำ 32-14 = 18 ดังนั้นจะตกไข่ในวันที่ 18 ของรอบเดือน โดยก่อนวันไข่ตกอุณหภูมิร่างกายจะลดลงเล็กน้อย และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเมื่อไข่ตกไปแล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาวัดสังเกตหาวันไข่ตกจากอุณหภูมิ 2-3 รอบเดือน ทั้งนี้คุณสามารถ สังเกตได้จากมูกที่ปากมดลูกเช่นกัน คือ ในช่วงวันตกไข่ จะเป็นมูกใสมีปริมาณค่อนข้างเยอะ
นับวันไข่ตกอย่างไรถ้าประจำเดือนมาไม่ปกติ สำหรับคุณผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ การนับวันตกไข่ จะมีหลักการคล้ายๆ กันกับการนับวันตกไข่แบบปกติ แต่ต้องอดทนรอคอยการเก็บข้อมูลรอบเดือนในแต่ละรอบอย่างน้อยให้ได้ 3 รอบเดือน รวมถึงวัดอุณหภูมิร่างกายทุกๆ วันในช่วงเช้าหลังตื่นนอนทันที ให้สังเกตุว่าอุณหภูมิของร่างกาย ช่วงไหนที่วัดค่าได้ต่ำที่สุด ช่วงนั้นจะเป็นช่วงไข่ตก ในปัจจุบันสามารถตรวจหาวันไข่ตกได้โดยการใช้ชุดทดสอบไข่ตก ซึ่งคู่สมรสสามารถทำได้สะดวกขึ้นกว่าการวัดอุณหภูมิ สามารถปรึกษารายละเอียดได้จากสูตินรีแพทย์
"ฝากไข่ของฝ่ายหญิงช่วยอะไรได้บ้าง"
การฝากไข่ของผู้หญิงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถเก็บไข่ไว้ได้นานหลายปี โดยวิธีการ คือ การนำเชลล์ไข่ไปแช่ไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเชลเซียส ซึ่งปกติแล้วในรังไข่ของผู้หญิงจะมีไข่ประมาณ 400 ใบ ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และไข่จะตกในทุกรอบเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งไข่ที่ตกมานั้นจะมีทั้งคุณภาพดีและไม่ดีได้ นั่นหมายความว่าเมื่อเราอายุมากขึ้นจะยิ่งมีโอกาสทำให้โครโมโซมในเซลล์ไข่นั้นด้อยลงหรือผิดปกติเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ผู้ที่นิยม หรือควรทำการฝากเซลล์ไข่นั้นมีอยู่ ดังนี้
- ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง จำเป็นต้องให้ยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน
- มีประวัติครอบครัวหมดประจำเดือนเร็ว ก่อนอายุ 40 ปี
- โรคของรังไข่ที่เสี่ยงต่อการทำลายเนื้อเยื่อที่ปกติของรังไข่
- ผู้ที่วางแผนแต่งงานช้า หรือยังไม่วางแผนมีบุตร
- โรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่อาจจำเป็นต้องตัดรังไข่ออกก่อนวัย
แต่การฝากไข่ใช่ว่าคิดจะฝากไข่ก็ทำได้ทันที แต่จะต้องมีการตรวจร่างกายก่อนเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด และได้ไข่ที่มีประสิทธภาพมากที่สุด โดยสิ่งที่ต้องตรวจก่อนฝากไข่คือ
- ตรวจเลือด
- ตรวจโรคต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นต้น
- ตรวจโรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้อ่อ่อนแรง เป็นต้น
ถ้าคิดว่าท่านมีข้อบ่งชี้ดังกล่าวข้างต้นนี้และต้องการจะฝากไข่ไว้ใช้ในอนาคต คงจะต้องเข้าไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 11/04/2022
Author doctor
Dr. Piboon Leelapatana
Specialty
ART (Assisted Reproductive Techologies)