• banner

แหวะนมในทารก เรื่องปกติที่ต้องระวัง

คุณแม่หลายๆ คน อาจเป็นกังวลกับอาการต่างๆ ของลูกน้อย แต่หารู้ไม่การแหวะนมก็เป็นอีกอาการที่ต้องระวังแต่จะอันตรายมากน้อยแค่ไหนและมีวิธีสังเกตความผิดปกติของอาการลูกน้อยได้อย่างไร วันนี้ป้าหมอจะมาบอกเล่าเรื่องราวให้ฟังกันค่ะ วันนี้ป้าหมอมีนัดกับน้องวาวาค่ะ น้องวาวา อายุ 2 เดือน น้ำหนักวันนี้ 5.6 กิโลกรัม กินแต่นมอย่างเดียว

Q : วาวายังแหวะบ่อยจังค่ะป้าหมอ วันละ 2 – 3 มื้อเลย แม่ก็จับเรอแล้วนะคะ จะเป็นอะไรมั้ยคะ วาวา แรกเกิด 3 กิโลกรัม นางเป็นเด็กแข็งแรงตั้งแต่แรกเกิด ดูดนมจากเต้าแม่ได้ดี น้ำนมแม่มีปริมาณมาก วาวาเริ่มมีแหวะบ่อยตั้งแต่อายุได้ 2 อาทิตย์ ดูดเต้าไป จับเรอไปก็แล้ว บางมื้อก็แหวะ นานๆ ที 2 – 3 วันครั้ง นางมีอาเจียนสลับบ้าง แต่ละครั้งที่นัดตรวจกัน น้ำหนักของวาวาก็ขึ้นตามเกณฑ์ เยอะซะด้วยซ้ำ เป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย ไม่งอแง ถ่ายอุจจาระปกติ  แหวะเสร็จ อาเจียนเสร็จ วาวาก็งับเต้าแม่ดูดนมต่ออย่างมีความสุข
A :  ในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะใน 4 เดือนแรก จะมีโอกาสแหวะนมได้สูง เพราะทารกกินนมในปริมาณมาก ในขณะที่ความจุของกระเพาะยังน้อย และกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะท่านอนหงาย ก็จะยิ่งทำให้เกิดการแหวะนมได้ (หรือที่เรียกว่า regurgitation) หรือแม้แต่มีอาการอาเจียนร่วมได้บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ควรจะหายไปได้เอง ภายในอายุ 12 – 18 เดือนค่ะ

Q : แล้วภาวะ GERD คืออะไรคะป้าหมอ แม่ไปค้นในอินเตอร์เน็ต เห็นบอกว่า ลูกแหวะต้องระวังภาวะ GERD
A : GERD คือ โรคกรดไหลย้อน การไหลย้อนของกรด หรือของเหลวในกระเพาะอาหารขึ้นมาในหลอดอาหารและก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบต่างๆ เช่น ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจค่ะ

Q : แล้ว แหวะแบบไหนที่เป็นอาการของโรคล่ะคะ
A : ก็ถ้าอาการแหวะนมนั้น มีอาการมาก ลูกก็จะน้ำหนักไม่ขึ้น มีภาวะกรดไหลย้อน ลูกจะร้องบ่อยกวนงอแง ปฏิเสธการกินนม หยุดดูดนมทั้งที่กำลังหิว แหวะหรืออาเจียนมีน้ำดีหรือเลือดปน มีภาวะแทรกซ้อนในทางเดินหายใจ เช่น ไอ สำลัก หายใจหอบ

Q : แล้วเกี่ยวกับแพ้นมวัวมั๊ยคะ แม่ต้องหยุดกินนมวัวมั๊ยถ้าลูกกินนมแม่
A : ทารกที่มีการแพ้โปรตีนนมวัว อาจมีอาการคล้ายโรคกรดไหลย้อน บางครั้งอาการอาจแยกจากกันได้ยาก อาจต้องมองหาอาการภูมิแพ้ตรงระบบอื่นๆ ด้วย เช่น ถ่ายมีมูกเลือด ท้องอืด หรือมีอาการผื่นผิวหนังอักเสบ มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว ซึ่งถ้ามีประวัติดังกล่าวเพิ่มเติม ก็ทำให้นึกถึงภาวะแพ้โปรตีนนมวัวเพิ่มขึ้น ในทางปฏิบัติก็อาจจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงนมวัว สูตรปกติ หรือถ้าเป็นการกินนมแม่ ก็ให้หลีกเลี่ยง นมวัว และผลิตภัณฑ์ผสมนมวัว ประมาณ 2 อาทิตย์ แล้วประเมินอาการตอบสนองดูค่ะ มีความสุขกับการเลี้ยงลูกไปค่ะ แหวะนิดหน่อย  ชิลชิลค่ะ แหวะมากหน่อย เน้นจับเรอลม กินนมครั้งละลดลงจับนอน Semi upright ไว้หลังมื้อนม อย่าลืมสังเกตอาการกลุ่ม GERO และกลุ่มอาการแพ้นมวัวไว้บ้างค่ะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Pediatric and Child Development Center
Publish date desc: 08/04/2022

Author doctor

Dr. Ornrat Noiperm

img

Specialty

กุมารแพทย์

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us

other health information

Other package