ระวังโรคพิษสุนัขบ้า
พิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่าเรบีส์ สัตว์ที่ติดเชื้อโรคนี้จะสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนหรือสัตว์อื่น ๆ ด้วยการกัด นอกจากนี้ แผลตามร่างกายหรือเยื่อบุตาและปากที่สัมผัสเข้ากับน้ำลายของสัตว์ติดเชื้อนั้น ๆ ก็มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน ระยะการฟักตัวของเชื้อใช้เวลาตั้งแต่ 2-12 สัปดาห์ขึ้นไป บางรายงานมีถึงเป็นปี หรืออาจใช้เวลาอย่างเร็วเพียงแค่ 4 วัน ซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมาก ทั้งนี้บริเวณที่ถูกกัดยังสามารถส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนและระยะฟักตัวของเชื้อ โดยยิ่งบริเวณที่ติดเชื้ออยู่ใกล้สมองมากเท่าไหร่ เชื้อก็จะยิ่งเพิ่มจำนวนและฟักตัวได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น หากผู้ป่วยถูกสัตว์ต้องสงสัยกัดหรือข่วนแนะนำให้รีบล้างแผลทันที เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโปรวิดีนหรือแอลกอฮอล์ จากนั้นรีบไปสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการฉีดวัคซีนหลังจากถูกสัตว์กัดให้เร็วที่สุด
การฉีดวัคซีนป้องกันหลังสัมผัสโรคจะฉีดทั้งหมด 5 เข็ม คือ เข็มที่ 1 (วันที่เริ่มฉีด) เข็มที่ 2 (วันที่ 3) เข็มที่ 3 (วันที่ 7) เข็มที่ 4 (วันที่ 14) และเข็มที่ 5 (วันที่ 28) ส่วนการฉีดป้องกันพิษสุนัขบ้าแบบล่วงหน้านั้น จะฉีดเพียง 3 เข็ม คือ เข็มที่ 1 (วันที่เริ่มฉีด) เข็มที่ 2 (วันที่ 7) และเข็มที่ 3 (วันที่ 21 หรือ 28)
เมื่อถูกสัตว์ต้องสงสัยกัดหรือข่วน…สิ่งที่ไม่ควรทำ มีดังนี้
• ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น
• อย่าใส่สิ่งอื่น เช่น เกลือ ยาฉุน ลงในแผล อย่างเด็ดขาด
• ไม่ควรเย็บแผล ถ้าจำเป็นควรรอไว้ 3-4 วัน ถ้าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่อาจเย็บหลวม ๆ และใส่ท่อระบายไว้
ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัย การนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด “โรคพิษสุนัขบ้าอันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้นะคะ”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
การฉีดวัคซีนป้องกันหลังสัมผัสโรคจะฉีดทั้งหมด 5 เข็ม คือ เข็มที่ 1 (วันที่เริ่มฉีด) เข็มที่ 2 (วันที่ 3) เข็มที่ 3 (วันที่ 7) เข็มที่ 4 (วันที่ 14) และเข็มที่ 5 (วันที่ 28) ส่วนการฉีดป้องกันพิษสุนัขบ้าแบบล่วงหน้านั้น จะฉีดเพียง 3 เข็ม คือ เข็มที่ 1 (วันที่เริ่มฉีด) เข็มที่ 2 (วันที่ 7) และเข็มที่ 3 (วันที่ 21 หรือ 28)
เมื่อถูกสัตว์ต้องสงสัยกัดหรือข่วน…สิ่งที่ไม่ควรทำ มีดังนี้
• ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น
• อย่าใส่สิ่งอื่น เช่น เกลือ ยาฉุน ลงในแผล อย่างเด็ดขาด
• ไม่ควรเย็บแผล ถ้าจำเป็นควรรอไว้ 3-4 วัน ถ้าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่อาจเย็บหลวม ๆ และใส่ท่อระบายไว้
ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัย การนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด “โรคพิษสุนัขบ้าอันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้นะคะ”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Internal Medicine Center
Publish date desc: 20/03/2018
Author doctor
Dr. Pannawadee Uppathamnarakorn
Specialty
Infectious and Tropical Diseases