กรวยไตอักเสบ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
กรวยไตอักเสบ อาจดูเป็นโรคที่ไกลตัวนะคะ แต่หารู้ไม่ว่าสาเหตุของโรคนี้อาจเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราได้ด้วย โดยเฉพาะในเพศหญิง ว่าแต่กรวยไตอักเสบคืออะไร เกิดจากอะไร กลุ่มเสี่ยงเป็นใครบ้าง อาการและวิธีการรักษาเป็นแบบไหน วันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากค่ะ
กรวยไตอักเสบ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียทำให้ไตเกิดการอักเสบ โดยเชื้อที่พบบ่อยคือ เชื้อ Escherichia Coli (E.coli) ซึ่งส่วนใหญ่มักเริ่มจากการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างนำมาก่อน เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แบ่งเป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หากไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นอันตรายได้
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดกรวยไตอักเสบ มีใครบ้าง?
อาการของกรวยไตอักเสบ
ผู้ป่วยโรคกรวยไตอักเสบจะมีอาการหนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง อาเจียน มีอาการปวดบริเวณสีข้างหรือบั้นเอวขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยจะปวดมากที่ข้างใดข้างหนึ่ง ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น มีเลือดหรือหนองปนมากับปัสสาวะ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาทางรักษา
การรักษากรวยไตอักเสบ
การป้องกันกรวยไตอักเสบ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
กรวยไตอักเสบ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียทำให้ไตเกิดการอักเสบ โดยเชื้อที่พบบ่อยคือ เชื้อ Escherichia Coli (E.coli) ซึ่งส่วนใหญ่มักเริ่มจากการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างนำมาก่อน เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แบ่งเป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หากไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นอันตรายได้
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดกรวยไตอักเสบ มีใครบ้าง?
- ผู้หญิงเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าและระยะห่างระหว่างท่อปัสสาวะกับทวารหนักสั้นกว่าผู้ชาย ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจากทวารหนักได้ง่ายกว่า
- หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้การบีบตัวของทางเดินปัสสาวะลดลง รวมถึงการกดเบียดทางเดินปัสสาวะจากมดลูกที่ขยายขนาดขึ้น
- หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้กล้ามเนื้อท่อปัสสาวะบีบตัวลดลง และลดจำนวนของแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ
- ผู้ที่มีระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีทางเดินปัสสาวะอุดกั้น เคยผ่าตัดทางเดินปัสสาวะ ใ่ส่สายสวนปัสสาวะเป็นระยะเวลานานๆ เป็นต้น
- ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เบาหวาน ผู้ป่วยปลูกถ่ายไต
อาการของกรวยไตอักเสบ
ผู้ป่วยโรคกรวยไตอักเสบจะมีอาการหนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง อาเจียน มีอาการปวดบริเวณสีข้างหรือบั้นเอวขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยจะปวดมากที่ข้างใดข้างหนึ่ง ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น มีเลือดหรือหนองปนมากับปัสสาวะ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาทางรักษา
การรักษากรวยไตอักเสบ
- ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนเสมอ และไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเอง การจะรักษาโรคต้องขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อายุผู้ป่วย ชนิดและขนาดของยาปฏิชีวนะ ซึ่งต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
- แพทย์จะตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ เพื่อดูค่าเม็ดเลือดขาวที่บ่งถึงการอักเสบได้ รวมทั้งตรวจหาการติดเชื้อ
- การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ยากลุ่มควิโนโลน Quinolones cephalosporins
- การรักษาในโรงพยาบาล หากรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยมีภาวะไตติดเชื้อรุนแรง แพทย์อาจต้องฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ร่วมกับการให้น้ำเกลือและยาแก้ปวดลดไข้ ติดตามอาการโดยตรวจปัสสาวะและเลือดอย่างต่อเนื่อง หากอาการไม่ดีขึ้น จึงทำการตรวจทางรังสีวินิจฉัยเพิ่มเติม
การป้องกันกรวยไตอักเสบ
- ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8แก้ว เพื่อให้มีปริมาณปัสสาวะมากพอจะขับของเสียออก
- ไม่กลั้นปัสสาวะ และปัสสาวะทันทีเมื่อรู้สึกปวด
- ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ทำความสะอาดอวัยวะเพศจากหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียจากทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอดเพื่อลดการทำลายแบคทีเรียชนิดดีประจำถิ่น
- ปัสสาวะทิ้งทั้งก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Nephrology and Hemodialysis Center
Publish date desc: 23/05/2024
Author doctor
Dr. Somrath Srijaruneruang
Specialty
Kidney Disease