วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนก่อนวัยอันควร
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มีความแข็งแกร่งของกระดูกลดลง หมายถึงความหนาแน่น และคุณภาพของกระดูกลดลงไป ส่งผลทำให้เกิดกระดูกหักได้ง่าย
ทั่วโลกมีสตรีเป็นโรคกระดูกพรุนประมาณ 200 ล้านคน ในแต่ละปีมีคนไข้กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
8.9 ล้านคน เท่ากับว่ามีกระดูกหักใหม่เกิดขึ้นทุก ๆ 3 วินาที
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน ใช้เกณฑ์จากองค์กรอนามัยโลกกำหนดไว้ว่า ผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน จะมีความหนาแน่นกระดูก เท่ากับ หรือ ต่ำกว่า 2.5 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นกระดูกในคนหนุ่มสาว
ปัจจัยเสี่ยงหลักที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
1.ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
2.ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้
เมื่อไหร่ถึงส่งตรวจวัดความหนาแน่นกระดูก
ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ปัจจัยเสี่ยงหลักที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
1.ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
- อายุมากกว่า 65 ปี
- เพศหญิง
- หญิงผิวขาว และ หญิงชาวเอเชีย
- หมดประจำเดือนก่อนอายุ 35 ปี
- ผอม บาง น้ำหนักตัวน้อย
- มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- เคยกระดูกหักจากภาวะกระดูกเปราะบาง
2.ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้
- บริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ สตรีวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับแคลเซียมจากอาหาร 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- ขาดการออกกำลังกาย แนะนำให้มีการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักที่ขา เช่น เดิน วิ่ง เต้นรำ รำมวยจีน 150 นาทีต่อสัปดาห์ ร่วมกับการออกกำลังกายโดยใช้แรงต้านของแขนและขา สัปดาห์ละ 2 วัน
- งดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา
- ไม่ดื่มกาแฟมากเกินควร แนะนำไม่ดื่มเกิน 2-3 ถ้วยต่อวัน
- ภาวะขาดวิตามินซี เป็นปัจจัยทางอ้อมที่ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง สตรีสูงอายุควรได้สัมผัสแสงแดด อ่อน ๆ วันละ 15 นาที
เมื่อไหร่ถึงส่งตรวจวัดความหนาแน่นกระดูก
- ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
- หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
- มีภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องนานกว่า 1 ปี ก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
- ได้รับยากลูโคคอร์ติคอยด์เป็นระยะเวลานานกว่า 3 เดือน
- มีประวัติบิดาหรือมารดากระดูกสะโพกหัก
- หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีส่วนสูงลดลง อย่างน้อย 4 เซนติเมตร
- ตรวจพบภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกสันหลังผิดรูป จากการถ่ายภาพรังสีเอกซ์
- มีประวัติกระดูกหักจากอันตรายแบบไม่รุนแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Rehabilitation Center
Publish date desc: 11/04/2022
Author doctor
Dr. Sukajan Pongprapai
Specialty
Rehabilitation Medicine