รักษาการมีบุตรยาก : เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมเงิน
เตรียมตัวมาอย่างดี ตั้งแต่ก่อนแต่งงาน ด้วยความฝันที่อยากมีลูก แต่ก็ต้องดับสลาย เพราะฝันนั้นกลายเป็นคู่ของเราเป็นคู่ที่มีบุตรยาก แต่มาถึงขั้นนี้ต้องสู้สักตั้ง ว่าแต่ต้องเตรียมพร้อมแค่ไหนหละ ? ถึงจะได้เจ้าตัวเล็กมาเป็นโซ่ทองคล้องใจ
"ความเข้าใจที่ควรมีในการรักษามีบุตรยาก"
จะเข้ารักษาอาการมีบุตรยากทั้งที งานนี้คงต้องดูสักหน่อยว่าเราอยู่ในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาแล้วหรือยัง หรือจริงๆ แล้วยังมีโอกาสมีลูกได้ตามวิธีทางธรรมชาติอยู่ เรื่องของการรักษาไม่ได้เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ถ้าอยากจะเข้าใจ แต่เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปทำลูกตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ เรามาดูปัจจัยที่บ่งบอกว่าคุณควรปรึกษาแพทย์กันหน่อยดีกว่า
เมื่อประเมินเบื้องต้นแล้วรู้ตัวว่าเราหรือคู่ มีความเสี่ยงมีบุตรยาก อย่าเพิ่งท้อใจไป เพราะตอนนี้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากมาย ที่พร้อมให้คำปรึกษา รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาดีๆ ให้กับทุกท่าน โดยสิ่งแรกที่คุณและคู่ของคุณควรทำ คือ เตรียมความพร้อมด้านจิตใจและร่างกาย ทั้งในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งสิ่งนี้หากคุณได้อ่านบทความมนี้จบลงไปแล้ว คุณสามารถหาคำตอบได้ที่ บทความ “ไปต่ออย่างไร เมื่อต้องเจอกับภาวะมีบุตรยาก” และ “การปฏิบัติตนที่ช่วยสนับสนุนการรักษาการมีบุตรยาก”
ทั้งนี้ เด็กที่เกิดจะสมบูรณ์และปกติหรือไม่ขี้นอยู่กับการดูแลและการปฎิบัติตนของทั้งพ่อและแม่ แต่โดยปกติแล้ว เด็กหลอดแก้วก็เกิดมาไม่ต่างกับเด็กปกติด้วยซ้ำไป
"เตรียมเงินเท่าไหร่ จึงจะพอรักษาการมีบุตรยาก "
สำหรับค่าใช้จ่าย ขอบอกโดยรวมในทุกแบบการรักษา ว่าอาจจะมีความแตกต่างกันได้มาก เราอาจแบ่งค่าใช้จ่ายได้เป็นส่วนย่อยๆ คือ ค่ายากระตุ้นไข่และค่าตามไข่, ค่าเก็บไข่และค่ายาระงับความรู้สึกในขณะเก็บไข่, ค่าเตรียมอสุจิ และทำให้เกิดการปฏิสนธิ, ค่าเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ ค่าใช้จ่ายในการย้ายตัวอ่อน และค่ายาที่ใช้ในการพยุงการตั้งครรภ์หลังการย้ายตัวอ่อน ซึ่งประมาณอย่างหยาบๆ คงตกราว 50,000 – 100,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความยากง่าย เช่น คนที่อายุน้อยจะไวต่อยากระตุ้นไข่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นไข่น้อยกว่าคนอายุมาก
ถ้ามีการใช้เทคโนโลยีอย่างอื่นเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ถ้าอสุจิอ่อนจำเป็นต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรมมาช่วยการปฏิสนธิก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มราว 7,000 – 10,000 บาท ถ้ามีตัวอ่อนเหลือเยอะต้องมีการแช่แข็งเก็บไว้ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มราว 5,000 – 10,000 บาท หรือถ้ามีการวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการย้ายฝากเข้าโพรงมดลูก ก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกราว 40,000 บาทขึ้นไป ดังนั้นควรสอบถามและให้แพทย์ที่ดูแลรักษาช่วยประเมินค่าใช้จ่ายคร่าวๆให้ก่อนการตัดสินใจ
"รักษามานานก็ยังมีบุตรยาก ควรทำยังไงดี"
การรักษาถือเป็นช่วงบีบหัวใจของทั้งคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ที่อยากมีลูกตัวน้อย ติดบ้างไม่ติดบ้าง บางคู่ตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่การทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรก แต่รักษากี่ครั้งและนานแค่ไหนควรตัดใจ ? ตอบเลยว่าการทำเด็กหลอดแก้วสามารถทำได้เรื่อยๆ ตามแต่ที่ต้องการ ซึ่งกว่าจะทำครั้งต้องไปคงต้องพักใจ และร่างบำรุงร่างกายให้แข็งแรงก่อน
ขั้นตอนการรักษาด้วยเด็กหลอดแก้วปกติใช้เวลานานเท่าไรถึงจะมีบุตรได้ ?
สำหรับขั้นตอนการรักษา จะใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละที่ แต่ด้วยวิธีการหลักๆ มีดังนี้
ฝ่ายหญิง
ขั้นที่ 1 ควบคุมรอบเดือนให้มาปกติ โดยแพทย์จะให้ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่เวลา 10 - 12 วัน
ขั้นที่ 2 สังเกตการ ดูปริมาณฮอร์โมนในร่างกายและฉีดฮอร์โมนเข็มสุดท้าย ก่อนเก็บไข่ประมาณ 34 - 38 ชั่วโมง
ขั้นที่ 3 เก็บไข่รอการผสม ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 - 20 นาที
ขั้นที่ 4 ผสมไข่กับอสุจิ หลังการเก็บไข่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตั้งครรภ์
ขั้นที่ 5 ถ่ายฝากตัวอ่อน ประมาณ 2-3 วันหลังการเก็บไข่
ฝ่ายชาย
น้ำอสุจิหรือสเปิร์มของฝ่ายชายจะถูกเก็บเพื่อเลือกเสปิร์มที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด
ทั้งนี้หากพยายามเท่าไหร่ก็ยังไม่ตั้งครรภ์ แนวทางสุดท้ายที่ถึงทางตันแล้วต้องการมีบุตร อาจจะต้องมีการพึ่งพาการฝากไข่ไว้กับผู้ที่พร้อมจะตั้งครรภ์ หรือที่เราเรียกกันว่าการอุ้มบุญนั่นเอง แต่ทั้งนี้คงจะต้องเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จนปัญญาจริงๆ เพราะกรณีนี้จะใช้เฉพาะกับผู้ที่ตั้งครรภ์เองไม่ได้จากมดลูกผิดปกตเท่านั้น เบื้องต้นคุณและคู่ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ดูแลตัวเองอย่างดี ให้ห่างภาวะสุ่มเสี่ยง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
"ความเข้าใจที่ควรมีในการรักษามีบุตรยาก"
จะเข้ารักษาอาการมีบุตรยากทั้งที งานนี้คงต้องดูสักหน่อยว่าเราอยู่ในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาแล้วหรือยัง หรือจริงๆ แล้วยังมีโอกาสมีลูกได้ตามวิธีทางธรรมชาติอยู่ เรื่องของการรักษาไม่ได้เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ถ้าอยากจะเข้าใจ แต่เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปทำลูกตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ เรามาดูปัจจัยที่บ่งบอกว่าคุณควรปรึกษาแพทย์กันหน่อยดีกว่า
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนไม่มา
- การมีประจำเดือนที่ปวดท้องมากๆ หรือมาเยอะ ก็เสี่ยงต่อการมีลูกยาก
- มีปัญหาในการมองเห็น Peripheral Vision (การมองเห็นภาพข้างๆ เวลาที่จ้องไปตรงกลางมักจะมองเห็นรอบนอกหรือตรงขอบไปด้วย) อาจเป็นเพราะโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง โดยเนื้องอกนั้นจะผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมน้ำนม (Prolactinoma) มีผลต่อร่างกายและทำให้มีบุตรยาก
- ขนขึ้นเยอะมาก อาจเป็นเพราะรังไขผิดปกติ
- ไม่มีความต้องการทางเพศ
- เป็นโรคอ้วน
- รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
เมื่อประเมินเบื้องต้นแล้วรู้ตัวว่าเราหรือคู่ มีความเสี่ยงมีบุตรยาก อย่าเพิ่งท้อใจไป เพราะตอนนี้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากมาย ที่พร้อมให้คำปรึกษา รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาดีๆ ให้กับทุกท่าน โดยสิ่งแรกที่คุณและคู่ของคุณควรทำ คือ เตรียมความพร้อมด้านจิตใจและร่างกาย ทั้งในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งสิ่งนี้หากคุณได้อ่านบทความมนี้จบลงไปแล้ว คุณสามารถหาคำตอบได้ที่ บทความ “ไปต่ออย่างไร เมื่อต้องเจอกับภาวะมีบุตรยาก” และ “การปฏิบัติตนที่ช่วยสนับสนุนการรักษาการมีบุตรยาก”
ทั้งนี้ เด็กที่เกิดจะสมบูรณ์และปกติหรือไม่ขี้นอยู่กับการดูแลและการปฎิบัติตนของทั้งพ่อและแม่ แต่โดยปกติแล้ว เด็กหลอดแก้วก็เกิดมาไม่ต่างกับเด็กปกติด้วยซ้ำไป
"เตรียมเงินเท่าไหร่ จึงจะพอรักษาการมีบุตรยาก "
สำหรับค่าใช้จ่าย ขอบอกโดยรวมในทุกแบบการรักษา ว่าอาจจะมีความแตกต่างกันได้มาก เราอาจแบ่งค่าใช้จ่ายได้เป็นส่วนย่อยๆ คือ ค่ายากระตุ้นไข่และค่าตามไข่, ค่าเก็บไข่และค่ายาระงับความรู้สึกในขณะเก็บไข่, ค่าเตรียมอสุจิ และทำให้เกิดการปฏิสนธิ, ค่าเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ ค่าใช้จ่ายในการย้ายตัวอ่อน และค่ายาที่ใช้ในการพยุงการตั้งครรภ์หลังการย้ายตัวอ่อน ซึ่งประมาณอย่างหยาบๆ คงตกราว 50,000 – 100,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความยากง่าย เช่น คนที่อายุน้อยจะไวต่อยากระตุ้นไข่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการกระตุ้นไข่น้อยกว่าคนอายุมาก
ถ้ามีการใช้เทคโนโลยีอย่างอื่นเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ถ้าอสุจิอ่อนจำเป็นต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรมมาช่วยการปฏิสนธิก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มราว 7,000 – 10,000 บาท ถ้ามีตัวอ่อนเหลือเยอะต้องมีการแช่แข็งเก็บไว้ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มราว 5,000 – 10,000 บาท หรือถ้ามีการวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนการย้ายฝากเข้าโพรงมดลูก ก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกราว 40,000 บาทขึ้นไป ดังนั้นควรสอบถามและให้แพทย์ที่ดูแลรักษาช่วยประเมินค่าใช้จ่ายคร่าวๆให้ก่อนการตัดสินใจ
"รักษามานานก็ยังมีบุตรยาก ควรทำยังไงดี"
การรักษาถือเป็นช่วงบีบหัวใจของทั้งคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ที่อยากมีลูกตัวน้อย ติดบ้างไม่ติดบ้าง บางคู่ตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่การทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรก แต่รักษากี่ครั้งและนานแค่ไหนควรตัดใจ ? ตอบเลยว่าการทำเด็กหลอดแก้วสามารถทำได้เรื่อยๆ ตามแต่ที่ต้องการ ซึ่งกว่าจะทำครั้งต้องไปคงต้องพักใจ และร่างบำรุงร่างกายให้แข็งแรงก่อน
ขั้นตอนการรักษาด้วยเด็กหลอดแก้วปกติใช้เวลานานเท่าไรถึงจะมีบุตรได้ ?
สำหรับขั้นตอนการรักษา จะใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละที่ แต่ด้วยวิธีการหลักๆ มีดังนี้
ฝ่ายหญิง
ขั้นที่ 1 ควบคุมรอบเดือนให้มาปกติ โดยแพทย์จะให้ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่เวลา 10 - 12 วัน
ขั้นที่ 2 สังเกตการ ดูปริมาณฮอร์โมนในร่างกายและฉีดฮอร์โมนเข็มสุดท้าย ก่อนเก็บไข่ประมาณ 34 - 38 ชั่วโมง
ขั้นที่ 3 เก็บไข่รอการผสม ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 - 20 นาที
ขั้นที่ 4 ผสมไข่กับอสุจิ หลังการเก็บไข่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตั้งครรภ์
ขั้นที่ 5 ถ่ายฝากตัวอ่อน ประมาณ 2-3 วันหลังการเก็บไข่
ฝ่ายชาย
น้ำอสุจิหรือสเปิร์มของฝ่ายชายจะถูกเก็บเพื่อเลือกเสปิร์มที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด
ทั้งนี้หากพยายามเท่าไหร่ก็ยังไม่ตั้งครรภ์ แนวทางสุดท้ายที่ถึงทางตันแล้วต้องการมีบุตร อาจจะต้องมีการพึ่งพาการฝากไข่ไว้กับผู้ที่พร้อมจะตั้งครรภ์ หรือที่เราเรียกกันว่าการอุ้มบุญนั่นเอง แต่ทั้งนี้คงจะต้องเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จนปัญญาจริงๆ เพราะกรณีนี้จะใช้เฉพาะกับผู้ที่ตั้งครรภ์เองไม่ได้จากมดลูกผิดปกตเท่านั้น เบื้องต้นคุณและคู่ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ดูแลตัวเองอย่างดี ให้ห่างภาวะสุ่มเสี่ยง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 11/04/2022
Author doctor
Dr. Pimpagar Chavanaves
Specialty
ART (Assisted Reproductive Techologies)