• banner

คุณแม่ตั้งครรภ์ น้ำหนักควรเพิ่มเท่าไร?

ในช่วงของการตั้งครรภ์ นอกจากโภชนาการที่ครบถ้วนแล้ว สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรคำนึงถึงคือ เรื่องของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หากน้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มมากเกินไป หรือน้อยจนเกินไปก็อาจจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ เราก็มีคำแนะนำดีๆ จากพญ.พิมพ์อร คงประยูร สูตินรีแพทย์ด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ที่จะมาบอกเล่าให้คุณแม่ดูแลน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างไรให้พอเหมาะตลอดการตั้งครรภ์กันค่ะ


คุณแม่ตั้งครรภ์ทราบกันไหมคะว่าน้ำหนักของเราควรขึ้นเท่าไหร่ระหว้างการตั้งครรภ์ (อ้างอิง institute of medicine (IOM))
  • ในคุณแม่ที่มีสัดส่วนปกติหรือมวลดัชนีกาย (BMI) อยู่ระหว่าง18-25 (kg/m2) แนะนำให้น้ำหนักขึ้น 12-15 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์ หรือประมาณเดือนละ2กิโลกรัม ในช่วงไตรมาสที่2และ3 ค่ะ
  • หากมวลดัชนีกายน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ น้ำหนักที่ขึ้นได่ตอนตั้งครรภ์ก็จะปรับเปลี่ยนไปค่ะ
  • หากคุณแม่มีน้ำหนักขึ้นเยอะเกินไป ทารกอาจมีน้ำหนักตัวมาก เกิดเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ เพิ่มโอกาสผ่าตัดคลอดบุตรสูงขึ้น หากน้ำหนักขึ้นน้อยเกินไป จะทำให้ทารกตัวเล็ก และเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดค่ะ
  • ไม่แนะนำให้คุณแม่ลดน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ นะคะ แต่ให้เลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม
  • โดยความต้องการพลังงานจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละไตรมาสค่ะ ประมาณ50kcal ต่อวัน ในไตรมาสแรก และจะเพิ่ท ขึ้นเรื่อยๆ จนถึง500kcal ต่อวัน ในไตรมาสที่3
  • โดยแป้งหรือ carbohydrtae จะถือเป็นหมู่หลักของพลังงานที่ต้องการ สำหรับอาหารหมู่นี้ได้แก่ ขนมปัง ข้าว เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ ให้ระวังการรับประทานขนม เค้ก น้ำหวานที่มากเกินไปนะคะ
  • กลุ่มโปรตีน แนะนำทานเนื้อสัตว์หลากหลายชนิด ชนิดติดมันน้อยหรือไม่ติดมัน
  • นมแนะนำเป็นนม พาสเจอไรซ์ หรือนม UHT ชนิดไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน วันละ1-2แก้ว นอกจากให้โปรตีนสูงแล้วยังมีแคลเซียมสูงด้วยค่ะ นมถั่วเหลือง นมอัลมอลก้สามารถทานได้เช่นกันค่ะ
ไขมัน: กรดไขมันชนิดทรานส์ เช่น ในอาหารทอด เนยเทียม และกรดไขมันอิ่มตัว กลุ่มนี้แนะนำให้รับประทานแต่น้อยนะคะ
  • รับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น omega3 จากปลา (ซึ่งแนะนำทานปลา 300gต่อสัปดาห์) ประมาณสเต๊กปลา2ชิ้น เลี่ยง ปลาทะเลน้ำลึกที่อาจมีสารปรอท ปนเปื้อนสูงเช่น ปลาไทล์ฟิช ฉลาม และทูน่าบางสายพันธุ์
  • รับประทานผักผลไม้ ให้หลากหลายชนิด และ ล้างให้สะอาดก่อน รับประทาน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วงอกดิบ อาหารดิบ ไข่ดิบ cold cut และ soft cheese เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและโปรโตซัวบางชนิด ที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ค่ะ
  • งดalcohol และจำกัดปริมาณคาเฟอีนที่รับประทานไม่เกิน 200mg ต่อวัน
  • ดื่มน้ำวันละ2-3ลิตร จะช่วยลดอาการท้องผูกได้ด้วยนะคะ

สุดท้าย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่สุก สะอาดและอย่าลืมล้างมือก่อนรับประทานอาหารกันนะคะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 02/08/2024

Author doctor

Dr. Pimon Kongprayoon

img

Specialty

Meternal Fetal Medicine

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us

Other package