• banner

ตั้งครรภ์ได้ไหม? หากเป็นเบาหวาน

หัวข้อที่คุยกันวันนี้ดูจะยาก ๆ สำหรับผม เพราะโดยทั่วไปแล้วเรื่องโรคเบาหวานนี้เป็นโรคที่จำเพาะมากๆ การดูแลรักษาจะเป็นบทบาทของ  แพทย์อายุรกรรมระบบต่อมไร้ท่อ แต่เนื่องจากมีคำถามที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์เข้ามา วันนี้เราจึงได้มาพูดคุยกันครับ

โรคเบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังเช่นเดียวกันกับโรคความดันโลหิตสูง คือ เมื่อเป็นแล้วมันก็เป็นเลย หากสตรีที่เป็นโรคเบาหวานไปแล้วก็อย่าเพิ่งหมดหวังในเรื่องของการตั้งครรภ์ครับ หากสภาวะของโรคเบาหวานที่เราเป็นมันมากมายถึงขนาดไม่ควรตั้งครรภ์จริงๆ นั้น ทางอายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อที่ดูแลอยู่ก็คงจะบอกให้ทราบเอง

โดยทั่วไปแล้วในสตรีที่เป็นเบาหวานระดับที่ไม่รุนแรงนัก คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้เองโดยการควบคุมอาหารนั้น ก็ไม่มีปัญหาใดใดนักต่อการตั้งครรภ์ แต่หากอยู่ในระดับที่ต้องควบคุมด้วยยารับประทานนั้นก็เป็นอะไรที่ต้องดูแลมากหน่อย เพราะจำเป็นต้องเปลี่ยนจากยารับประทานมาใช้เป็นยาฉีดแทน

สตรีที่เป็นเบาหวานมากถึงขนาดมีโรคทางหลอดเลือดแทรกซ้อนในระบบต่าง ๆ แล้ว เช่น จอประสาทตาเสื่อม แบบธรรมดา ภาวะไตเสื่อม จอประสาทตาเสื่อมแบบก้าวหน้า และ โรคหลอดเลือดหัวใจ ดังกล่าวเหล่านี้ก็ไม่ควรที่จะตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้การดูแลรักษาภาวะเหล่านี้ทำได้ยากขึ้น หรือภาวะการตั้งครรภ์เองก็อาจทำให้อาการของภาวะเหล่านี้รุนแรงเพิ่มขึ้นได้

เคยมีรายงานว่าสตรีที่เป็นเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ดังนี้
  • การแท้ง ร้อยละ 24
  • คลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 09
  • ครรภ์เป็นพิษ ร้อยละ 27
  • ทารกตัวโตกว่าปกติ ร้อยละ 07
  • ทารกตายคลอด และภายหลังการคลอด ร้อยละ 6
  • ทารกตายคลอด ร้อยละ 4

นอกจากนี้ยังมีภาวะอื่น ๆ อีกเช่น ทารกตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ ภาวะครรภ์แฝดน้ำ (หมายถึง มีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่าปกติ) และภาวะความผิดปกติของทารกแต่แรกเกิด ในส่วนของ ความผิดปกติแต่แรกเกิด นั้นอาจพบได้ประมาณร้อยละ 5 ซึ่งความผิดปกติแต่แรกเกิดจากภาวะเบาหวานนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของโครโมโซม แต่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปจะทำให้มีความผิดปกติของการออกซิเดชั่นภายในเซลจนเกิดกระบวนการเสื่อมภายในเซล

การที่สตรีเบาหวานมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกตินั้น นอกจากจะทำให้มีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ทั้งต่อมารดาและทารกแล้ว มันยังจะส่งผลเสียต่อทารกในอนาคตอีกด้วย เช่น ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคอ้วนได้ง่าย และมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานได้มากขึ้นดังนั้นในสตรีที่เป็นเบาหวาน แล้วเกิดการตั้งครรภ์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองให้อยู่ในระดับปกติ สตรีหลังคลอดก็ยังต้องตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดต่อๆ ไป ส่วนในทารกที่คลอดออกมาจากมารดาที่เป็นเบาหวานนั้น ก็มีความเสี่ยงของภาวะหลังคลอดได้หลายๆ อย่าง เช่น การหายใจผิดปกติ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซียมต่ำ ภาวะตัวเหลือง หัวใจโตและในระยะของการเจริญเติบโตของเด็กกลุ่มนี้ก็ต้องคอยเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคอ้วนได้ง่าย และมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานด้วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 11/04/2022

Author doctor

Dr. Viriya Lekprasert

img

Specialty

Obstetrician and Gynecologist

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us

Other package