• banner

การปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ สิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกๆ คือ การดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และจิตใจที่สมบูรณ์ เพื่อให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพดีและแข็งแรง ซึ่งขั้นตอนของการดูแลครรภ์ต้องรีบฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะให้ทราบภาวะต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อาการต่างๆ และโรคที่พบในขณะตั้งครรภ์

การฝากครรภ์ครั้งแรก
1. ชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารก
2. วัดส่วนสูง หญิงตั้งครรภ์ที่ส่วนสูงน้อยกว่า 145 ซม.อาจคลอดยาก เพราะอุ้งเชิงกรานแคบ
3. การซักประวัติ ประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ทราบความเสี่ยงต่างๆ
4. การตรวจร่างกาย การตรวจภายใน ตรวจเต้านม
5. ตรวจเลือด
    • ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
    • หมู่เลือด
    • ตรวจกรองความเสี่ยงโรคธาลัสซีเมีย
    • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี เชื้อซิฟิลิส

การฝากครรภ์ตามอายุครรภ์
1. ชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารก
2. ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณน้ำตาล และไข่ขาวในปัสสาวะ
3. การตรวจอัลตราซาวด์
4. ตรวจเลือด ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
ตรวจกรองความเสี่ยงเบาหวาน
5. การฉีดวัคซีน ป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก ไอกรน และไข้หวัดใหญ่ ตามช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสม

การปฏิบัติตนในระยะตั้งครรภ์
• อาหาร 
    - โปรตีนจากเนื้อสัตว์ทุกประเภท ชนิดติดมันน้อยหรือไม่ติดมัน รวมทั้งไข่และถั่วต่างๆ 
    - หลีกเลี่ยงการรับประทานปลาทะเลน้ำลึก
    - แคลเซียมจากอาหารประเภทนม แนะนำให้ดื่มนมสดแท้อย่างน้อยวันละ 500 ซีซี
    - วิตามินและเกลือแร่จากผักและผลไม้
    - แป้ง น้ำตาล และไขมัน อาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้รับประทานในปริมาณพอดีไม่ควรมากเกินไป
    - งดดื่มเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากอาจทำให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์ได้
    - งดกาแฟและเครื่องดื่มชูกำลัง หรือลดให้น้อยลง และปริมาณคาเฟอีนไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน
    - ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
• การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายเช่นเดิมที่เคยปฏิบัติ แต่ไม่หักโหม หรือใช้แรงมากเกินไป และระมัดระวังอุบัติเหตุ
• การพักผ่อน นอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เวลากลางวันควรหาเวลาพักผ่อนประมาณวันละ 1 ชั่วโมง โดยนอนราบและเอาหมอนรองบริเวณเท้า เพื่อให้เลือดไหลกลับได้ดี เท้าไม่บวม เส้นเลือดขอดน้อยลง
• การรักษาความสะอาดร่างกายทั่วไป สวมเสื้อผ้าที่สะอาด ใส่สบาย ใช้เสื้อชั้นในที่พอดีกับขนาดเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้น สวมรองเท้าส้นเตี้ย
• เพศสัมพันธ์ สามารถมีได้ตามปกติ ยกเว้น 4 สัปดาห์สุดท้ายก่อนกำหนดคลอด และในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแท้ง ภาวะแท้งคุกคาม มีเลือดออก มีภาวะรกเกาะต่ำ มีอาการเจ็บครรภ์ มีน้ำเดิน
• นับลูกดิ้น เมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 18 สัปดาห์ขึ้นไป จะรู้สึกว่าทารกดิ้น แนะนำให้เริ่มนับลูกดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ถ้าไม่ดิ้นภายใน 1 ชั่วโมง หรือดิ้นน้อยลงกว่า 3 ครั้ง ติดกัน 2 ชั่วโมง ควรมาพบแพทย์

ข้อควรระวัง
• ไม่ควรเดินทางไกลในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์
• ไม่ควรซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

อาการที่อาจพบในระยะตั้งครรภ์
• แพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน จะมีได้ขณะท้องอ่อนๆ อาการต่างๆ จะดีขึ้น แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นๆ ตอนตื่นนอน ระยะแพ้ท้องควรรับประทานอาหารพวกขนมปังกรอบ อาหารที่ย่อยง่ายๆ น้ำหวาน งดน้ำอัดลม ของทอดที่มีน้ำมันมาก ควรรับประทานอาหารน้อยๆ บ่อยๆ ครั้ง เมื่อหายแพ้ท้องแล้วจึงเพิ่มโปรตีน ผักและผลไม้
• ระดูขาว อาจมีเพิ่มขึ้นในระยะตั้งครรภ์ ถ้ามีอาการคันหรือมีกลิ่นผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
• ท้องผูก แก้ไขโดยการออกกำลังกายให้เพียงพอ ดื่มน้ำ รับประทานผัก ผลไม้มากๆ
• ปัสสาวะบ่อย เกิดจากมดลูกที่โตขึ้นไปกดกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้ามีอาการปัสสาวะขัด มีไข้ หนาวสั่น

ควรปรึกษาแพทย์
• เส้นเลือดดำขอดโป่งพอง ปกติไม่มีอันตรายจะหายไปเองหลังคลอด แต่ถ้ามีอาการปวด ควรปรึกษาแพทย์
• ท้องลาย คันบริเวณหน้าท้อง พยายามอย่าเกา ควรใช้น้ำมันมะกอก หรือครีมทาท้อง

อาการเจ็บครรภ์เตือนและเจ็บครรภ์จริง
• อาการเจ็บครรภ์เตือน เริ่มในระยะ 3-4 สัปดาห์ก่อนคลอด เนื่องจากการบีบรัดตัวของมดลูก ทำให้มีอาการเจ็บครรภ์ โดยเฉพาะท้องน้อยส่วนล่าง เจ็บไม่เป็นเวลา และไม่สม่ำเสมอ
• อาการเจ็บครรภ์จริง เจ็บหน้าท้องเป็นพักๆ แต่ละครั้งนาน เจ็บถี่ และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ปวดร้าวไปด้านหลัง ยิ่งเดินจะยิ่งเจ็บมากขึ้น และอาจมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีน้ำเดิน

อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
• มีเลือดออก ไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม
• ชัก
• ไข้สูง
• แพ้ท้องมากกว่าปกติ
• มีน้ำออกทางช่องคลอด
• เด็กดิ้นน้อยลง โดยเฉพาะหลังตั้งครรภ์ได้ 8 เดือน
• บวมบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า และใบหน้า
• ปวดศีรษะมากหรือตาพร่ามัว
• เหนื่อยมาก
• ปัสสาวะขัด
• ปวดท้องมาก

การเตรียมของใช้ก่อนคลอด
• ของใช้ส่วนตัว เช่น ยาประจำ ผ้าอนามัย
• ชุดเสื้อผ้าของคุณแม่ 1 ชุด สำหรับใส่กลับบ้าน
•  ชุดเสื้อผ้าลูก 1 ชุด หมวก ถุงมือ ถุงเท้า สำหรับใส่กลับบ้าน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 02/12/2024

Author doctor

Dr. Pimon Kongprayoon

img

Specialty

Meternal Fetal Medicine

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us

Other package