ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) โรคฮิตวัยทำงาน
สำหรับคนวัยทำงานหลายคนอาจกำลังตกอยู่ในภาวะ “ออฟฟิศซินโดรม” (office syndrome) ซึ่งนับวันมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจากพฤติกรรมนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยแทบจะไม่มีการขยับตัวปรับเปลี่ยนอิริยาบถใดๆ โดยในวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับโรคออฟฟิศซินโดรมว่าคืออะไร แล้วอาการปวดแบบไหนเสี่ยงเป็นโรคนี้บ้าง ตามไปดูเรื่องราวของโรคฮิตคนวัยทำงานกันได้เลย
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่เกิดขึ้นจากการทำงานในออฟฟิศโดยมีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะการนั่ง จึงทำให้กล้ามเนื้อมีอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้ ส่งผลต่อการเกิดอาการปวดได้หลายจุด เช่น บ่า คอ ไหล่ หรือหลัง ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
ปวดแบบไหนเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม
• ปวดหัวเรื้อรัง อาจปวดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ซึ่งเกิดจากการใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน เช่น ใช้สายตาจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ หรือการอ่านเอกสาร และจากความเครียดในการทำงาน
• ปวดตึงต้นคอ บ่า ไหล่อยู่บ่อยๆ มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย จะมีอาการปวดล้าๆ มักเกิดจากการนั่งห่อตัว ยื่นคาง ห่อไหล่
• ปวดหลัง สาเหตุเกิดจากการที่เรานั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆทั้งวัน มักเกิดจากการนั่งไม่เหมาะสม นั่งไม่พิงพนักด้านหลัง หรือเป็นงานที่ต้องยืนนานๆ
• ปวดแขน มือชา นิ้วล็อค เกิดจากการพิมพ์เอกสาร หรือใช้เมาส์ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือใช้มือกดทำงานบนมือถือหลายชั่วโมง ทำให้ข้อนิ้วมื้อและข้อมือต้องรับภาระอย่างหนัก นำมาซึ่งการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ รวมถึงเส้นประสาทและเนื้อเยื่อโดยรอบ
• ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการเหล่านี้เกิดจากการนั่งทำงานนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับ และส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกตึง และ/หรือไปหนีบโดนเส้นประสาท
การรักษาออฟฟิศซินโดรม
การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถรักษาได้หลายวิธี โดยเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดนั่นคือ การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปรับท่าทางการทำงานให้เหมาะสม การรักษาด้วยยา แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ เช่น คลื่นความร้อนลึก ความร้อนตื้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความแรงสูง (PMS) Laser พลังงานสูง คลื่นกระแทก (Shock Wave) การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อเพื่อรักษาอาการปวด หรือการรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การลงเข็ม เป็นต้น ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมควรมาปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อให้แพทย์ได้รักษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล
อาการออฟฟิศซินโดรมสามารถหลีกเลี่ยงได้ไม่ยาก เพียงแค่ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดี พักสายตาบ้าง จัดตำแหน่งการนั่งทำงานให้เหมาะสม หรือลุกจากที่นั่งเพื่อขยับร่างกาย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็ห่างไกลจากอาการออฟฟิศซินโดรมได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่เกิดขึ้นจากการทำงานในออฟฟิศโดยมีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะการนั่ง จึงทำให้กล้ามเนื้อมีอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้ ส่งผลต่อการเกิดอาการปวดได้หลายจุด เช่น บ่า คอ ไหล่ หรือหลัง ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
ปวดแบบไหนเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม
• ปวดหัวเรื้อรัง อาจปวดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ซึ่งเกิดจากการใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน เช่น ใช้สายตาจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ หรือการอ่านเอกสาร และจากความเครียดในการทำงาน
• ปวดตึงต้นคอ บ่า ไหล่อยู่บ่อยๆ มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย จะมีอาการปวดล้าๆ มักเกิดจากการนั่งห่อตัว ยื่นคาง ห่อไหล่
• ปวดหลัง สาเหตุเกิดจากการที่เรานั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆทั้งวัน มักเกิดจากการนั่งไม่เหมาะสม นั่งไม่พิงพนักด้านหลัง หรือเป็นงานที่ต้องยืนนานๆ
• ปวดแขน มือชา นิ้วล็อค เกิดจากการพิมพ์เอกสาร หรือใช้เมาส์ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือใช้มือกดทำงานบนมือถือหลายชั่วโมง ทำให้ข้อนิ้วมื้อและข้อมือต้องรับภาระอย่างหนัก นำมาซึ่งการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ รวมถึงเส้นประสาทและเนื้อเยื่อโดยรอบ
• ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการเหล่านี้เกิดจากการนั่งทำงานนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับ และส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกตึง และ/หรือไปหนีบโดนเส้นประสาท
การรักษาออฟฟิศซินโดรม
การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถรักษาได้หลายวิธี โดยเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดนั่นคือ การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปรับท่าทางการทำงานให้เหมาะสม การรักษาด้วยยา แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ เช่น คลื่นความร้อนลึก ความร้อนตื้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความแรงสูง (PMS) Laser พลังงานสูง คลื่นกระแทก (Shock Wave) การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อเพื่อรักษาอาการปวด หรือการรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การลงเข็ม เป็นต้น ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมควรมาปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อให้แพทย์ได้รักษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล
อาการออฟฟิศซินโดรมสามารถหลีกเลี่ยงได้ไม่ยาก เพียงแค่ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดี พักสายตาบ้าง จัดตำแหน่งการนั่งทำงานให้เหมาะสม หรือลุกจากที่นั่งเพื่อขยับร่างกาย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็ห่างไกลจากอาการออฟฟิศซินโดรมได้
ดาวน์โหลดโบรชัวร์ออฟฟิศซินโดรม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Rehabilitation Center
Publish date desc: 02/05/2021
Author doctor
Dr. Sudlah Prichanond
Specialty
Rehabilitation Medicine