เมื่อความสุขทางใจหายไป จะปรึกษาใครดี?
เมื่อใดที่ใจเจ็บจนไปต่อไม่ไหว ไม่ว่าจะด้วยเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต ความกดดัน ความเครียดจากเรื่องต่างๆ รอบตัว จิตแพทย์เป็นอีกหนึ่งคนสำคัญที่จะมีส่วนช่วยให้เราเข้าใจปัญหาทางใจที่เราไม่สามารถแก้ไขหาทางออกที่เหมาะสมได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับจิตแพทย์ให้ดียิ่งขึ้นกันนะคะ
จิตแพทย์ คือ แพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งให้การตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้มีปัญหาสุขภาพจิตที่ร่างกายยังไม่มีความผิดปกติ และผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช หรือโรคที่มีความผิดปกติของสมอง
เนื่องจากความแตกต่างในรายละเอียดของวิธีการตรวจ ประเมิน และการรักษาผู้ป่วยแต่ละช่วงวัย สามารถแบ่งเป็นประเภทของจิตแพทย์ได้ดังนี้
1.จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น
2.จิตแพทย์ทั่วไป มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่จนถึงผู้สูงอายุ
ลักษณะการทำงานของจิตแพทย์
เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช มักเป็นอาการที่มีความเป็นนามธรรม เช่น อารมณ์ ความคิดที่ผิดปกติ ดังนั้นวิธีการตรวจของจิตแพทย์จึงมักต้องอาศัยการถามประวัติและการตรวจสภาพจิตเป็นสำคัญ แต่ก็อาจมีบางโรคบางภาวะที่ร่างกายมีความผิดปกติแล้วเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางจิตเวชได้ ซึ่งในกรณีนี้จิตแพทย์จะตรวจร่างกายและส่งตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
บางกรณีที่ข้อมูลจากการถามประวัติและตรวจสภาพจิตยังไม่เพียงพอที่จะให้การวินิจฉัย จิตแพทย์อาจส่งปรึกษานักจิตวิทยาคลินิก เพื่อทำการตรวจด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยาเพิ่มเติมด้วย
การให้การรักษาของจิตแพทย์
การรักษาทางจิตใจและสังคม มักจำเป็นในรายที่พบว่าปัจจัยด้านจิตใจและหรือสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยเป็นสาเหตุสำคัญของความเจ็บป่วย จิตแพทย์รวมถึงทีมเฉพาะทางด้านอื่น เช่น นักบำบัด จะให้การบำบัดรักษาทางด้านจิตใจ เช่น การให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัดชนิดต่าง ๆ
ปัญหาหรืออาการแบบใดที่ควรปรึกษาจิตแพทย์
โดยอาการทั้งหมดดังกล่าว ส่งผลกระทบชัดเจนต่อการดำเนินชีวิตตามปกติของผู้ป่วย ก็ควรปรึกษาจิตแพทย์
กรณีที่ยังไม่สามารถพบจิตแพทย์ได้ และควรเข้ารับการดูแลที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลโดยด่วน ได้แก่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
จิตแพทย์ คือ แพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งให้การตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้มีปัญหาสุขภาพจิตที่ร่างกายยังไม่มีความผิดปกติ และผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช หรือโรคที่มีความผิดปกติของสมอง
เนื่องจากความแตกต่างในรายละเอียดของวิธีการตรวจ ประเมิน และการรักษาผู้ป่วยแต่ละช่วงวัย สามารถแบ่งเป็นประเภทของจิตแพทย์ได้ดังนี้
1.จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น
2.จิตแพทย์ทั่วไป มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่จนถึงผู้สูงอายุ
ลักษณะการทำงานของจิตแพทย์
เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช มักเป็นอาการที่มีความเป็นนามธรรม เช่น อารมณ์ ความคิดที่ผิดปกติ ดังนั้นวิธีการตรวจของจิตแพทย์จึงมักต้องอาศัยการถามประวัติและการตรวจสภาพจิตเป็นสำคัญ แต่ก็อาจมีบางโรคบางภาวะที่ร่างกายมีความผิดปกติแล้วเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางจิตเวชได้ ซึ่งในกรณีนี้จิตแพทย์จะตรวจร่างกายและส่งตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
บางกรณีที่ข้อมูลจากการถามประวัติและตรวจสภาพจิตยังไม่เพียงพอที่จะให้การวินิจฉัย จิตแพทย์อาจส่งปรึกษานักจิตวิทยาคลินิก เพื่อทำการตรวจด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยาเพิ่มเติมด้วย
การให้การรักษาของจิตแพทย์
- เมื่อตรวจ ประเมิน และให้การวินิจฉัยแล้ว จิตแพทย์จะวางแผนการดูแลรักษาให้กับผู้ป่วยเป็นการเฉพาะราย ตามน้ำหนักสาเหตุของปัญหา
- กรณีอาการของผู้ป่วยมีความเร่งด่วน เช่น ผู้ป่วยมีความคิดหรือพยายามทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย จิตแพทย์จะพิจารณารับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
- กรณีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชที่สามารถให้การรักษาทางร่างกายได้ จิตแพทย์จะให้การรักษาด้วยการให้ยา การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า หรือกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น
การรักษาทางจิตใจและสังคม มักจำเป็นในรายที่พบว่าปัจจัยด้านจิตใจและหรือสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยเป็นสาเหตุสำคัญของความเจ็บป่วย จิตแพทย์รวมถึงทีมเฉพาะทางด้านอื่น เช่น นักบำบัด จะให้การบำบัดรักษาทางด้านจิตใจ เช่น การให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัดชนิดต่าง ๆ
ปัญหาหรืออาการแบบใดที่ควรปรึกษาจิตแพทย์
- อาการเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น ซึมเศร้าผิดปกติ หงุดหงิดมากผิดปกติ รู้สึกเครียดรุนแรงหรือตลอดเวลา
- อาการเกี่ยวกับความคิดผิดปกติ เช่น หลงลืมผิดปกติ ย้ำคิดย้ำทำ หลงผิด หวาดระแวง
- อาการเกี่ยวกับพฤติกรรมผิดปกติ เช่น แยกตัวจากสังคม ขาดการดูแลสุขลักษณะของตนเอง การกินการนอนผิดปกติไปจากเดิมมาก
โดยอาการทั้งหมดดังกล่าว ส่งผลกระทบชัดเจนต่อการดำเนินชีวิตตามปกติของผู้ป่วย ก็ควรปรึกษาจิตแพทย์
กรณีที่ยังไม่สามารถพบจิตแพทย์ได้ และควรเข้ารับการดูแลที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลโดยด่วน ได้แก่
- มีความคิดตั้งใจทำร้ายตนเองหรือพยายามทำร้ายตนเอง
- มีความคิดหรือมีพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่นหรือทรัพย์สิน
- มีอาการหลงผิดและหรือประสาทหลอนที่ส่งผลกระทบรุนแรง ยากที่จะควบคุมตนเองได้
- ดื่มสุราหรือเสพยาเสพติดเกินขนาด
- อาการวิตกกังวลอย่างรุนแรง หรืออาการแพนิค
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Mental Health Center
Publish date desc: 09/07/2024
Author doctor
Dr. Jumpol Tanthaopas
Specialty
Psychiatrist