ยาที่ใช้ในระหว่างตั้งครรภ์
ระยะเวลาการตั้งครรภ์ที่ครบกำหนดนั้นคือ 10 เดือน หรือ 40 สัปดาห์ มีบวกลบกันสักสองสัปดาห์ครับ และในระยะสิบเดือนที่ว่านี้จะแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส เฉลี่ยแล้วก็ไตรมาสละประมาณ 3 เดือน ในสามเดือนแรกนี้แหละครับ ที่สำคัญมาก ๆ เพราะมันเป็นระยะที่มีการก่อร่างสร้างอวัยวะต่าง ๆ หากมีสิ่งใดที่มากระทบกระเทือนโอกาสเกิดความผิดปกติก็จะสูงที่สุด เรามาเริ่มกันที่ตรงจุดนี้ก่อนครับ
ในระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ยาที่ใช้ได้จะมีจำกัดมาก ๆ โดยภาพรวมแล้วหากจำเป็นต้องใช้ยาใด ๆ ขอแนะนำให้ปรึกษา เภสัชกร คุณพยาบาล หรือแพทย์ก่อนทุก ๆ ครั้งจะดีกว่าครับ
ในระยะนี้ยาสำหรับอาการทั่ว ๆ ไปอย่าง “ ยาแก้ปวด ” นั้น ก็คงใช้ได้เพียงอย่างเดียวครับ คือ “ พาราเซตตามอล ” ( หรือในบางครั้งก็อาจจะได้ยินในชื่อ ไทลินอล อะเซตตามิโนเฟน ) แต่หากใครมีประวัติแพ้ยาพาราเซตตามอล ก็จะใช้ไม่ได้นะครับ คือถ้ามีอาการไข้ ปวดต่าง ๆ นานา ก็ทานเพื่อบรรเทาอาการไปก่อนได้เลย อย่างปลอดภัย “ ตามขนาดที่กำหนด ”
คำว่าตามขนาดที่กำหนดนั้น ขอให้จำอันใหม่ไปเลยครับว่า ควรทานในขนาดเม็ดละ 650 มิลลิกรัม และทานซ้ำได้ทุก 8 ชั่วโมงหากว่ายังมีอาการไข้หรืออาการปวดอยู่ การทานในปริมาณที่มากกว่านี้เช่นในสมัยก่อนที่ให้ทาน 1,000 มิลลิกรัมและซ้ำได้ทุก 4 – 6 ชั่วโมงนั้น ไม่แนะนำแล้วนะครับ เพราะมันมีผลต่อการทำงานของตับมากเกินไป มันจะเกิดผลเสียกับตับครับ
ในระหว่างตั้งครรภ์สามเดือนแรกนั้น หากมีอาการคัดจมูกหรือมีน้ำมูกมาก ยาแก้คัดจมูก ลดน้ำมูก ที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยก็คงมีเพียง “ คลอเฟนนิรามีน ” ครับ ยาตัวอื่นที่เคยใช้ทานในกรณีที่มีอาการภูมิแพ้ทั้งหลายแหล่ เช่น Zyrtec คงต้องงดไว้ก่อน
ในระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์นี้ อาจมีอาการของติดเชื้อทางเดินหายใจร่วม ๆ กันหลายอย่าง เช่น ไข้ คัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บในคอ ไอโดยอาจจะไอแบบแห้ง ๆ หรือไอแบบมีเสมหะก็ได้ ในส่วนของอาการไข้ คัดจมูก มีน้ำมูกก็ทานยา พาราเซตตามอล คลอเฟนนิรามีน ดังกล่าว เพื่อช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ครับ
หากมีอาการเจ็บในคอก็ควรมาตรวจพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจดูภายในลำคอว่ามีลักษณะของการติดเชื้ออักเสบหรือไม่ เพราะหากมีลักษณะตรวจพบดังกล่าว ก็จะได้พิจารณาเรื่องการทานยาปฏิชีวนะ ส่วนอาการไอนั้นหากมีอาการไอแบบแห้ง ๆ ก็อาจทานยาแก้ไอบางตัวได้ เพราะหากปล่อยให้ไอนาน ๆ เรื้อรัง หรือไอแรงมาก ๆ ก็จะส่งผลกระทบถึงภาวะครรภ์แน่นอน โดยเฉพาะในระยะสามเดือนแรกนี้ภาวะครรภ์จะยังอ่อนแอ ไม่แข็งแรงเอามาก ๆ เสี่ยงต่อการแท้งได้
ยาแก้ไอแบบแห้ง ๆ กลุ่มที่ใช้ได้ในระหว่างตั้งครรภ์คือ กลุ่ม เด๊กซโตร เมโทรฟาน หรือชื่อการค้ายี่ห้อหนึ่งว่า ROMILAR แต่ต้องดูให้ดีดีนะครับว่าเป็นชื่อ romilar เท่านั้น เพราะถ้ามีอักษรอะไรห้อยท้ายด้วย นั่นอาจผสมยาหรือสารเคมีอื่นเพิ่มเติม ซึ่งอาจจทำให้ใช้ไม่ได้ในระหว่างตั้งครรภ์ วิธีสังเกตง่ายที่สุดคือ ขอให้ตัวยานั้นมีแต่ เด๊กซโตร เมโทรฟาน เท่านั้นครับ
แต่หากไม่อยากใช้ยาใด ๆ เลยก็ “ น้ำเปล่า ” นี่แหละครับ ดีที่สุด คือพอเริ่มรู้สึกระคาย คัน คอ จะไอปุ๊ป ก็ดื่มน้ำปั๊ป มันช่วยได้แน่นอนครับ เพราะกลไกการไอ “ ส่วนหนึ่ง ” คือมีการระคายเคืองในลำคอ การระคายเคืองนั้นอาจเกิดจากภาวะการขาดสารน้ำของเนื้อเยื่อในบริเวณดังกล่าว ร่างกายคนเราขาดน้ำได้มากกว่าปกติ ทั้งจากภาวะไข้ หายใจเร็ว เหงื่อระเหยออกจากผิวหนังมาก ๆ ก็ได้นะครับ
หากอาการไอดังกล่าวมีเสมหะร่วมด้วย ก็อาจทานยาละลายเสมหะช่วย เพราะหากเสมหะใสดีการไอก็จะลดลงได้ ยาละลายเสมหะ ที่ใช้ได้ในระหว่างตั้งครรภ์มี 2 อย่าง ได้แก่ Acetylcysteine และ Bromhexine และเช่นเดียวกับการลดอาการไอด้วยวิธีธรรมชาติ หากไม่อยากทานยาครับ ก็คือ “ น้ำเปล่า ” จะช่วยเสมหะใสขึ้นได้
ในกรณีที่มีอาการเจ็บคอร่วมด้วยสามสี่วันแล้วก็ไม่หายสักที ก็ควรมาตรวจพบแพทย์ดังที่ได้กล่าวไปแล้วครับ หากแพทย์ตรวจพบว่ามีอาการของการอักเสบของบริเวณลำคอ ก็อาจพิจารณาจ่ายยาปฏิชีวนะให้รับประทาน
สำหรับการตั้งครรภ์ในสามเดือนแรก ยาปฏิชีวนะ ที่จะใช้ได้ก็มีจำนวนจำกัดมาก ๆ เพราะยาหลายชนิดจะมีผลต่อการเจริญและพัฒนาการของตัวอ่อน ยาปฏิชีวนะกลุ่ม penicillin เป็นยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์ แม้ในระยะสามเดือนแรกก็ใช้ได้ ( แต่คุณต้องไม่มีประวัติแพ้ยาดังกล่าวนะครับ ) ยาชนิดนี้ใช้ได้ทั้งการอักเสบติดเชื้อทางเดินหายใจ ช่องปาก ทางช่องหู ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางช่องคลอด และทางผิวหนัง ฯลฯ อีกมากมาย แม้ว่าในส่วนอื่นที่มิใช่ทางเดินหายใจอาจจะมีประสิทธิภาพไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าปลอดภัยในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์สามเดือนแรก หากมีประวัติแพ้ยา penicillin ก็มียากลุ่มถัดไปให้เลือกใช้แทน penicillin ครับ
โดยสรุป จากที่เราคุยกันมาบ้างแล้วนั้น หากมีอาการปวดหัว ตัวร้อน เป็นหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกไหล เจ็บคอ ยาที่เลือกทานได้อย่างปลอดภัยในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ และตลอดการตั้งครรภ์ก็คือ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ในระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ยาที่ใช้ได้จะมีจำกัดมาก ๆ โดยภาพรวมแล้วหากจำเป็นต้องใช้ยาใด ๆ ขอแนะนำให้ปรึกษา เภสัชกร คุณพยาบาล หรือแพทย์ก่อนทุก ๆ ครั้งจะดีกว่าครับ
ในระยะนี้ยาสำหรับอาการทั่ว ๆ ไปอย่าง “ ยาแก้ปวด ” นั้น ก็คงใช้ได้เพียงอย่างเดียวครับ คือ “ พาราเซตตามอล ” ( หรือในบางครั้งก็อาจจะได้ยินในชื่อ ไทลินอล อะเซตตามิโนเฟน ) แต่หากใครมีประวัติแพ้ยาพาราเซตตามอล ก็จะใช้ไม่ได้นะครับ คือถ้ามีอาการไข้ ปวดต่าง ๆ นานา ก็ทานเพื่อบรรเทาอาการไปก่อนได้เลย อย่างปลอดภัย “ ตามขนาดที่กำหนด ”
คำว่าตามขนาดที่กำหนดนั้น ขอให้จำอันใหม่ไปเลยครับว่า ควรทานในขนาดเม็ดละ 650 มิลลิกรัม และทานซ้ำได้ทุก 8 ชั่วโมงหากว่ายังมีอาการไข้หรืออาการปวดอยู่ การทานในปริมาณที่มากกว่านี้เช่นในสมัยก่อนที่ให้ทาน 1,000 มิลลิกรัมและซ้ำได้ทุก 4 – 6 ชั่วโมงนั้น ไม่แนะนำแล้วนะครับ เพราะมันมีผลต่อการทำงานของตับมากเกินไป มันจะเกิดผลเสียกับตับครับ
ในระหว่างตั้งครรภ์สามเดือนแรกนั้น หากมีอาการคัดจมูกหรือมีน้ำมูกมาก ยาแก้คัดจมูก ลดน้ำมูก ที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยก็คงมีเพียง “ คลอเฟนนิรามีน ” ครับ ยาตัวอื่นที่เคยใช้ทานในกรณีที่มีอาการภูมิแพ้ทั้งหลายแหล่ เช่น Zyrtec คงต้องงดไว้ก่อน
ในระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์นี้ อาจมีอาการของติดเชื้อทางเดินหายใจร่วม ๆ กันหลายอย่าง เช่น ไข้ คัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บในคอ ไอโดยอาจจะไอแบบแห้ง ๆ หรือไอแบบมีเสมหะก็ได้ ในส่วนของอาการไข้ คัดจมูก มีน้ำมูกก็ทานยา พาราเซตตามอล คลอเฟนนิรามีน ดังกล่าว เพื่อช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ครับ
หากมีอาการเจ็บในคอก็ควรมาตรวจพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจดูภายในลำคอว่ามีลักษณะของการติดเชื้ออักเสบหรือไม่ เพราะหากมีลักษณะตรวจพบดังกล่าว ก็จะได้พิจารณาเรื่องการทานยาปฏิชีวนะ ส่วนอาการไอนั้นหากมีอาการไอแบบแห้ง ๆ ก็อาจทานยาแก้ไอบางตัวได้ เพราะหากปล่อยให้ไอนาน ๆ เรื้อรัง หรือไอแรงมาก ๆ ก็จะส่งผลกระทบถึงภาวะครรภ์แน่นอน โดยเฉพาะในระยะสามเดือนแรกนี้ภาวะครรภ์จะยังอ่อนแอ ไม่แข็งแรงเอามาก ๆ เสี่ยงต่อการแท้งได้
ยาแก้ไอแบบแห้ง ๆ กลุ่มที่ใช้ได้ในระหว่างตั้งครรภ์คือ กลุ่ม เด๊กซโตร เมโทรฟาน หรือชื่อการค้ายี่ห้อหนึ่งว่า ROMILAR แต่ต้องดูให้ดีดีนะครับว่าเป็นชื่อ romilar เท่านั้น เพราะถ้ามีอักษรอะไรห้อยท้ายด้วย นั่นอาจผสมยาหรือสารเคมีอื่นเพิ่มเติม ซึ่งอาจจทำให้ใช้ไม่ได้ในระหว่างตั้งครรภ์ วิธีสังเกตง่ายที่สุดคือ ขอให้ตัวยานั้นมีแต่ เด๊กซโตร เมโทรฟาน เท่านั้นครับ
แต่หากไม่อยากใช้ยาใด ๆ เลยก็ “ น้ำเปล่า ” นี่แหละครับ ดีที่สุด คือพอเริ่มรู้สึกระคาย คัน คอ จะไอปุ๊ป ก็ดื่มน้ำปั๊ป มันช่วยได้แน่นอนครับ เพราะกลไกการไอ “ ส่วนหนึ่ง ” คือมีการระคายเคืองในลำคอ การระคายเคืองนั้นอาจเกิดจากภาวะการขาดสารน้ำของเนื้อเยื่อในบริเวณดังกล่าว ร่างกายคนเราขาดน้ำได้มากกว่าปกติ ทั้งจากภาวะไข้ หายใจเร็ว เหงื่อระเหยออกจากผิวหนังมาก ๆ ก็ได้นะครับ
หากอาการไอดังกล่าวมีเสมหะร่วมด้วย ก็อาจทานยาละลายเสมหะช่วย เพราะหากเสมหะใสดีการไอก็จะลดลงได้ ยาละลายเสมหะ ที่ใช้ได้ในระหว่างตั้งครรภ์มี 2 อย่าง ได้แก่ Acetylcysteine และ Bromhexine และเช่นเดียวกับการลดอาการไอด้วยวิธีธรรมชาติ หากไม่อยากทานยาครับ ก็คือ “ น้ำเปล่า ” จะช่วยเสมหะใสขึ้นได้
ในกรณีที่มีอาการเจ็บคอร่วมด้วยสามสี่วันแล้วก็ไม่หายสักที ก็ควรมาตรวจพบแพทย์ดังที่ได้กล่าวไปแล้วครับ หากแพทย์ตรวจพบว่ามีอาการของการอักเสบของบริเวณลำคอ ก็อาจพิจารณาจ่ายยาปฏิชีวนะให้รับประทาน
สำหรับการตั้งครรภ์ในสามเดือนแรก ยาปฏิชีวนะ ที่จะใช้ได้ก็มีจำนวนจำกัดมาก ๆ เพราะยาหลายชนิดจะมีผลต่อการเจริญและพัฒนาการของตัวอ่อน ยาปฏิชีวนะกลุ่ม penicillin เป็นยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์ แม้ในระยะสามเดือนแรกก็ใช้ได้ ( แต่คุณต้องไม่มีประวัติแพ้ยาดังกล่าวนะครับ ) ยาชนิดนี้ใช้ได้ทั้งการอักเสบติดเชื้อทางเดินหายใจ ช่องปาก ทางช่องหู ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางช่องคลอด และทางผิวหนัง ฯลฯ อีกมากมาย แม้ว่าในส่วนอื่นที่มิใช่ทางเดินหายใจอาจจะมีประสิทธิภาพไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าปลอดภัยในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์สามเดือนแรก หากมีประวัติแพ้ยา penicillin ก็มียากลุ่มถัดไปให้เลือกใช้แทน penicillin ครับ
โดยสรุป จากที่เราคุยกันมาบ้างแล้วนั้น หากมีอาการปวดหัว ตัวร้อน เป็นหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกไหล เจ็บคอ ยาที่เลือกทานได้อย่างปลอดภัยในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ และตลอดการตั้งครรภ์ก็คือ
- พาราเซตตามอล : แก้ปวด ลดไข้
- คลอเฟนนิรามีน : แก้คัดจมูก ลดน้ำมูก
- เด๊กซ โตรเมโทรฟาน : ยาแก้ไอ ( ไอแห้ง ๆ )
- Acetylcysteine , Bromhexine : ยาละลายเสมหะ
- เพนนิซิลลิน : ยาปฏิชีวนะสำหรับทั้งการอักเสบติดเชื้อทางเดินหายใจ ช่องปาก ทางช่องหู ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางช่องคลอด และทางผิวหนัง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 11/04/2022
Author doctor
Dr. Viriya Lekprasert
Specialty
Obstetrician and Gynecologist