มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคใกล้ตัวที่ควรรู้
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอีกหนึ่งโรคมะเร็งที่ไม่ควรมองข้าม เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของระบบต่อมน้ำเหลือง ที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดได้ เป็นมะเร็งที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในระยะแพร่กระจาย
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) คือ เนื้องอกร้ายชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งภายในต่อมน้ำเหลืองมีเม็ดเลือดขาวที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้นมา มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดได้ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น คอ รักแร้ ข้อพับแขน ข้อพับขา ช่องอกหรือช่องท้อง โดยสามารถพบได้ในกลุ่มวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 20-40 ปี
อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
คลำได้ก้อนตามที่ต่างๆ ของร่างกาย โดยตำแหน่งที่พบบ่อยคือ คอ รักแร้ หรือขาหนีบ ก้อนที่คลำได้จะมีลักษณะแข็ง กดไม่เจ็บ ต่างจากการติดเชื้อที่จะมีอาการเจ็บที่ก้อนเนื้อ มีไข้ ไอเรื้อรัง หนาวสั่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว มีเหงื่อออกมากในกลางคืน อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่บางครั้งการคลำเจอก้อนก็อาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป อาจเป็นเรื่องของการอักเสบจากการติดเชื้อ หรืออาจเป็นตัวโรคอื่นๆ
การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เริ่มต้นจากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย และจากนั้นจะพิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่
• การตัดชิ้นเนื้อ เพื่อไปตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
• การเจาะเลือดเพื่อดูผลเลือดต่างๆ
• การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( PET scan หรือ CT scan)
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด ในบางชนิดอาจจะให้ร่วมกับยาทางภูมิคุ้มกัน หรือการฉายแสง หรือบางชนิดอาจจะมีการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายตามชนิด ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค รวมถึงความพร้อมของตัวผู้ป่วยเอง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) คือ เนื้องอกร้ายชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งภายในต่อมน้ำเหลืองมีเม็ดเลือดขาวที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้นมา มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดได้ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น คอ รักแร้ ข้อพับแขน ข้อพับขา ช่องอกหรือช่องท้อง โดยสามารถพบได้ในกลุ่มวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 20-40 ปี
อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
คลำได้ก้อนตามที่ต่างๆ ของร่างกาย โดยตำแหน่งที่พบบ่อยคือ คอ รักแร้ หรือขาหนีบ ก้อนที่คลำได้จะมีลักษณะแข็ง กดไม่เจ็บ ต่างจากการติดเชื้อที่จะมีอาการเจ็บที่ก้อนเนื้อ มีไข้ ไอเรื้อรัง หนาวสั่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว มีเหงื่อออกมากในกลางคืน อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่บางครั้งการคลำเจอก้อนก็อาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป อาจเป็นเรื่องของการอักเสบจากการติดเชื้อ หรืออาจเป็นตัวโรคอื่นๆ
การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เริ่มต้นจากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย และจากนั้นจะพิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่
• การตัดชิ้นเนื้อ เพื่อไปตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
• การเจาะเลือดเพื่อดูผลเลือดต่างๆ
• การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( PET scan หรือ CT scan)
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด ในบางชนิดอาจจะให้ร่วมกับยาทางภูมิคุ้มกัน หรือการฉายแสง หรือบางชนิดอาจจะมีการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายตามชนิด ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค รวมถึงความพร้อมของตัวผู้ป่วยเอง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Chemotherapy and Hematology Center
Publish date desc: 01/01/2023
Author doctor
Dr. Piyanut Mahanupap
Specialty
Hematologist