มะเร็งปอด ภัยเงียบที่ทุกคนเป็นได้
มะเร็งปอดพบว่ามีอุบัติการณ์ของการเกิดและอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดในประเทศไทย เราจะพบว่าผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดมีมากถึง 65 รายต่อวัน และมีถึง 58 รายด้วยกันที่เสียชีวิตด้วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่มักพบว่า มากกว่า ร้อยละ 80 มักเป็นระยะลุกลามเมื่อมาพบแพทย์ เนื่องจากมะเร็งปอดระยะต้นมักไม่แสดงอาการ ปอดของคนเรามีปริมาตรเยอะ ก้อนมะเร็งขนาดเล็ก เช่น ขนาด 1 เซนติเมตร อาจไม่ถึง ร้อยละ 1 ของปริมาตรปอด ทำให้กว่าที่จะแสดงอาการมักจะเป็นระยะลุกลามหรือแพร่กระจายแล้ว
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด
สาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะ คนที่สูบบุหรี่ปริมาณมากและสูบเป็นเวลานาน คือ สูบมากกว่า 20 มวนต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 20 ปี และถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้สูบบุหรี่เอง แต่อยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่และได้สูดดมควันบุหรี่เข้าไป หรือที่เรียกกันว่า สูบบุหรี่มือสอง (second hand smoker) กลับพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนที่สูบบุหรี่เองถึง 1.24 เท่า สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ได้แก่ การทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ แร่ใยหิน และสารหนู, รวมถึงมลภาวะทางอากาศหรือ PM2.5
มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดหรือไม่
ปัจจุบันวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดที่มีการศึกษา และยืนยันว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดในกลุ่มประชากรที่ได้รับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดรังสีต่ำ (Low-dose computed tomography) ปริมาณรังสีต่ำจะทำให้เราเห็นมะเร็งได้เร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการทำภาพถ่ายเอกซเรย์ปกติ (Chest X-ray)
อาการเตือนที่สงสัยมะเร็งปอด
1) อาการไอเรื้อรัง ไอแบบแห้งหรือไอมีเสมหะปน ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 3 สัปดาห์
2) ไอมีเลือดปน การไอมีเลือดปน เกิดจากก้อนมะเร็งไปกดเบียดหรือว่าไปกินตัวหลอดเลือด
3) การที่เสียงเปลี่ยนหรือเสียงแหบมากขึ้น จากการที่ก้อนมะเร็งไปกดเบียดตัวเส้นเสียง
4) อาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือหอบเหนื่อยมากขึ้น
5) อาการเบื่ออาหารหรือน้ำหนักตัวลดลงเร็วๆโดยไม่ทราบสาเหตุ
มารู้จักมะเร็งปอดให้มากขึ้น ก่อนเริ่มการรักษา
มะเร็งปอด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (small cell lung cancer) และชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (non-small cell lung cancer) ซึ่งในกลุ่มแรก พบได้น้อยกว่า ประมาณ 10-15% ของมะเร็งปอด และมีการดำเนินโรคแย่กว่า และมักสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ สำหรับในกลุ่มหลัง พบได้มากกว่า พบมากถึง 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด และในกลุ่มหลังนี้ยังแบ่งแยกชนิดย่อย ออกเป็นชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น adenocarcinoma, squamous cell carcinoma จริงๆแล้วมะเร็งปอดมีความหลากหลายมาก ที่กล่าวไปเป็นการแบ่งกลุ่มโดยคร่าว ปัจจุบันเรามีการตรวจที่ดีขึ้น สามารถแยกชนิดมะเร็งปอดได้มีความละเอียดขึ้น ตรวจลงลึกถึงรหัสพันธุกรรม ตรวจยีนกลายพันธ์ในระดับ DNA ทั้งนี้เพื่อการใช้ยาที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อมะเร็งปอดมากขึ้น ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลข้างเคียงน้อยลง คนไข้มีอัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งปอดสูงขึ้น รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
ปัจจัยที่นำมาพิจารณาการรักษามะเร็งปอด
การรักษามะเร็งปอดมีอะไรบ้างการผ่าตัด
คือ การตัดเอาก้อนมะเร็งที่เป็นก้อนปฐมภูมิออก ถือว่าเป็นการรักษาหลักในมะเร็งระยะที่ 1-2
การฉายรังสี
คือ การกำหนดขอบเขตของตำแหน่งก้อนมะเร็ง หลังจากนั้นจะมีการฉายรังสีไปตรงบริเวณก้อนมะเร็ง ทำให้ก้อนมะเร็งฝ่อและตายลง การฉายแสงมักเป็นการรักษาร่วมกับการใช้ยา ในมะเร็งปอดระยะที่ 3 ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือใช้ในระยะลุกลาม ตำแหน่งอวัยวะที่มีมะเร็งลุกลามไป เช่น ฉายแสงบริเวณกระดูกเพื่อลดอาการปวด หรือ ฉายแสงบริเวณสมอง เพื่อควบคุมและชลออาการของโรคมะเร็งที่สมอง เป็นต้น
การรักษาด้วยยา
ซึ่งจะเป็นการรักษาหลักของมะเร็งระยะแพร่กระจาย โดยจะแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน
โทร. 0 2265 7777
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด
สาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะ คนที่สูบบุหรี่ปริมาณมากและสูบเป็นเวลานาน คือ สูบมากกว่า 20 มวนต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 20 ปี และถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้สูบบุหรี่เอง แต่อยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่และได้สูดดมควันบุหรี่เข้าไป หรือที่เรียกกันว่า สูบบุหรี่มือสอง (second hand smoker) กลับพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนที่สูบบุหรี่เองถึง 1.24 เท่า สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ได้แก่ การทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ แร่ใยหิน และสารหนู, รวมถึงมลภาวะทางอากาศหรือ PM2.5
มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดหรือไม่
ปัจจุบันวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดที่มีการศึกษา และยืนยันว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดในกลุ่มประชากรที่ได้รับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดรังสีต่ำ (Low-dose computed tomography) ปริมาณรังสีต่ำจะทำให้เราเห็นมะเร็งได้เร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการทำภาพถ่ายเอกซเรย์ปกติ (Chest X-ray)
อาการเตือนที่สงสัยมะเร็งปอด
1) อาการไอเรื้อรัง ไอแบบแห้งหรือไอมีเสมหะปน ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 3 สัปดาห์
2) ไอมีเลือดปน การไอมีเลือดปน เกิดจากก้อนมะเร็งไปกดเบียดหรือว่าไปกินตัวหลอดเลือด
3) การที่เสียงเปลี่ยนหรือเสียงแหบมากขึ้น จากการที่ก้อนมะเร็งไปกดเบียดตัวเส้นเสียง
4) อาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือหอบเหนื่อยมากขึ้น
5) อาการเบื่ออาหารหรือน้ำหนักตัวลดลงเร็วๆโดยไม่ทราบสาเหตุ
มารู้จักมะเร็งปอดให้มากขึ้น ก่อนเริ่มการรักษา
มะเร็งปอด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (small cell lung cancer) และชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (non-small cell lung cancer) ซึ่งในกลุ่มแรก พบได้น้อยกว่า ประมาณ 10-15% ของมะเร็งปอด และมีการดำเนินโรคแย่กว่า และมักสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ สำหรับในกลุ่มหลัง พบได้มากกว่า พบมากถึง 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด และในกลุ่มหลังนี้ยังแบ่งแยกชนิดย่อย ออกเป็นชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น adenocarcinoma, squamous cell carcinoma จริงๆแล้วมะเร็งปอดมีความหลากหลายมาก ที่กล่าวไปเป็นการแบ่งกลุ่มโดยคร่าว ปัจจุบันเรามีการตรวจที่ดีขึ้น สามารถแยกชนิดมะเร็งปอดได้มีความละเอียดขึ้น ตรวจลงลึกถึงรหัสพันธุกรรม ตรวจยีนกลายพันธ์ในระดับ DNA ทั้งนี้เพื่อการใช้ยาที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อมะเร็งปอดมากขึ้น ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลข้างเคียงน้อยลง คนไข้มีอัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งปอดสูงขึ้น รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
ปัจจัยที่นำมาพิจารณาการรักษามะเร็งปอด
- ชนิดของมะเร็งปอด
- ระยะของโรคมะเร็ง a. ระยะที่ 1-2 ระยะต้น ก้อนมะเร็งอยู่เฉพาะที่ปอด ขนาดไม่ใหญ่ ยังไม่มีการลุกลามไปอวัยวะข้างเคียง ใช้การรักษาโดยการผ่าตัดร่วมกับให้ยาเคมีบำบัดรักษาเสริมหลังการผ่าตัด b. ระยะที่ 3 ส่วนมากผ่าตัดไม่ได้ เริ่มมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง ใช้การรักษาโดยการฉายแสงร่วมกับการใช้ยา ทั้งเคมีบำบัดหรือภูมิคุ้มกันบำบัด c. ระยะที่ 4 หรือระยะแพร่กระจาย คือ กระจายไปอวัยวะอื่นๆ เช่น กระดูก ตับ หรือสมอง การหลักษาหลักคือการใช้ยา ทั้งเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า หรือ ภูมิคุ้มกันบำบัด
- ความแข็งแรงของร่างกาย
- โรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ก็มีผลต่อการเลือกชนิดของยาเคมีบำบัด เพราะยาเคมีบำบัดบางชนิดจะมีผลข้างเคียงเรื่องการชามือชาเท้าเพิ่มมากขึ้นได้
- อาการคนไข้ อาการที่รุนแรงมาก ที่ต้องรีบให้การรักษาเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการให้ยารักษามะเร็ง เช่น การลุกลามของมะเร็งไปกระดูก เกิดกระดูกหัก เราอาจต้องเลือกการรักษากระดูกที่หักก่อน โดยการผ่าตัด หรือ การฉายแสง ก่อนการให้การรักษาหลัก เนื่องจากการรักษาหลายอย่างควบคู่ไปพร้อมกัน อาจเกิดผลช้างเคียงได้มาก
การรักษามะเร็งปอดมีอะไรบ้างการผ่าตัด
คือ การตัดเอาก้อนมะเร็งที่เป็นก้อนปฐมภูมิออก ถือว่าเป็นการรักษาหลักในมะเร็งระยะที่ 1-2
การฉายรังสี
คือ การกำหนดขอบเขตของตำแหน่งก้อนมะเร็ง หลังจากนั้นจะมีการฉายรังสีไปตรงบริเวณก้อนมะเร็ง ทำให้ก้อนมะเร็งฝ่อและตายลง การฉายแสงมักเป็นการรักษาร่วมกับการใช้ยา ในมะเร็งปอดระยะที่ 3 ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือใช้ในระยะลุกลาม ตำแหน่งอวัยวะที่มีมะเร็งลุกลามไป เช่น ฉายแสงบริเวณกระดูกเพื่อลดอาการปวด หรือ ฉายแสงบริเวณสมอง เพื่อควบคุมและชลออาการของโรคมะเร็งที่สมอง เป็นต้น
การรักษาด้วยยา
ซึ่งจะเป็นการรักษาหลักของมะเร็งระยะแพร่กระจาย โดยจะแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน
- การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำเหมือนเวลาให้น้ำเกลือ มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ที่พบบ่อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง ชา และมีการติดเชื้อง่าย เนื่องจากยาเคมีบำบัดนั้นไปกดการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก ซึ่งทำให้เราสามารถให้ยาเคมีบำบัดอยู่ได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น พอเราหยุดการให้ยา ก้อนมะเร็งก็โตขึ้นมาอีก หรือทำให้ผู้ป่วยบางคนกลัวการให้ยาเคมีบำบัดมาก ดังนั้นประสิทธิภาพการรักษามะเร็งปอดด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว จึงได้ผลการรักษาที่ยังไม่ค่อยน่าพึงพอใจนัก รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร
- การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy) หรือ การรักษาแบบตรงจุด หมายถึง การที่เซลล์มะเร็งปอดมีการกลายพันธ์ของยีนที่มียามุ่งเป้ารักษาได้ตรงจุดกับการกลายพันธ์ของยีนนั้น ยาจะออกฤทธิ์โดยตรงกับเซลล์มะเร็งขณะเดียวกันตัวยาจะไม่มีผลทำลายเซลล์ข้างเคียงที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง ทำให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าแต่ประสิทธิภาพการรักษาดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด โดยปัจจุบันมียีนกลายพันธ์ที่มียามุ่งเป้ารักษาอยู่มากมายหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยในคนไทย โดยเฉพาะ ผู้หญิง สูงอายุ ไม่สูบบุหรี่ และ เป็นมะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma คือ ยีน EGFR (Epidermal Growth Factor Receptor) สามารถตรวจพบได้มากกว่า 50% แต่อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยอย่ามุ่งเป้าจะได้ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีเฉพาะผู้ป่วยที่มียีนกลายพันธ์หรือมีเป้าที่จำเพาะต่อยาเท่านั้น ยามุ่งเป้าเป็นยารับประทาน จึงทำอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆได้ ที่พบบ่อยและทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง เช่น โสมสกัด ถั่งเช้า และ น้ำมันกัญชา สำหรับผลข้างเคียงของยามุ่งเป้า ได้แก่ ผื่นลักษณะคล้ายสิว ผิวแห้งลอก ท้องเสีย เป็นต้น
- การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) คือ การให้ยาไปกระตุ้นประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้สามารถตรวจจับได้ว่าเซลล์ไหนผิดปกติ และสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่เลือกใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัดเพียงชนิดเดียวในการรักษา ต้องมีการตรวจย้อม PDL1 จากชิ้นเนื้อเพื่อประกอบการตัดสินใจ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ คือ การที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป ได้แก่ ต่อมไทรอยด์อักเสบ ปอดอักเสบ ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ ผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
- การรักษาแบบผสมผสาน (Combined therapy) คือการนำการรักษาทั้ง 3 วิธีที่กล่าวข้างต้นมาผสมผสานกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการตอบสนองต่อการรักษา และทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยาวนานมากขึ้น จะเห็นได้ว่า มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายขาดได้ในระยะต้น แต่ถึงแม้ว่าเป็นระยะแพร่กระจายแล้ว คนไข้ก็ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาว สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างใกล้เคียงปกติ ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เรามีเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ดีขึ้น การฉายแสงที่มีประสิทธิภาพสูง เฉพาะเจาะจง ยาก็มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ผลข้างเคียงต่ำ ทำให้การรักษามะเร็งปอดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพการรักษาที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับในอดีต สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษากับอายุรแพทย์โรคมะเร็งได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วทันเวลา เพื่อการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น อย่ากลัวที่จะเข้ามาปรึกษาแพทย์มะเร็ง ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ไม่เสียโอกาสการรักษา รักษาได้ทันท่วงที และ เข้าถึงการใช้ยาได้อย่างเหมาะสม
...เพราะ มะเร็งปอด รู้ไว รักษาได้ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แล้วทำไมต้องรอ...
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Chemotherapy and Hematology Center
Publish date desc: 09/12/2022
Author doctor
Dr. Kakanan Tienchai
Specialty
Cancer Therapist