มารู้จักโรคตาขี้เกียจกันเถอะ
การดูแลสุขภาพตาในเด็กจะมีช่วงเวลาเฉพาะที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ นั่นคือ ก่อนที่เด็กจะอายุ 8-9 ขวบ ซึ่งโรคตาในเด็กมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากโรคตาของผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรมองข้าม โรคสายตาขี้เกียจถือว่าเป็นปัญหาโรคตาในเด็กที่ควรต้องสังเกตอย่างใกล้ชิด
โรคสายตาขี้เกียจ หรือ Lazy eye คือ ภาวะการมองเห็นที่ลดลงข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง อันเกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการของการมองเห็น ถึงแม้ว่าจะใส่แว่นเพื่อแก้ไขค่าสายตาแล้วก็ไม่ดีขึ้น ตาขี้เกียจนี้เกิดขึ้นได้ในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6-7 ปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป อาจจะทำให้มีอาการตามัวอย่างถาวรได้ แต่หากได้รับการรักษาทันเวลา เด็กก็จะกลับมามองเห็นเป็นปกติได้เช่นกัน
สาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค
• ตาเหล่ ตาเข
• สายตาสองข้างไม่เท่ากัน สายตาสั้น ยาว เอียง มากเกินไป หรือไม่เท่ากันของตา 2 ข้าง
• โรคทางตาอื่น ๆ เช่น ต้อกระจกแต่กำเนิด โรคกระจกตาดำขุ่นมัว หนังตาตก
อาการของโรค
• การมองเห็นของดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างลดลง
• มีสายตาสั้น ยาว เอียงที่มากเกินไป หรือไม่เท่ากันระหว่างตา 2 ข้าง
• ดวงตาเบนเข้าด้านใน หรือออกด้านนอก
• มองภาพไม่ชัด โดยเฉพาะภาพทีมีความละเอียดสูง
• กะระยะ หรือวัดความห่างระหว่างวัตถุกับสิ่งอื่น ๆ ได้ยาก
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะตรวจตาอย่างละเอียดและวัดสายตา เพื่อตรวจว่าไม่มีสิ่งบดบังแสงที่จะส่องเข้าสู่แก้วตา ดวงตาทั้ง 2 ข้างมองเห็นและเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ หากเป็นเด็กที่มีอาการตาเหล่หรือตาเข อาจจะส่งให้จักษุแพทย์เด็ก ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการตรวจวัดภาวะตาเขหรือตาเหล่โดยเฉพาะ
การรักษาโรค
• สวมแว่นสายตา ช่วยแก้ไขปัญหาสายตาที่มีความต่างระหว่างสายตาทั้ง 2 ข้าง จะทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนและสั่งการสมองให้ทำงานประสานกับดวงตาข้างที่อ่อนแอมากขึ้น เพื่อพัฒนาสายตาทั้ง 2 ข้างให้มีการทำงานเท่ากัน
• ปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ตาข้างที่ด้อยกว่าได้มีการใช้งาน จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติเท่ากันทั้งสองข้าง
• การผ่าตัด เพื่อรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคตาขี้เกียจ เช่น ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา รักษาภาวะตาเข ผ่าตัดต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นตา หนังตาตก หลังจากนั้นค่อยฝึกและพัฒนาการมองเห็น โดยการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นให้ดวงตาอีกข้างที่ด้อยกว่าได้ถูกใช้งานบ้าง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคสายตาขี้เกียจ หรือ Lazy eye คือ ภาวะการมองเห็นที่ลดลงข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง อันเกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการของการมองเห็น ถึงแม้ว่าจะใส่แว่นเพื่อแก้ไขค่าสายตาแล้วก็ไม่ดีขึ้น ตาขี้เกียจนี้เกิดขึ้นได้ในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6-7 ปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป อาจจะทำให้มีอาการตามัวอย่างถาวรได้ แต่หากได้รับการรักษาทันเวลา เด็กก็จะกลับมามองเห็นเป็นปกติได้เช่นกัน
สาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค
• ตาเหล่ ตาเข
• สายตาสองข้างไม่เท่ากัน สายตาสั้น ยาว เอียง มากเกินไป หรือไม่เท่ากันของตา 2 ข้าง
• โรคทางตาอื่น ๆ เช่น ต้อกระจกแต่กำเนิด โรคกระจกตาดำขุ่นมัว หนังตาตก
อาการของโรค
• การมองเห็นของดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างลดลง
• มีสายตาสั้น ยาว เอียงที่มากเกินไป หรือไม่เท่ากันระหว่างตา 2 ข้าง
• ดวงตาเบนเข้าด้านใน หรือออกด้านนอก
• มองภาพไม่ชัด โดยเฉพาะภาพทีมีความละเอียดสูง
• กะระยะ หรือวัดความห่างระหว่างวัตถุกับสิ่งอื่น ๆ ได้ยาก
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะตรวจตาอย่างละเอียดและวัดสายตา เพื่อตรวจว่าไม่มีสิ่งบดบังแสงที่จะส่องเข้าสู่แก้วตา ดวงตาทั้ง 2 ข้างมองเห็นและเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ หากเป็นเด็กที่มีอาการตาเหล่หรือตาเข อาจจะส่งให้จักษุแพทย์เด็ก ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการตรวจวัดภาวะตาเขหรือตาเหล่โดยเฉพาะ
การรักษาโรค
• สวมแว่นสายตา ช่วยแก้ไขปัญหาสายตาที่มีความต่างระหว่างสายตาทั้ง 2 ข้าง จะทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนและสั่งการสมองให้ทำงานประสานกับดวงตาข้างที่อ่อนแอมากขึ้น เพื่อพัฒนาสายตาทั้ง 2 ข้างให้มีการทำงานเท่ากัน
• ปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ตาข้างที่ด้อยกว่าได้มีการใช้งาน จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติเท่ากันทั้งสองข้าง
• การผ่าตัด เพื่อรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคตาขี้เกียจ เช่น ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา รักษาภาวะตาเข ผ่าตัดต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นตา หนังตาตก หลังจากนั้นค่อยฝึกและพัฒนาการมองเห็น โดยการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นให้ดวงตาอีกข้างที่ด้อยกว่าได้ถูกใช้งานบ้าง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Eye Center
Publish date desc: 27/05/2024
Author doctor
Dr. Rattiya Pornchaisuree
Specialty
Pediatric ophthalmologist