"ไข้หวัดใหญ่" อันตรายถึงชีวิต
โรคไข้หวัดใหญ่ คือการติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza โดยพบได้ในทุกเพศวัย ประเทศไทยมักพบอุบัติการณ์สูงสุดในช่วงฤดูฝน (มิถุนายนถึงตุลาคม) จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ. 2560 (ข้อมูลช่วงเดือน มกราคมถึงพฤศจิกายน 2560) พบผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย 179,986 ราย โดยมีอัตราป่วย 275.09 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ถึง 52 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.08 ต่อประชากรแสนคน โดยเมื่อดูตามกลุ่มอายุแล้ว พบว่าผู้ป่วยกลุ่มเด็กโดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 4 ปี มีอัตราการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่มากที่สุด
สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) โดย มีอยู่ 3 ชนิด คือ สายพันธุ์ เอ บี และ ซี 1. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (Influenza A virus) พบได้ทั้งในคนและสัตว์ โดยแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยตามชนิดของโปรตีนที่พบบนผิวของไวรัส โดยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ มักก่อนให้เกิดอาการรุนแรง และส่วนใหญ่มักระบาดมากกว่าสายพันธุ์บี 2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี (Influenza B virus) มีสองสายพันธุ์คือ Victoriaกับ Yamagata 3. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ซี (Influenza C virus) สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ แต่มักไม่มีอาการและพบน้อย ส่วนใหญ่พบในเด็ก การ
ติดต่อของไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ติดต่อจากคนสู่คน โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ เช่น การหายใจละออง เสมหะผ่านทางการไอหรือ รวมทั้งผ่านการสัมผัสที่สิ่งของที่ผู้ป่วยได้ไปสัมผัสไว้
ระยะฟักตัวของโรค
อยู่ที่ประมาณ 1 - 4 วัน หลังจากไปสัมผัสโรค ส่วนมากจะอยู่ที่ 2 วัน
อาการแสดงของไข้หวัดใหญ่
อาการแสดงมักมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ร่วมกับอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ เจ็บคอ มีน้ำมูล ไอ อย่างไรก็ตามพบว่าในผู้สูงอายุ อาจมีเพียงไข้สูง ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยได้ในเด็กมักพบมีอาการทางระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยเช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียมากกว่าในผู้ใหญ่ ในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ อาการไข้ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 1 สัปดาห์( ค่าเฉลี่ยประมาณ 3-5 วัน) ส่วนอาการไออาจมีอาการต่อเนื่องได้นานถึง 2 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยของไข้หวัดใหญ่คือ ปอดอักเสบ ตำแหน่งอื่นที่พบภาวะแทรกซ้อนได้คือระบบทางเดินประสาท และระบบกล้ามเนื้อ 1. ปอดอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในกลุ่มที่ภาวะเสี่ยง โดยเกิดได้ทั้งจากตัวไวรัสไข้หวัดใหญ่เอง หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ โดยเชื้อที่พบบ่อยได้แก่ Streptococcus pneumoniae และ Staphylococcus areus รองลงมา 2. ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหรือกล้ามเนื้อโดนทำลาย (Myositis a n d rhabdomyolysis) โดยมักจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรงกว่าปกติ โดยเฉพาะที่บริเวณขา ตรวจเลือดจะพบค่าการทำงานของ Creatone phosphokinase สูงขึ้น 3. ภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจ - กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Mocarditis a n d pericarditis) - กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) โดยมีการศึกษาพบว่าการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยอาจพบในช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 4. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทเช่น ไข้สมองอักเสบ (encephalitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ปลายประสาทอักเสบ (Guillain-Barre syndrome)
กลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่
1. กลุ่มอายุ เด็กเล็ก โดยเฉพาะต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุมากกว่า 65ปี
2. กลุ่มที่มีโรคประจำตัว หอบหืด ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ เบาหวาน
3. กลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ ได้ยากดภูมิต้านทาน มะเร็ง ติดเชื้อไวรัสHIV
4. ผู้หญิงตั้งครรภ์
5. ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน
การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่
การวินิจฉัยมักเริ่มจากอาการเป็นส่วนใหญ่ อาการดังที่กล่าวข้างต้น ไข้สูงปวดเมื่อยตัว มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ และประวัติสัมผัสโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจจำเป็นในรายที่ต้องการทราบวินิจฉัยแน่ชัดเพื่อวางแผนการรักษา โดยการตรวจเลือดผลเม็ดเลือดขาวมักอยู่ในเกณฑ์ปกติ วิธีการตรวจเชื้อโดยการตรวจหาเชื้อจากจมูกมีทั้งการส่งแบบ rapid antigen และการตรวจแบบ PCR ซึ่งความไวในการตรวจแต่ละวิธีไม่เท่ากัน
การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
1. พักผ่อนให้มากเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และควรหยุดงานหรือหยุดเรียนเพื่อการพักผ่อน และไม่เป็นการกระจายเชื้อ
2. ดื่มน้ำให้มาก เพื่อไม่ให้มีภาวะขาดน้ำ
3. ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ยกเว้นในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย
4. ควรไปพบแพทย์เมื่อไข้ไม่ลงหรือมีภาวะหายใจเจ็บหน้าอก หรือหายใจลำบาก
ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่
ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไม่ใช่ยาฆ่าเชื่อหรือกำจัดไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่เพียงช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดระยะเวลาอาการประมาณหนึ่งวันถึงวันครึ่ง กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อเกิดภาวะแทรกซ้อนมีความจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ส่วนในกลุ่มที่ไม่มีภาวะเสี่ยงหรืออาการไม่เยอะ ยาอาจจะมีประโยชน์ในแง่ลดอาการหากได้รับยาใน 48 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่คือคลื่นไส้อาเจียน ลดอาการข้างเคียงได้โดยรับประทานพร้อมอาหาร
วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
1. ทำให้ร่างกายแข็งแรง ดื่มน้ำ ออกกำลังกาย กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ พักผ่อนให้เพียงพอ
2. เน้นทำความสะอาดล้างมือ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร และเข้าห้องน้ำ
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสมือ หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
4. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง โดยควรได้รับวัคซีนก่อนช่วงระบาด ในประเทศไทย แนะนำให้ฉีดก่อนฤดูฝน เนื่องจากภูมิคุ้มกันจะขึ้นหลังได้รับวัคซีนประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน อาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีไข้ต่ำๆ หลังได้รับวัคซีนได้ โดยพบประมาณร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 10 ของผู้ได้รับการฉีดวัคซีน เห็นได้ว่า ไข้หวัดใหญ่ สามารถเกิดได้กับทุกคน และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนถึงกับชีวิตได้ แนะนำให้ทุกคนดูแลสุขภาพ ร่วมกับมารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่กัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) โดย มีอยู่ 3 ชนิด คือ สายพันธุ์ เอ บี และ ซี 1. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (Influenza A virus) พบได้ทั้งในคนและสัตว์ โดยแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยตามชนิดของโปรตีนที่พบบนผิวของไวรัส โดยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ มักก่อนให้เกิดอาการรุนแรง และส่วนใหญ่มักระบาดมากกว่าสายพันธุ์บี 2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี (Influenza B virus) มีสองสายพันธุ์คือ Victoriaกับ Yamagata 3. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ซี (Influenza C virus) สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ แต่มักไม่มีอาการและพบน้อย ส่วนใหญ่พบในเด็ก การ
ติดต่อของไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ติดต่อจากคนสู่คน โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ เช่น การหายใจละออง เสมหะผ่านทางการไอหรือ รวมทั้งผ่านการสัมผัสที่สิ่งของที่ผู้ป่วยได้ไปสัมผัสไว้
ระยะฟักตัวของโรค
อยู่ที่ประมาณ 1 - 4 วัน หลังจากไปสัมผัสโรค ส่วนมากจะอยู่ที่ 2 วัน
อาการแสดงของไข้หวัดใหญ่
อาการแสดงมักมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ร่วมกับอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ เจ็บคอ มีน้ำมูล ไอ อย่างไรก็ตามพบว่าในผู้สูงอายุ อาจมีเพียงไข้สูง ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยได้ในเด็กมักพบมีอาการทางระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยเช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียมากกว่าในผู้ใหญ่ ในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ อาการไข้ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 1 สัปดาห์( ค่าเฉลี่ยประมาณ 3-5 วัน) ส่วนอาการไออาจมีอาการต่อเนื่องได้นานถึง 2 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยของไข้หวัดใหญ่คือ ปอดอักเสบ ตำแหน่งอื่นที่พบภาวะแทรกซ้อนได้คือระบบทางเดินประสาท และระบบกล้ามเนื้อ 1. ปอดอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในกลุ่มที่ภาวะเสี่ยง โดยเกิดได้ทั้งจากตัวไวรัสไข้หวัดใหญ่เอง หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ โดยเชื้อที่พบบ่อยได้แก่ Streptococcus pneumoniae และ Staphylococcus areus รองลงมา 2. ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหรือกล้ามเนื้อโดนทำลาย (Myositis a n d rhabdomyolysis) โดยมักจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรงกว่าปกติ โดยเฉพาะที่บริเวณขา ตรวจเลือดจะพบค่าการทำงานของ Creatone phosphokinase สูงขึ้น 3. ภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจ - กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Mocarditis a n d pericarditis) - กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) โดยมีการศึกษาพบว่าการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยอาจพบในช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 4. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทเช่น ไข้สมองอักเสบ (encephalitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ปลายประสาทอักเสบ (Guillain-Barre syndrome)
กลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่
1. กลุ่มอายุ เด็กเล็ก โดยเฉพาะต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุมากกว่า 65ปี
2. กลุ่มที่มีโรคประจำตัว หอบหืด ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ เบาหวาน
3. กลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ ได้ยากดภูมิต้านทาน มะเร็ง ติดเชื้อไวรัสHIV
4. ผู้หญิงตั้งครรภ์
5. ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน
การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่
การวินิจฉัยมักเริ่มจากอาการเป็นส่วนใหญ่ อาการดังที่กล่าวข้างต้น ไข้สูงปวดเมื่อยตัว มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ และประวัติสัมผัสโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจจำเป็นในรายที่ต้องการทราบวินิจฉัยแน่ชัดเพื่อวางแผนการรักษา โดยการตรวจเลือดผลเม็ดเลือดขาวมักอยู่ในเกณฑ์ปกติ วิธีการตรวจเชื้อโดยการตรวจหาเชื้อจากจมูกมีทั้งการส่งแบบ rapid antigen และการตรวจแบบ PCR ซึ่งความไวในการตรวจแต่ละวิธีไม่เท่ากัน
การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
1. พักผ่อนให้มากเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และควรหยุดงานหรือหยุดเรียนเพื่อการพักผ่อน และไม่เป็นการกระจายเชื้อ
2. ดื่มน้ำให้มาก เพื่อไม่ให้มีภาวะขาดน้ำ
3. ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ยกเว้นในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย
4. ควรไปพบแพทย์เมื่อไข้ไม่ลงหรือมีภาวะหายใจเจ็บหน้าอก หรือหายใจลำบาก
ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่
ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไม่ใช่ยาฆ่าเชื่อหรือกำจัดไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่เพียงช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดระยะเวลาอาการประมาณหนึ่งวันถึงวันครึ่ง กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อเกิดภาวะแทรกซ้อนมีความจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ส่วนในกลุ่มที่ไม่มีภาวะเสี่ยงหรืออาการไม่เยอะ ยาอาจจะมีประโยชน์ในแง่ลดอาการหากได้รับยาใน 48 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่คือคลื่นไส้อาเจียน ลดอาการข้างเคียงได้โดยรับประทานพร้อมอาหาร
วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
1. ทำให้ร่างกายแข็งแรง ดื่มน้ำ ออกกำลังกาย กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ พักผ่อนให้เพียงพอ
2. เน้นทำความสะอาดล้างมือ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร และเข้าห้องน้ำ
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสมือ หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
4. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง โดยควรได้รับวัคซีนก่อนช่วงระบาด ในประเทศไทย แนะนำให้ฉีดก่อนฤดูฝน เนื่องจากภูมิคุ้มกันจะขึ้นหลังได้รับวัคซีนประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน อาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีไข้ต่ำๆ หลังได้รับวัคซีนได้ โดยพบประมาณร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 10 ของผู้ได้รับการฉีดวัคซีน เห็นได้ว่า ไข้หวัดใหญ่ สามารถเกิดได้กับทุกคน และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนถึงกับชีวิตได้ แนะนำให้ทุกคนดูแลสุขภาพ ร่วมกับมารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่กัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Chemotherapy and Hematology Center
Publish date desc: 08/04/2022
Author doctor
Dr. Pannawadee Uppathamnarakorn
Specialty
Infectious and Tropical Diseases