• banner

แค่ไหนเรียกมีบุตรยาก

สําหรับคู่ชายหญิงที่ปรารถนาจะมีบุตรแล้วยังไม่สมหวัง ย่อมกังวลใจว่าคู่ของเราอาจ ‘มีลูกยาก’ ยิ่งคู่สมรสสมัยนี้มีแนวโน้มแต่งงานช้า และมีปัจจัยอื่นๆ เช่นความเครียดจากงานและการใช้ชีวิต ทําให้การมีลูกยากเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรากว่าที่เคย เป็นปัญหาหนักใจของ หลายๆ ครอบครัว

"วัดจากอะไรว่าตัวเรา เริ่ม ‘มีลูกยาก’ แล้ว"
เรื่องมีลูก...ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อยู่แล้ว ก่อนที่เราจะมาดูว่าคู่ของเรากําลัง ‘มีลูกยาก’ หรือไม่ เราควรเข้าใจก่อนว่า การให้ กําเนิดบุตรนั้น เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยองค์ประกอบหลาย อย่างให้เกิดขึ้นพร้อมกันอย่างพอเหมาะพอดี เริ่มจากฝ่ายชายที่สามารถสร้างอสุจิที่ปกติ และฝ่ายหญิงที่สามารถสร้างไข่ที่สมบูรณ์ มีท่อรังไข่ที่ไม่อุดตัน ให้อสุจิสามารถไปผสมกับไข่เกิดเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์แข็งแรง แล้วตัวอ่อนนี้เข้าไปฝังตัวที่ผนังภายในมดลูกจนเติบโตโดยไม่มีความผิดปกติใดๆ จนครบกําหนดคลอด

หากมีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์จนทําให้กระบวนการข้างต้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หรือเกิดขึ้นโดยไม่สมบูรณ์ ทําให้ร่างกายไม่สามารถให้กําเนิดบุตรได้ ก็ถือว่าคู่นั้นๆ กําลัง ‘มีลูกยาก’ ควรที่จะไปปรึกษาแพทย์

3 สิ่งต้องสงสัย ... เข้าปรึกษาแพทย์ ‘มีลูกยาก’
1. ถ้ามีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่คุมกําเนิดด้วยวิธีใดๆ เกิน 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์
2. ถ้ามีอาการประจําเดือนมาไม่ปกติเป็นประจํา ในเพศหญิง
3. ถ้าเคยป่วยเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับมดลูก ในเพศหญิง

แล้วหมอจะตรวจอะไรบ้างตอนไปพบ ในทางการแพทย์การมีบุตรยากถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าเป็นโรคแล้ว แสดงว่าถ้าวินิจฉัยโรคถูกต้อง และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ ก็ย่อม รักษาให้หาย และสามารถมีลูก เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ได้

แพทย์จะตรวจเพื่อวินิจฉัยใน 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 การสอบถามประวัติทั่วไป โดยเฉพาะเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย ตรวจเลือด
ระดับที่ 2 การตรวจพิเศษเพื่อหาสาเหตุการมีบุตรยาก การตรวจสภาพการตกไข่จากการวัดระดับฮอร์โมนในเลือด การทําอัลตร้าซาวด์และเอกซ์เรย์เพื่อดูมดลูก รังไข่ และท่อรังไข่ การส่องกล้องดูอวัยวะภายในช่องท้อง ช่องเชิงกราน การตรวจเชื้ออสุจิ
ระดับที่ 3 การตรวจเพิ่มเติม เมื่อพบความผิดปกติเบื้องต้น ถึงแม้ว่าเราจะตรวจพบว่า ‘มีลูกยาก’ ก็ไม่ต้องเสียกําลังใจ ตามสถิติแล้ว ผู้มีบุตรยากมากกว่า 80% - 90% สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาหรือ ผ่าตัด ขอเป็นกําลังใจให้สู้ต่อไปอย่างมีความหวัง

"จากฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิง สาเหตุที่แท้จริงของการมีลูกยาก"
การใช้ชีวิตคู่สิ่งที่เราต้องรู้ร่วมกัน คือ หากต้องการมีบุตรเราจะต้องดูแลสุขภาพของคู่และตัวเราเองอย่างดีและสม่ำเสมอ แต่สาเหตุส่วนใหญ่ที่มักพบเรื่องของการมีบุตรยากทั้งในชายและหญิงจะมีอะไรบ้างคงต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดตามกระบวน เพื่อให้คู่ของคุณมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ

สาเหตุหลักที่พบจากฝ่ายชาย คือ การไม่มีเชื้ออสุจิ (azoospermia) มีเชื้ออสุจิน้อยเกินไป (oligozpermia)  หรือแม้แต่การมีเชื้อที่มีรูปร่างผิดแปลกไม่แข็งแรง จนทำให้เชื้อมักตายก่อนที่จะเข้าปฏิสนธิ รวมถึงกรณีอื่นๆ ที่พบไม่บ่อย คือ โรคทางพันธุกรรม เช่น ความผิดปกติของโคโมโซม (chromosome) และ โรค cystic fibrosis เป็นต้น

ส่วนจากฝ่ายหญิงนั้น  จะเกิดจากความผิดปกติในการตกไข่ อย่างเช่น หลายคนที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรงในทุกๆ รอบเดือน หรืออีกหนึ่งอาการ ที่พบบ่อยในฝ่ายหญิง คือ ท่อรังไข่ตีบตัน ซึ่งอาจเป็นเพราะเคยมีการอักเสบในช่องเชิงกราน หรือเป็นโรคที่เรียกว่า Endomettriosis (เอ็นโดเม็ททริโอซิส)

ทั้งนี้สาเหตุทั้งหมดของทั้งชายและหญิง นับเป็นสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น เพราะยังมีคนไข้ถึง 20% ที่ตรวจแล้วหาสาเหตุไม่พบ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ความผิดปกติ และสาเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด จะแก้ไขไม่ได้แต่อย่างใด เพราะด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ โดยเฉพาะในโรงพยาบาล ที่มีศูนย์ช่วยเหลือผู้มีบุตรยากโดยเฉพาะ จะเป็นตัวช่วยสำคัญ ให้ทุกคู่วางแผนครอบครัวได้อย่างสมบูรณ์

"เป็นหมัน แต่ฝันอยากมีลูก"
อีกหนึ่งความวิตก ของหลายคู่ คือ พบการเป็นหมันทั้งในชายและหญิง สิ่งนี้ยิ่งทำให้เกิดความกังวลใจในการวางแผนครอบครัวและมีบุตรเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูน เพราะในสมัยก่อนหากอาการเป็นหมันเกิดขึ้นกับใครแล้ว ก็ตัดใจได้เลยเรื่องมีบุตร แต่นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดเสมอ และยังมีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น ที่จะทราบว่า “เป็นหมันก็มีลูกได้” โดยการ ”ผ่าตัดแก้หมัน” ซึ่งสิ่งนี้มักเป็นสิ่งแรกในการรักษา ซึ่งหากแก้แล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ด้วยตนเองได้ ทีมแพทย์ก็จะใช้เทคโนโลยีพิเศษช่วย ไม่ว่าจะเป็น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือการทำอิ๊กซี่ (IUI) เป็นต้น

การรับการตรวจก่อนแต่ง ถือเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง สิ่งนี้เมื่อคุณทำแล้ว “มีลูกยากแค่ไหน ก็มีสิทธิมีลูกได้” แล้วไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคลินิกผู้บุตรยาก โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตั้งแต่แรกเริ่มคลินิกทำให้ ทำให้เราเชื่อเสมอว่า “มีบุตรยาก รักษาได้”

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 15/02/2018

Author doctor

Dr. Piboon Leelapatana

img

Specialty

ART (Assisted Reproductive Techologies)

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us

Other package