• banner

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังและญาติ

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจร่างกายก่อนเข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทุกครั้ง กรณี ผู้ป่วย มีภาวะแทรกซ้อน หรืออาการผิดปกติ เช่น หอบเหนื่อย ความดันโลหิตต่ำ หัวใจทำงานผิดปกติ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยง และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่แผนก ICU จนกว่าอาการต่างๆ พ้นจากภาวะวิกฤต แล้วค่อยกลับมาฟอกในแผนกไตเทียมอย่างเดิม
  • ผู้ป่วยทุกท่านควรแต่งกายให้เรียบร้อย และรักษาความสะอาดของร่างกาย ตัดเล็บมือ และเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ
  • ผู้ป่วยสามารถนำของใช้ส่วนตัวมาใช้ในแผนกได้ เช่น หมอน ผ้าห่ม
  • กรุณางดนำของมีค่าเกินความจำเป็นติดตัวเมื่อมารับการรักษา หากชำรุดหรือเสียหาย ทางหน่วยไตเทียมจะไม่รับผิดชอบ
  • แจ้งแพทย์ พยาบาล ถึงความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ฯลฯ


ข้อปฏิบัติสำหรับญาติ

ญาติของผู้ป่วย อนุญาตให้รออยู่ด้านนอกที่ห้องพักญาติผู้ป่วยเท่านั้น ถ้ามีปัญหาหรือข้อสงสัยใด ๆ กรุณาสอบ ถามแพทย์หรือพยาบาลโดยตรง ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมารับการรักษาในแต่ละครั้ง
  • ผู้ป่วยทุกท่านควรมาถึงหน่วยไตเทียมก่อนเวลานัด 30 นาที ถ้ามาสายอาจมีความจำเป็นจะต้องลด เวลาฟอกเลือดลงเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยรายต่อไป
  • เมื่อผู้ป่วยมาถึง กรุณารอที่นั่งพักผู้ป่วย อย่าส่งเสียงรบกวนจนกว่าพยาบาลจะเรียกเข้ารับการตรวจร่างกาย
  • ระหว่างรอเข้าห้องไตเทียม ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวโดยทำการฟอกแขนที่จะต้องลงเข็มด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่เตรียมไว้ในห้องน้ำในห้องพักผู้ป่วย
  • เมื่อพยาบาลเรียกเข้าตรวจร่างกาย ผู้ป่วยจะได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตให้ผู้ป่วย
  • ขณะตรวจร่างกาย ผู้ป่วยควรแจ้งอาการผิดปกติ ที่มีให้พยาบาลทราบด้วย เช่น อาการไข้ เจ็บคอ แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ หรือมีเลือดออกผิดปกติในที่ต่างๆ อุจจาระมีเลือด
  • ถ้าผู้ป่วยต้องการซื้อยาให้แจ้งพยาบาลขณะที่พยาบาลตรวจร่างกายก่อนเข้าเครื่องไตเทียม
  • ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจในการใช้โซฟา ขณะลงนั่ง เอนนอน และลุกลงจากโซฟา เพื่อจะได้ใช้ โซฟาอย่างถูกต้องไม่เกิดการชำรุดเสียหาย และมีความปลอดภัยโดยไม่เกิดการล้มคว่ำของโซฟา
  • ให้ผู้ป่วยจัดท่านอนของตนเองให้เหมาะสม วางแขนที่จะแทงเข็มบนพนักที่รองแขนให้พอเหมาะ เพื่อรอพยาบาลมาลงเข็ม และทำการฟอกเลือด
  • ขณะฟอกเลือด ผู้ป่วยจะได้รับการการวัดความดันโลหิตทุก 1 ชม. หรือ 30 นาที เพื่อตรวจสอบดู อาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ให้รีบแจ้งพยาบาล เช่น คลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น หูอื้อ ตาลาย ตะคริว เวียนศรีษระ ร้อนวูบวาบ หนาวสั่น แน่นหน้าอก ฯลฯ
  • ผู้ป่วยต้องชั่งน้ำหนักหลังการฟอกเลือด และลงบันทึกในแฟ้มผู้ป่วยทุกครั้ง เพื่อลงบันทึกในแฟ้มผู้ป่วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Nephrology and Hemodialysis Center
Publish date desc: 08/06/2017

Author doctor

Dr. Sudarat Seenamngoen

img

Specialty

Kidney Disease

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us