เลือกอาหารอย่างไรให้เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน
การกินอาหารให้พอดีกับความต้องการของร่างกายในผู้เป็นเบาหวาน จะสามารถช่วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงได้ การควบคุมอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่ตามมาได้ ผู้ป่วยเบาหวานต้องพยายามปรับพฤติกรรมการกินของตนเองให้เหมาะสม
• ควบคุมการรับประทานอาหารประเภทข้าว แป้ง และน้ำตาล หรือควบคุมคาร์โบไฮเดรต
• เลือกรับประทานอาหารอย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน
• เลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไม่ขัดสี ผักใบเขียว และผลไม้ไม่หวาน
• เลือกชนิดและปริมาณของอาหารอย่างเหมาะสม เช่น เลือกข้าวกล้องแทนข้าวขาว เลือกขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาว ผลไม้ไม่หวานไม่เกิน 3 ส่วน/วัน (1 ส่วนเท่ากับผลไม้ 1 จานเล็กขนาด 6-8 ชิ้น) ผัก 3-4 ส่วน/วัน (1 ส่วนเท่ากับ 1 ทัพพี หรือ 50-70 กรัม)
• เลือกวิธีปรุงอาหารแบบต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ แทนการใช้น้ำมันทอดหรือผัด
• รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อและตรงเวลา ไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน น้ำตาลและเกลือสูงๆ ให้เลือกรับประทานอาหารรสอ่อน
• หลีกเลี่ยงอาหารจุกจิกหรือขนมขบเคี้ยวเป็นอาหารระหว่างมื้อ ควรเลือกอาหารไขมันต่ำ แป้งน้อยๆ งดของหวาน เลือกผลไม้ไม่หวานในปริมาณที่เหมาะสม
• หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และงดสูบบุหรี่
• เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง
• ดื่มน้ำสะอาด หรือเครื่องดื่มที่ไม่ใส่น้ำตาล
ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อควบคุมไม่ให้น้ำตาลเข้าสู่ร่างกายมากจนเกินไป ทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของโรคเบาหวาน
ผู้เขียน: คุณอารยา เสรีวิสุทธิพงศ์ นักกำหนดอาหาร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
• ควบคุมการรับประทานอาหารประเภทข้าว แป้ง และน้ำตาล หรือควบคุมคาร์โบไฮเดรต
• เลือกรับประทานอาหารอย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน
• เลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไม่ขัดสี ผักใบเขียว และผลไม้ไม่หวาน
• เลือกชนิดและปริมาณของอาหารอย่างเหมาะสม เช่น เลือกข้าวกล้องแทนข้าวขาว เลือกขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาว ผลไม้ไม่หวานไม่เกิน 3 ส่วน/วัน (1 ส่วนเท่ากับผลไม้ 1 จานเล็กขนาด 6-8 ชิ้น) ผัก 3-4 ส่วน/วัน (1 ส่วนเท่ากับ 1 ทัพพี หรือ 50-70 กรัม)
• เลือกวิธีปรุงอาหารแบบต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ แทนการใช้น้ำมันทอดหรือผัด
• รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อและตรงเวลา ไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน น้ำตาลและเกลือสูงๆ ให้เลือกรับประทานอาหารรสอ่อน
• หลีกเลี่ยงอาหารจุกจิกหรือขนมขบเคี้ยวเป็นอาหารระหว่างมื้อ ควรเลือกอาหารไขมันต่ำ แป้งน้อยๆ งดของหวาน เลือกผลไม้ไม่หวานในปริมาณที่เหมาะสม
• หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และงดสูบบุหรี่
• เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง
• ดื่มน้ำสะอาด หรือเครื่องดื่มที่ไม่ใส่น้ำตาล
ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อควบคุมไม่ให้น้ำตาลเข้าสู่ร่างกายมากจนเกินไป ทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของโรคเบาหวาน
ผู้เขียน: คุณอารยา เสรีวิสุทธิพงศ์ นักกำหนดอาหาร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Publish date desc: 11/11/2024