• banner

สัญญาณอันตรายจากรอบเดือน เรื่องที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

สำหรับสาวๆ แล้วประจำเดือนถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง เพราะหากสังเกตดีๆ สิ่งนี้อาจมีโรคภัยซ่อนอยู่ในการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นได้

"อาการของรอบเดือนที่ไม่ควรมองข้าม"

การมีรอบเดือนหรือประจำเดือนที่มาแบบปกตินั้นจะเกิดขึ้นในช่วง 21 - 35 วัน นับจากรอบเดือนที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ โดยจะมาอยู่ประมาณ 3 - 5 วัน ปริมาณเลือดที่ออกมาประมาณ 30 - 50 มิลลิลิตรต่อรอบเดือน ลักษณะเลือดที่ออกมักไม่เป็นลิ่มเลือด ทั้งนี้ความผิดปกติของรอบเดือนเกิดขึ้นได้หลายแบบ ซึ่งได้แก่อาการเหล่านี้
  1. ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ อาจสังเกตได้โดยจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามันบ่อยกว่าปกติ และมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกมากับประจำเดือน
  2. ปริมาณเลือดออกมามากกว่าปกติ หรือมากกว่า 80 มิลลิลิตรต่อรอบเดือน
  3. รอบเดือนมาสั้นกว่า 21 วัน หรือยาวนานกว่า 35 วัน
  4. ประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน
  5. ลักษณะเลือดที่ออกเป็นแบบกะปริดกะปรอย
ทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่โรคมะเร็งที่สาวๆ กลัวกันแต่เพียงอย่างเดียว แต่นั้นหมายถึงโรคน่ากังวลอื่นๆ ที่ส่อเค้าเริ่มต้นอีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรให้มาพบแพทย์

"โรคอันตรายที่อาจมาพร้อมรอบเดือนที่ปกติ"

แน่นอนที่อาการผิดปกติของร่างกายมักมาพร้อมโรคที่คาดไม่ถึง ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่มะเร็งเท่านั้นแต่ยังมีโรคที่น่ากลัวอื่นๆ เช่น

โรคเนื้องอกมดลูก
เป็นโรคยอดฮิตที่พบบ่อยมาก โดยจะพบถึง 4 ใน 10 คนของผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่หากเป็นระยะเริ่มต้นจะไม่แสดงอาการใดๆ ประจำเดือนยังมีมาตามปกติ แม้มีโอกาสกลายเป็นเนื้อร้ายไม่มาก แต่หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากจน ไปเบียดอวัยวะข้างเคียงก็จะทำให้เป็นปัญหาได้

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
เป็นอีกโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ถ้าไปเจริญที่รังไข่ จะทำให้เกิดเป็นถุงน้ำที่มีของเหลวคล้ายช็อกโกแล็ตอยู่ภายใน (Chocolate cyst) ถ้าแทรกตัวเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก จะทำให้มดลูกมีขนาดโตผิดปกติ (Adenomyosis) ซึ่งโดยส่วนใหญ่ทั้งสองโรคนี้มักจะทำให้มีอาการปวดประจำเดือน ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือปวดถ่วงเวลาถ่ายอุจจาระรุนแรงขณะมีประจำเดือนได้ และยังส่งผลให้มีบุตรยากได้ด้วย แต่ในบางรายก็ไม่แสดงอาการอาการใดๆ

ถุงน้ำรังไข่ (ซีสต์ในรังไข่)
มีทั้งที่สามารถยุบเองได้และถุงน้ำที่ที่ไม่สามารถ ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ช็อกโกแลตซีสต์ป่วยโรคนี้อาจจะไม่มีอาการใดๆ แต่บางคราวจะมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรงเฉียบพลันได้ ถ้าถุงน้ำนั้นเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การบิดของขั้วถุงน้ำรังไข่พวกนี้ ก็อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน


"ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลโรคร้าย"

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นสาวๆ สามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรค แถมไม่ทรมานกับการมีรอบเดือนได้ง่ายๆ ด้วยการเริ่มต้นดูแลตัวเองให้ดีตั้งแต่เริ่มวัยสาวโดย
  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างสม่ำเสมอ ยิ่งในช่วงใกล้มีประจำเดือนให้เน้นการรับประทานผักใบเขียว เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดอาการปวดก่อนมีประจำเดือน
  2. เวลามีประจำเดือนใครว่าไม่ควรออกกำลังกาย ไม่จริงทั้งสิ้น เพราะแท้จริงแล้วการออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟิน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ แต่พึงระวังเรื่องความสะอาดไว้ด้วย
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อพักฟื้นและฟื้นฟูพลังงานที่เสียไประหว่างการมีประจำเดือน
  4. ช่วงมีประจำเดือนเป็นช่วงที่สาวๆ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายและเลือดประจำเดือนยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อแบคทีเรีย
  5. ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง หรือเมื่อผ้าอนามัยที่รองรับเต็มแผ่นแล้ว

อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่เหมาะคุณควรปรึกษาแพทย์ พร้อมตรวจภายในและตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ใช้สารเสพย์ติด เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียงแต่จะช่วยวัยสาวของคุณให้สดใส แต่จะช่วยให้เมื่อคุณอยากมีครอบครัว จะได้ไม่ประสบปัญหามีบุตรยาก อีกด้วย ทั้งนี้ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เรายังมีทีมแพทย์ที่ยินดีอย่างยิ่งที่จะให้คำปรึกษาคุณในทุกช่วงวัย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 03/05/2018

Author doctor

Dr. Piboon Leelapatana

img

Specialty

ART (Assisted Reproductive Techologies)

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us

Other package