มารู้จักโรคไตเรื้อรังกันเถอะ
เป็นที่ทราบกันดีค่ะว่าโรคไตเป็นโรคที่เมื่อเป็นแล้ว หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง มีโอกาสกลายเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ ซึ่งโรคนี้ต้องได้รับการรักษาด้วยการทำไตเทียมเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้อง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตก็ตาม ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ การดูแลตนเองนะคะ และในวันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง บอกเล่าให้ฟังกันค่ะ
ไตเป็นอวัยวะสำคัญทำหน้าที่กำจัดของเสีย ควบคุมสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย และสร้างฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่
โรคไตเรื้อรังเกิดขึ้นเมื่อมีการทำงานของไตค่อย ๆ ลดลงอย่างช้าๆ โดยทั่วไปใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี และเป็นการสูญเสียหน้าที่แบบถาวร ปัจจุบันถือว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง เมื่อมีพยาธิสภาพที่ไตเป็นระยะเวลามากกว่า หรือเท่ากับ 3 เดือน เช่น ตรวจพบโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ เป็นต้น หรือการมีค่าการทำงานของไตน้อยกว่า 60 มล./ นาทีต่อ 1.73 ตรม. เป็นระยะเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 3 เดือน การตรวจคัดกรองว่ารายใดอาจมีโรคไตเรื้อรัง นิยมใช้การตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจดูว่ามีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะหรือไม่ หรืออาจตรวจปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจพิเศษเพื่อตรวจหาอัลบูมินในปัสสาวะ ตรวจวัดค่าครีอะตินินในเลือด และนำค่าครีอะตินินในเลือดมาคำนวณหาค่าการทำงานของไตจากสมการต่างๆ เช่น สมการของ CKD-EPI creatinine equation
สาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อย
เมื่อไตทำงานลดลงอย่างรวดเร็ว หรือหยุดการทำงานทันทีเรียกว่า โรคไตวายเฉียบพลัน ซึ่งไตอาจกลับมาเป็นปกติได้ถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสม สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดเชื้อ ขาดสารน้ำในร่างกาย ยาแก้ปวด และสารเคมีต่าง ๆ แต่ถ้าไตทำงานลดลงอย่างช้า ๆ ต่อเนื่อง ทำให้ไตเกิดความผิดปกติถาวรเรียกว่า โรคไตเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไตเรื้อรัง คือ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยสรุปสาเหตุโรคไตเรื้อรังที่พบ่อยได้ดังนี้
การดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง
การรักษาโรคไตเรื้อรัง
การรักษาโรคไตเรื้อรังโดยการทดแทนการทำงานของไตมี 3 วิธี คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตหน้าท้อง และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกวิธีการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายจำเป็นต้องอาศัยความเหมาะสมและการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างทีมแพทย์ผู้รักษาตัวผู้ป่วยเอง และญาติ เพื่อผลการรักษาดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
- อีริโทรโพอิติน (erythropoietin) ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายมีปริมาณเลือดเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างเพียงพอ ป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง
- เรนิน (renin) ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ระดับคงที่ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างเพียงพอ
- วิตามินดี ช่วยควบคุมระดับเกลือแร่แคลเซียม และฟอสฟอรัสในร่างกาย ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง
โรคไตเรื้อรังเกิดขึ้นเมื่อมีการทำงานของไตค่อย ๆ ลดลงอย่างช้าๆ โดยทั่วไปใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี และเป็นการสูญเสียหน้าที่แบบถาวร ปัจจุบันถือว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง เมื่อมีพยาธิสภาพที่ไตเป็นระยะเวลามากกว่า หรือเท่ากับ 3 เดือน เช่น ตรวจพบโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ เป็นต้น หรือการมีค่าการทำงานของไตน้อยกว่า 60 มล./ นาทีต่อ 1.73 ตรม. เป็นระยะเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 3 เดือน การตรวจคัดกรองว่ารายใดอาจมีโรคไตเรื้อรัง นิยมใช้การตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจดูว่ามีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะหรือไม่ หรืออาจตรวจปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจพิเศษเพื่อตรวจหาอัลบูมินในปัสสาวะ ตรวจวัดค่าครีอะตินินในเลือด และนำค่าครีอะตินินในเลือดมาคำนวณหาค่าการทำงานของไตจากสมการต่างๆ เช่น สมการของ CKD-EPI creatinine equation
สาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อย
เมื่อไตทำงานลดลงอย่างรวดเร็ว หรือหยุดการทำงานทันทีเรียกว่า โรคไตวายเฉียบพลัน ซึ่งไตอาจกลับมาเป็นปกติได้ถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสม สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดเชื้อ ขาดสารน้ำในร่างกาย ยาแก้ปวด และสารเคมีต่าง ๆ แต่ถ้าไตทำงานลดลงอย่างช้า ๆ ต่อเนื่อง ทำให้ไตเกิดความผิดปกติถาวรเรียกว่า โรคไตเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไตเรื้อรัง คือ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยสรุปสาเหตุโรคไตเรื้อรังที่พบ่อยได้ดังนี้
- โรคไตจากเบาหวาน โรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ น้ำตาลที่สูงในเลือดจะมีผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และรวมทั้งท่อไต
- โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงมีผลทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กภายในไต ทำให้ไตเสื่อมลง
- โรคไตอักเสบทางโกลเมอรูลัส (glomerulonephritis) ไตอักเสบเกิดจากหลายสาเหตุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะมีฟองจากไข่ขาวรั่ว ซึ่งมีผลทำให้ไตเสื่อมลง
- โรคไตจากกรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด โรคถุงน้ำในไต (polycystic kidney disease) เป็นตัวอย่างโรคทางกรรมพันธุ์ที่มีถุงน้ำจำนวนมากภายในเนื้อไต มีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไตจะเริ่มเสื่อมหน้าที่ลงเมื่อผู้ป่วยอุประมาณ 20-30 ปี แต่ในผู้ป่วยโรคถุงน้ำไตบางชนิดสามารถเกิดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ส่งผลทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
- สาเหตุไตวายอื่นๆ ยาและสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดโดยเฉพาะยาที่เรียกว่า เอ็นเสด (NSAIDS) ยาลดความอ้วน ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
การดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- รักษาควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอทในโรคไตเรื้อรังทั่วไป และรักษาควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอทในโรคไตเรื้อรังที่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ และแพทย์มักเลือกใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม angiotensin converting enzyme (ACE) inhibitor และ angiotensin receptor blockers (ARBs) เป็นกลุ่มแรก เพื่อชะลอการเสื่อมของไต
- ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้เป็นปกติตามคำแนะนำของแพทย์
- ควบคุมอาหารในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หากรับประทานอาหารไม่ถูกต้องจะทำให้ไตวายได้อย่างรวดเร็ว
- หยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น แต่ยังเพิ่มอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
- ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเองเป็นประจำ หรือการรับประทานยาซ้ำซ้อน และปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น
- การรักษาภาวะโลหิตจาง หรือภาวะซีดจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยงาน อ่อนเพลีย เกิดจากไตสร้างฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตที่มีภาวะซีดจากการขาดฮอร์โมนนี้ควรได้รับการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
การรักษาโรคไตเรื้อรัง
การรักษาโรคไตเรื้อรังโดยการทดแทนการทำงานของไตมี 3 วิธี คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตหน้าท้อง และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกวิธีการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายจำเป็นต้องอาศัยความเหมาะสมและการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างทีมแพทย์ผู้รักษาตัวผู้ป่วยเอง และญาติ เพื่อผลการรักษาดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Nephrology and Hemodialysis Center
Publish date desc: 08/04/2022
Author doctor
Dr. Bancha Satirapoj
Specialty
Kidney Disease