สำลักอาหาร อันตรายที่ผู้สูงวัยควรระวัง
เมื่อคนอายุมากขึ้น ก็มีโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคความจำเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคของเส้นประสาท โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนเริ่มผิดพลาด เกิดการสำลักง่าย ผลตามมาของการสำลักขึ้นอยู่กับปริมาณสิ่งที่สำลัก สำลักบ่อยแค่ไหน ทุกวัน หรือนานๆ ครั้ง สิ่งที่สำลักเป็นของแข็ง เศษอาหาร ของเหลว น้ำ น้ำมัน หรือกรดจากกระเพาะอาหารประสิทธิภาพในการไอขับสิ่งแปลกปลอมออกได้เองและภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาจากการสำลักเศษอาหาร เช่น ขนมเข่ง ขนมโมจิ ลูกชิ้น ยาเม็ดโตๆ ติดคอ ทำให้ขาดอากาศหายใจ เสียชีวิตได้ทันที โรคปอดอักเสบจากการสำลักกรด หรือน้ำมัน และปอดติดเชื้อจากเชื้อโรคในช่องปากลงปอด สุดท้ายทำให้ระบบหายใจล้มเหลว
วิธีการป้องกันการสำลัก
แนะนำอาหารซึ่งมีอยู่ 4 ระดับขึ้นกับผู้ป่วยมีปัญหาการกลืนตั้งแต่มากสุดลงไปน้อยสุด
ระดับที่ 1 เหมาะกับผู้ป่วยเพิ่งเริ่มฝึกกลืน เช่น อาหารปั่นข้น ปั่นอาหารให้ละเอียด มีลักษณะข้นหนืด เช่น โจ๊กปั่นข้น ซุปปั่นข้น ไข่ตุ๋น
ระดับที่ 2 เป็นอาหารปั่นเหลวกว่าระดับที่ 1 อาหารทุกอย่างสับละเอียด เช่น ซุปข้น แต่เหลวกว่าระดับที่ 1
ระดับที่ 3 เป็นอาหารอ่อน เคี้ยวง่าย ไม่มีกากแข็งสับหยาบๆ เช่น ข้าวต้มขาวปกติ ปลานึ่ง เต้าหู้หมูสับ
ระดับที่ 4 เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนเล็กน้อย เป็นอาหารอ่อนปกติ อาหารไม่จำเป็นต้องบด หรือสับ
นอกจากนี้ควรปรึกษานักกิจกรรมบำบัดช่วยในการฝึกกระตุ้นกล้ามเนื้อปากและลิ้น และกระตุ้นการกลืน เวลากลืนอาหารแนะนำให้นั่งตัวตรง ก้มศีรษะเล็กน้อย ตั้งใจกินทีละคำ ไม่พูดคุยระหว่างกิน ถ้าทำทุกอย่างแล้วผู้ป่วยยังสำลักอาหารและน้ำ หรือไม่ยอมกลืน ก็ต้องพิจารณาใส่สายยางผ่านจมูกเข้ากระเพาะอาหาร และให้อาหารผ่านทางสายยาง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาจากการสำลักเศษอาหาร เช่น ขนมเข่ง ขนมโมจิ ลูกชิ้น ยาเม็ดโตๆ ติดคอ ทำให้ขาดอากาศหายใจ เสียชีวิตได้ทันที โรคปอดอักเสบจากการสำลักกรด หรือน้ำมัน และปอดติดเชื้อจากเชื้อโรคในช่องปากลงปอด สุดท้ายทำให้ระบบหายใจล้มเหลว
วิธีการป้องกันการสำลัก
แนะนำอาหารซึ่งมีอยู่ 4 ระดับขึ้นกับผู้ป่วยมีปัญหาการกลืนตั้งแต่มากสุดลงไปน้อยสุด
ระดับที่ 1 เหมาะกับผู้ป่วยเพิ่งเริ่มฝึกกลืน เช่น อาหารปั่นข้น ปั่นอาหารให้ละเอียด มีลักษณะข้นหนืด เช่น โจ๊กปั่นข้น ซุปปั่นข้น ไข่ตุ๋น
ระดับที่ 2 เป็นอาหารปั่นเหลวกว่าระดับที่ 1 อาหารทุกอย่างสับละเอียด เช่น ซุปข้น แต่เหลวกว่าระดับที่ 1
ระดับที่ 3 เป็นอาหารอ่อน เคี้ยวง่าย ไม่มีกากแข็งสับหยาบๆ เช่น ข้าวต้มขาวปกติ ปลานึ่ง เต้าหู้หมูสับ
ระดับที่ 4 เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนเล็กน้อย เป็นอาหารอ่อนปกติ อาหารไม่จำเป็นต้องบด หรือสับ
นอกจากนี้ควรปรึกษานักกิจกรรมบำบัดช่วยในการฝึกกระตุ้นกล้ามเนื้อปากและลิ้น และกระตุ้นการกลืน เวลากลืนอาหารแนะนำให้นั่งตัวตรง ก้มศีรษะเล็กน้อย ตั้งใจกินทีละคำ ไม่พูดคุยระหว่างกิน ถ้าทำทุกอย่างแล้วผู้ป่วยยังสำลักอาหารและน้ำ หรือไม่ยอมกลืน ก็ต้องพิจารณาใส่สายยางผ่านจมูกเข้ากระเพาะอาหาร และให้อาหารผ่านทางสายยาง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Internal Medicine Center
Publish date desc: 11/04/2022
Author doctor
Dr. Manoon Leechawengwongs
Specialty
Pulmonologist-Critical Care Physician-Gerontologist-Pulmonologist