การติดตามโรคหลอดเลือดสมองด้วยการอัลตราซาวด์
ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หรือชาครึ่งซีก มาพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัย โรคที่เป็นไปได้มีหลากหลาย ตามความรู้ของแพทย์ระบบประสาท ตัวอย่างได้แก่
ในรายที่ต้องติดตามหลังการรักษา ในช่วงถี่ๆ เช่นในระยะ 3 เดือน หรือ 6 เดือน แต่ประสบปัญหากลัวที่แคบในการเข้าตรวจ MR หลอดเลือดสมอง บางทีใช้การติดตามด้วยอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดแทน
การอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดสมอง แพทย์ทำการตรวจที่ข้างเตียง ใช้คลื่นอัลตร้าซาวนด์ผ่านกะโหลกศีรษะ โดยส่วนมากจะเข้าตรวจหลอดเลือดได้ครบตามมาตรฐาน แต่มีข้อจำกัดในบางรายที่มีกะโหลกขมับหนาคลื่นอัลตร้าซาวนด์ผ่านเข้าไม่ได้
ส่วนในรายที่สงสัยหลอดเลือดสมองตีบทางด้านท้ายทอย ที่มาด้วยอาการเวียนศีรษะ มีอาการเวลาเงยศีรษะ ยังแยกไม่ออกจากโรคเวียนศีรษะจากโรคหูชั้นใน แยกไม่ออกจากอาการไมเกรนที่เป็นบ่อย ๆ แยกไม่ออกจากอาการปวดคอที่มีอยู่
ความเห็นส่วนตัว มีประโยชน์มากในรายที่มีอาการดังกล่าว เนื่องจากใช้เสียงผ่านช่องกะโหลกด้านท้ายทอย ที่มีช่องอยู่ตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นข้อจำกัดในการตรวจ
เมื่อได้ผลการตรวจ พบสัญญาณหลอดเลือดตีบ จะเป็นแนวทางในการรักษา เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ป้องกันร่วมกับโรคหลอดเลือดอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ เป็นต้น
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับยา โรคหลอดเลือดสมองหดตัวอื่น ๆ เช่น ไมเกรน เป็นต้น จากข้อมูลกรมควบคุมโรค ปี 2559 ประชากรทั่วโลกป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 17 ล้านคน เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 6.5 ล้านคน ซึ่งผู้ที่มีชีวิตรอดจากโรคหลอดเลือดสมองได้รับผลกระทบทั้งทางด้านสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม เราจึงให้ความสำคัญในการป้องกันโรคนี้
การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน
โดยยังไม่มีอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต (Asymtomatic carotid stenosis screening)
การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน ในผู้ที่มีโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ (Symptomatic peripheral vascular diseases)
การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน ในผู้ป่วยที่มีโรคจอประสาทตาขาดเลือด (Retinal ischemic syndrome)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
- โรคที่พบบ่อยเป็นโรคที่ไม่อันตราย ไม่ถึงกับความพิการ เช่น ไมเกรน โรคปวดศีรษะที่มีสาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูง หรือ บางโรคที่ยังแยกไม่ออกระหว่าง โรคเวียนศีรษะจากโรคของหูชั้นใน กับโรคหลอดเลือดสมอง โรคที่ยังแยกไม่ออกระหว่างปวดศีรษะปวดต้นคอ กับโรคเวียนศีรษะ เป็นต้น
- โรคที่พบไม่บ่อย เช่น โรคหลอดเลือดสมองหดตัวชั่วคราว มาพบแพทย์ด้วยอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ชาแขนขาครึ่งซีก ชารอบปาก ในขณะเดียวกันอาการที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเช่นกัน
- โรคที่มีอันตราย และมีโอกาสเกิดความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบ ตัน โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคที่มีการอักเสบของเนื้อสมอง ก้อนเนื้องอกในกะโหลก หรือในเนื้อสมอง
การตรวจหลอดเลือดด้วยการอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดสมอง ใช้ตรวจในกรณีใด
- ใช้ตรวจประกอบกับภาพ CT หรือ MR สมอง
- ใช้ยืนยันภาวะหลอดเลือดตีบ หรือยังหาไม่พบจาก MR หลอดเลือดสมอง
- ใช้ติดตามสัญญาณหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน การไหลเวียนที่ผิดปกติ เพื่อติดตามการรักษา
ในรายที่ต้องติดตามหลังการรักษา ในช่วงถี่ๆ เช่นในระยะ 3 เดือน หรือ 6 เดือน แต่ประสบปัญหากลัวที่แคบในการเข้าตรวจ MR หลอดเลือดสมอง บางทีใช้การติดตามด้วยอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดแทน
การอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดสมอง แพทย์ทำการตรวจที่ข้างเตียง ใช้คลื่นอัลตร้าซาวนด์ผ่านกะโหลกศีรษะ โดยส่วนมากจะเข้าตรวจหลอดเลือดได้ครบตามมาตรฐาน แต่มีข้อจำกัดในบางรายที่มีกะโหลกขมับหนาคลื่นอัลตร้าซาวนด์ผ่านเข้าไม่ได้
ส่วนในรายที่สงสัยหลอดเลือดสมองตีบทางด้านท้ายทอย ที่มาด้วยอาการเวียนศีรษะ มีอาการเวลาเงยศีรษะ ยังแยกไม่ออกจากโรคเวียนศีรษะจากโรคหูชั้นใน แยกไม่ออกจากอาการไมเกรนที่เป็นบ่อย ๆ แยกไม่ออกจากอาการปวดคอที่มีอยู่
ความเห็นส่วนตัว มีประโยชน์มากในรายที่มีอาการดังกล่าว เนื่องจากใช้เสียงผ่านช่องกะโหลกด้านท้ายทอย ที่มีช่องอยู่ตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นข้อจำกัดในการตรวจ
เมื่อได้ผลการตรวจ พบสัญญาณหลอดเลือดตีบ จะเป็นแนวทางในการรักษา เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ป้องกันร่วมกับโรคหลอดเลือดอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ เป็นต้น
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับยา โรคหลอดเลือดสมองหดตัวอื่น ๆ เช่น ไมเกรน เป็นต้น จากข้อมูลกรมควบคุมโรค ปี 2559 ประชากรทั่วโลกป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 17 ล้านคน เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 6.5 ล้านคน ซึ่งผู้ที่มีชีวิตรอดจากโรคหลอดเลือดสมองได้รับผลกระทบทั้งทางด้านสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม เราจึงให้ความสำคัญในการป้องกันโรคนี้
การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน
โดยยังไม่มีอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต (Asymtomatic carotid stenosis screening)
- ตรวจคัดกรองในกลุ่มอายุตั้งแต่ 65 ปี มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดง (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่)
- ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด
- ได้รับการรักษาด้วยยา ที่มีหลักฐานทางวิชาการ ช่วยชะลอความเสื่อมของหลอดเลือดแดง ได้แก่ ยากลุ่มลดความดันโลหิต ยาลดไขมัน ยาต้านเกร็ดเลือด และการเลิกสูบบุหรี่
การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน ในผู้ที่มีโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ (Symptomatic peripheral vascular diseases)
- ตรวจคัดกรอง ในผู้ที่มีอาการและตรวจพบว่ามีการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงที่ขาผิดปกติ
- มีโอกาสพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดบ่อยขึ้น ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 อย่าง ได้แก่ อายุตั้งแต่ 70 ปี โรคเบาหวาน สูบบุหรี่
- ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดแดงที่ขาผิดปกติ ที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย และยังสูบบุหรี่ต่อเนื่อง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อโรคสมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต
- ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด
- ลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- ควบคุมปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงที่ขา ได้แก่ โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่
การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน ในผู้ป่วยที่มีโรคจอประสาทตาขาดเลือด (Retinal ischemic syndrome)
- ตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่พบจักษุแพทย์ ด้วยอาการของตาข้างใดข้างหนึ่งมืดมัวไปชั่วขณะ หรือลานสายตาของตาข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติไป
- ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบ
- ลดโอกาสเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยการรักษาหลอดเลือดแดงคาโรติด การตรวจคัดกรอง หลอดเลือดแดงคาโรติด ตีบหรืออุดตัน ในผู้ที่ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจขาดเลือด (Coronary artery bypass surgery) - ตรวจคัดกรองในผู้ที่ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจขาดเลือด
- ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด สัมพันธ์กับภาวะสมองขาดเลือดหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (Postoperative stroke after coronary artery bypass surgery)
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจขาดเลือด มักเป็นผู้สูงอายุ และมีโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับภาวะหลอดเลือดแดงเสื่อม ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคสมองขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ โรคเบาหวาน มีประวัติสูบบุหรี่
- ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อตรวจพบโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบ
- ผ่าตัด หรือใส่สายสวนหลอดเลือดแดงคาโรติด ก่อนทำการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือด
- รักษาโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด ในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ เพื่อลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Neurology Center
Publish date desc: 11/04/2022
Author doctor
Dr. Chaitawat Tienviboon
Specialty
Neuropathic physician