• banner

ต้อกระจก สาเหตุ “ตาบอด” เมื่อสูงวัย

“ต้อกระจก” มักจะเกิดในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่แก้วตาหรือเลนส์ตามีความขุ่นมัว เมื่อเกิดต้อกระจก ประสาทตาจะรับแสงไม่เต็มที่ ทำให้การมองเห็นลดน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้ตาบอดได้ วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับต้อกระจก โดย พญ. ศุภมาส โรจนนินทร์ จักษุแพทย์เชี่ยวชาญด้านต้อหิน โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ที่จะมาบอกเล่าความรู้ให้ฟังกันค่ะ


ต้อกระจก คือภาวะเลนส์ตาขุ่น อาจจะเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล จนถึงสีขาว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้แสงผ่านเข้าไปยังจอตาได้น้อยลง

อาการ
  • ตามัวลง เหมือนมีอะไรมาบัง ตามัวเยอะเวลากลางคืน ขับรถกลางคืนลำบาก
  • การมองเห็นสีผิดปกติ อาจเห็นเป็นสีเหลือง สีมืดลง
  • ต้องใช้ไฟสว่างขึ้นเวลาทำกิจกรรม หรืออ่านหนังสือ
  • มีสายตาเปลี่ยน เช่น สายตาสั้นขึ้นผิดปกติ ทำให้มองใกล้ชัดขึ้น หรือเปลี่ยนแว่นบ่อย
  • เห็นภาพซ้อน เวลาลืมตาข้างเดียว

ความเสี่ยง
  • ผู้สูงอายุ พบบ่อยที่สุด จะมีอาการตามัวอย่างช้าๆ
  • อุบัติเหตุทางตา
  • การอักเสบของตา
  • การผ่าตัดตามาก่อน
  • การใช้ steroid เป็นเวลานาน
  • โรคเบาหวาน
  • แสง UV แสงแดด
  • สูบบุหรี่
  • เป็นมาตั้งแต่กำเนิด

การตรวจต้อกระจก ตรวจพบโดยจักษุแพทย์
  • ประเมินค่าสายตา Visual acuity test
  • Slit-lamp examination ตรวจโดยจักษุแพทย์
  • ขยายม่านตา ตรวจจอตา

การป้องกัน
  • ตรวจตาเป็นประจำทุกปี ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี
  • ใส่แว่นกันแดด ที่ป้องกัน UVB
  • งดสูบบุหรี่
  • รักษาโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน

การรักษาต้อกระจก มีวิธีเดียวคือการผ่าตัดต้อกระจก
วิธีผ่าตัดต้อกระจกที่ปัจจุบันใช้มากที่สุด คือ Phacoemulsification คือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรือ Ultrasound ในการสลายเลนส์ให้เป็นผงเล็กๆ แล้วดูดออกผ่านท่อเล็กๆ โดยการผ่าตัดมีการเปิดแผลเล็กขนาด 2-3 มิลลิเมตรที่กระจกตา เปิดผิวเลนส์ ทำการสลายเลนส์และใส่เลนส์แก้วตาเทียมแทนเข้าไป โดยมักไม่ต้องเย็บแผล

คุณสมบัติของ IOL
1. Monofocal IOL : เป็นเลนส์แก้วตาเทียมมีโฟกัสระยะเดียว ทำให้มองไกลชัด แต่มองใกล้ต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ
2. Multifocal IOL : เป็นเลนส์แก้วตาเทียมที่มีหลายระยะโฟกัส ทำให้มองใกล้และมองไกลชัดขึ้น แต่อาจจะมีข้อเสียด้านแสงกระจายในเวลากลางคืน
3. Toric IOL : เป็นเลนส์แก้วตาเทียมที่แก้ไขสายตาเอียงในผู้ป่วยที่มีกระจกตาเอียง มีทั้งแบบโฟกัสระยะเดียวและหลายระยะโฟกัส

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
  • ด้านผู้ป่วย ตามัวลง ต้อกระจกเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การขับรถกลางคืน การอ่านหนังสือ
  • ประเมินความต้องการทางการมองเห็น หรือ Visual need ของคนไข้เป็นหลัก โดยมีปัจจัยร่วมพิจารณา เช่น อายุ อาชีพ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน เป็นตาเดียวหรือ 2 ตา
  • ด้านแพทย์ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหากไม่รีบรักษา เช่น โอกาสเกิดต้อหินมุมปิด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777 
Medical Center: Eye Center
Publish date desc: 05/05/2022

Author doctor

Dr. Supamas Rojananin

img

Specialty

Glaucoma

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us

Other package