ภาวะสมองบวมเกิดจากอะไร
สมองบวม อาจเกิดขึ้นกับสมองบางส่วนหรือทั่วทั้งสมอง จนทำให้สมองบวมและมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น สามารถเกิดได้หลากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากการบาดเจ็บและอาการเจ็บป่วยต่างๆ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันการณ์
ภาวะสมองบวม คือ ภาวะที่มีการสะสมของสารน้ำในเนื้อสมอง ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ หรือนอกเซลล์ ซึ่งอาการของสมองบวมมีความแตกต่างกัน โดยขึ้นกับความรุนแรง สาเหตุ และตำแหน่งของสมองบวม ในรายที่การบวมเกิดเฉพาะที่ และไม่ได้อยู่ในตำแหน่งสมองที่สำคัญ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการแค่ปวดศีรษะมาก ส่วนในรายที่การบวมเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง หรือเกิดในตำแหน่งที่สำคัญ ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตได้ โดยอาการทั่วไป คือ ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง และตาพร่ามัว
สาเหตุ
• สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
• โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ หรืออุดตัน
• โรคเนื้องอกในสมอง
• โรคติดเชื้อที่สมอง
• ภาวะสมองขาดออกซิเจน
• ภาวะเกลือแร่ น้ำตาล หรือสารน้ำในร่างกายผิดปกติ
• ได้รับสารพิษ
อาการ
• การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวลดลง
• การเปลี่ยนแปลงขนาดของรูม่านตา
• ความผิดปกติในการมองเห็น
• การอ่อนแรง หรือเกร็งของกล้ามเนื้อ มีอาการเกร็งเหยียดทั้งหมดทั้งแขนขา โดยบิดแขนเข้าชิดลำตัว อาการเกร็ง งอแขนขาเข้าหาลำตัวในขณะที่ขาเหยียด กล้ามเนื้ออ่อนแรง
• การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ ความดันโลหิตเพิ่ม ชีพจรเต้นช้า
• อาการอื่นๆที่อาจพบร่วม เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนพุ่ง
• การหายใจไม่สม่ำเสมอ
• ภาวะหมดสติ (Coma) หยุดหายใจ หรือหายใจแบบที่คนไข้จะหายใจเร็วและลึก (เหมือนหอบ) อยู่สักครู่หนึ่ง แล้วจะหายใจช้าลง จนในที่สุดจะหยุดหายใจไปสักครู่หนึ่ง แล้วจึงหายใจใหม่ โดยเริ่มหายใจช้าๆ และตื้นๆ ก่อน แล้วจะหายใจเร็วขึ้นและลึก จนหายใจเหมือนหอบอยู่สักครู่หนึ่ง แล้วจะหายใจช้าลงและตื้นขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะหยุดหายใจอีกสลับกันไปเรื่อยๆ เช่นนี้ ซึ่งอุณหภูมิร่างกายอาจจะเพิ่มขึ้น รูม่านตาขยาย หรือไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง
การวินิจฉัย
• ซักประวัติและตรวจร่างกาย
• การตรวจอื่นๆ เช่น CT Scan หรือ MRI สมอง
ในกรณีที่การบวมของสมองเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมองส่วนที่บวมจะทำให้แรงดันในสมองส่วนนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ความดันภายในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น และถ้าไม่สามารถควบคุมความดันภายในกะโหลกที่สูงขึ้นได้ สมองส่วนที่บวมก็จะเคลื่อนตัวไปกดเบียดส่วนต่างๆ ภายในกะโหลกที่อยู่ใกล้เคียง เช่น หลอดเลือดแดง-ดำ เส้นประสาทสมอง และสมองส่วนต่างๆ ทำให้หากกดเบียดสมองที่มีหน้าที่สำคัญมากๆ เช่น ก้านสมอง ทำให้เกิดหน้าที่ของสมองทั้งหมดเสียไปและเกิดภาวะสมองตายได้ หากแก้ไขไม่ทัน
ภาวะสมองบวมเป็นภาวะวิกฤตทางระบบประสาทที่สำคัญ ควรให้การดูแลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และแก้ไขสาเหตุอย่างทันท่วงที จึงสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้พ้นจากความพิการ หรือลดการสูญเสียผู้ป่วยได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ภาวะสมองบวม คือ ภาวะที่มีการสะสมของสารน้ำในเนื้อสมอง ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ หรือนอกเซลล์ ซึ่งอาการของสมองบวมมีความแตกต่างกัน โดยขึ้นกับความรุนแรง สาเหตุ และตำแหน่งของสมองบวม ในรายที่การบวมเกิดเฉพาะที่ และไม่ได้อยู่ในตำแหน่งสมองที่สำคัญ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการแค่ปวดศีรษะมาก ส่วนในรายที่การบวมเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง หรือเกิดในตำแหน่งที่สำคัญ ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตได้ โดยอาการทั่วไป คือ ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง และตาพร่ามัว
สาเหตุ
• สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
• โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ หรืออุดตัน
• โรคเนื้องอกในสมอง
• โรคติดเชื้อที่สมอง
• ภาวะสมองขาดออกซิเจน
• ภาวะเกลือแร่ น้ำตาล หรือสารน้ำในร่างกายผิดปกติ
• ได้รับสารพิษ
อาการ
• การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวลดลง
• การเปลี่ยนแปลงขนาดของรูม่านตา
• ความผิดปกติในการมองเห็น
• การอ่อนแรง หรือเกร็งของกล้ามเนื้อ มีอาการเกร็งเหยียดทั้งหมดทั้งแขนขา โดยบิดแขนเข้าชิดลำตัว อาการเกร็ง งอแขนขาเข้าหาลำตัวในขณะที่ขาเหยียด กล้ามเนื้ออ่อนแรง
• การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ ความดันโลหิตเพิ่ม ชีพจรเต้นช้า
• อาการอื่นๆที่อาจพบร่วม เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนพุ่ง
• การหายใจไม่สม่ำเสมอ
• ภาวะหมดสติ (Coma) หยุดหายใจ หรือหายใจแบบที่คนไข้จะหายใจเร็วและลึก (เหมือนหอบ) อยู่สักครู่หนึ่ง แล้วจะหายใจช้าลง จนในที่สุดจะหยุดหายใจไปสักครู่หนึ่ง แล้วจึงหายใจใหม่ โดยเริ่มหายใจช้าๆ และตื้นๆ ก่อน แล้วจะหายใจเร็วขึ้นและลึก จนหายใจเหมือนหอบอยู่สักครู่หนึ่ง แล้วจะหายใจช้าลงและตื้นขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะหยุดหายใจอีกสลับกันไปเรื่อยๆ เช่นนี้ ซึ่งอุณหภูมิร่างกายอาจจะเพิ่มขึ้น รูม่านตาขยาย หรือไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง
การวินิจฉัย
• ซักประวัติและตรวจร่างกาย
• การตรวจอื่นๆ เช่น CT Scan หรือ MRI สมอง
ในกรณีที่การบวมของสมองเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมองส่วนที่บวมจะทำให้แรงดันในสมองส่วนนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ความดันภายในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น และถ้าไม่สามารถควบคุมความดันภายในกะโหลกที่สูงขึ้นได้ สมองส่วนที่บวมก็จะเคลื่อนตัวไปกดเบียดส่วนต่างๆ ภายในกะโหลกที่อยู่ใกล้เคียง เช่น หลอดเลือดแดง-ดำ เส้นประสาทสมอง และสมองส่วนต่างๆ ทำให้หากกดเบียดสมองที่มีหน้าที่สำคัญมากๆ เช่น ก้านสมอง ทำให้เกิดหน้าที่ของสมองทั้งหมดเสียไปและเกิดภาวะสมองตายได้ หากแก้ไขไม่ทัน
ภาวะสมองบวมเป็นภาวะวิกฤตทางระบบประสาทที่สำคัญ ควรให้การดูแลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และแก้ไขสาเหตุอย่างทันท่วงที จึงสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้พ้นจากความพิการ หรือลดการสูญเสียผู้ป่วยได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Neurology Center
Publish date desc: 01/01/2023
Author doctor
Dr. Surat Singmaneesakulchai
Specialty
Neuropathic physician