โรคกระดูก..ใครๆ ก็เป็นได้
โรคกระดูกและข้อ...เด็กก็เป็นได้
เมื่อพูดถึงเรื่องกระดูก อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่ความจริงแล้วกระดูกเป็นเรืองที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเกิดผิดปกติขึ้นมาไม่ว่าจะทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน จากการเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดก็ตาม อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพของลูกเมื่อโตขึ้นได้
กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก พ่อแม่จับลูกเล่น อุ้มเด็กเหวี่ยงไปมา การดึงหรือยกเด็กขึ้นมาจากพื้นโดยใช้แขนหรือมือเพียงข้างเดียวเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ อาจมีโอกาสทำให้กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็กได้ เพราะกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อศอกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่ เวลาคุณพ่อคุณแม่จูงลูกควรจับที่แขนท่อนบน ที่ติดกับหัวไหล่ เวลายกตัวลูกควรยกที่ใต้รักแร้ ระวังไม่ยกเด็กขึ้นมาจากพื้นโดยจับที่มือ หรือ จับที่แขนท่อนล่าง และไม่เล่นจับลูกเหวี่ยงแบบชิงช้าเพราะอาจได้รับบาดเจ็บ
ขาโก่ง อาการขาโก่งปกติมักจะเป็นตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งขาและเข่าจะโก่งหรือโค้งงอเท่าๆ กันทั้งขาซ้ายและขาขวา อาการจะดีขึ้นและหายไปเมื่อเด็กเริ่มยืดขาได้และหัดเดิน และไม่จำเป็นต้องรับการรักษา แต่หากเด็กยังคงขาโก่งอย่างต่อเนื่องจนอายุ 2-3 ปี อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการเจ็บป่วยด้วยภาวะอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา
ท่านั่ง W-Sitting คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ทันสังเกตว่าลูกน้อยของคุณนั่งแบบนี้ถูกต้องแล้วหรือไม่ ในเด็กวัยอายุ 2-6 ขวบ ชอบนั่งท่านี้เพราะเป็นท่าที่สบาย แต่ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางกายของเด็ก อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสะโพก เข่า และข้อต่อของเด็ก เด็กอาจมีปัญหาด้านสมดุลของร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็กและการเคลื่อนไหวที่ไปพร้อมกัน นอกจากนี้เด็กอาจมีปัญหาในการเดินและการทรงตัว วิธีป้องกันไม่ให้ลูกมีปัญหาการนั่งท่า w คือคอยจัดท่าให้ลูกนั่งในท่าที่เหมาะสมแทน และพยายามแก้ไขทุกครั้งที่ลูกนั่งผิดท่า
เมื่อลูกสะพายกระเป๋าหนักเกินไป ปัญหาสำหรับเด็กในวัยเรียน หารู้ไม่ว่ากระเป๋าหนังสือของนักเรียนในวัยระดับชั้น ป.1-ป.3 ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังของเด็ก พบว่าการสะพายกระเป๋าหนัก ๆ นั้น อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามมาได้ และยังมีความเสี่ยงต่อการปวดหลังเรื้อรังอีกด้วย วิธีแก้ไขใส่แต่ของที่จำเป็น น้ำหนักของกระเป๋าไม่ควรเกิน 10% ของน้ำหนักตัวผู้ถือหรือสะพาย และควรสะพายกระเป๋าให้สายคล้องชิดกับคอ มากกว่าสะพายห่างออกไปจากหัวไหล่ กระเป๋าต้องแนบกับหลัง ไม่ห้อยต่ำหรือเลือกกระเป๋าสะพายที่มีล้อลากด้วย เท้าปุก เท้าปุกเป็นลักษณะของเท้าที่ผิดปกติในเด็ก ที่มักจะตรวจพบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนเด็กโต ลักษณะความผิดปกติที่เรียกว่าเท้าปุกนั้น หน้าตาของเท้าจะมีส่วนของปลายเท้าบิดชี้เข้าหาด้านใน โดยมีร่องที่กลางฝ่าเท้าด้านในและปลายเท้าจิกพื้น ทำให้เด็กไม่สามารถกระดกข้อเท้า หรือกระดกได้เต็มที่เหมือนเด็กทั่วไป การรักษาในกรณีที่ลักษณะผิดปกติเป็นน้อย แพทย์จะสามารถรักษาเท้าปุกให้เด็กโดยการใช้วิธีดัดหรือใส่เฝือก ซึ่งจะช่วยให้รูปเท้าเข้ารูปทรงเป็นปกติ แต่ถ้าหากในลักษณะเท้าปุกที่ผิดปกติมาก การรักษาจะต้องอาศัยแพทย์ในการค่อยๆ ดัดให้เท้าเด็กกลับเข้าที่ทีละน้อย และใส่เฝือกเอาไว้ทุกครั้งที่มาดัด
กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังคดพบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงวัยรุ่น โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นระดับมัธยมต้นจะพบได้บ่อย ส่วนใหญ่จะเป็นไม่มาก ไม่แสดงอาการ ในรายที่เป็นมาก จะทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปชัดเจน แนวสะโพกเอียง มีปัญหาปวดหลัง มีปัญหาต่อการหายใจและการทำงานของปอด หัวใจได้ ผู้ปกครองอาจสังเกตอาการง่าย ๆ โดยให้เด็กก้มเอามือจับเข่า 2 ข้าง จะพบแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง และกระดูกสะบัก 2 ข้าง สูงต่ำไม่เท่ากัน
พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระดูก ปัจจุบันในกลุ่มวัยทำงานก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูก เพราะเป็นวัยที่ใช้ร่างกายหนัก และพักผ่อนน้อย อีกทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน นั่งทำงานในออฟฟิศ มักนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน หรืออาจจะยกของหนัก ก้ม ๆ เงย ๆ ผิดวิธี ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกได้ ถึงแม้อายุจะยังไม่เข้าสู่คนสูงวัยก็ตาม
กระดูกคอเสื่อม ปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกคอเสื่อมเร็วในวัยคนทำงานที่พบได้บ่อยมาจากการนั่งทำงานด้วยตำแหน่งท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน การที่เรานั่งก้มหน้า ยื่นคอไปข้างหน้ามาก ๆ จะเกิดแรงกดบริเวณกระดูกคอมากกว่าปกติ 8-10 เท่า การก้มหน้าเล่นโซเชียลมีเดียผ่านมือถือนาน ๆ หรือแม้แต่การขับรถ เพราะแขนของเราจะต้องจับที่พวงมาลัยตลอดเวลา จึงเกิดการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อคอและกระดูก การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยในเบื้องต้นแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด รวมทั้งให้พยายามเคลื่อนไหวร่างกายและใช้ชีวิตตามปกติ แต่หากมีอาการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจรักษาโดยใช้วิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น
หมอนรองกระดูกเสื่อม ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง เป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงาน เช่น การนั่งทำงานนาน ๆ การขับรถนาน ๆ การทำงานที่ต้องยกของบ่อย ๆ เป็นต้น เกิดขึ้นได้กับกระดูกสันหลังทุกส่วน แต่พบบ่อยบริเวณเอวและคอ หมอนรองกระดูกเสื่อมบางคนอาจไม่มีอาการเจ็บปวด บางคนรู้สึกปวดอย่างรุนแรงจนรบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน ลักษณะเฉพาะคือ จะมีอาการปวดร้าวไปที่แขนหรือขาตามแนวเส้นประสาทที่ถูกกด การรักษาโรค แพทย์จะซักอาการ ประวัติการเจ็บป่วย พฤติกรรมการใช้ชีวิต และกิจกรรมที่คาดว่าอาจเป็นสาเหตุให้มีอาการ หากอาการเข้าข่ายภาวะร้ายแรงหรือมีอาการหลังจากได้รับบาดเจ็บ แพทย์อาจใช้การตรวจด้วยการถ่ายภาพบริเวณกระดูกสันหลัง เช่น การเอกซเรย์ การทำ MRI Scan เป็นต้น การรักษาส่วนใหญ่ เช่นการรักษาโดยไม่ผ่าตัด เช่น ให้ยา ทำกายภาพบำบัด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ในรายที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงของกล้ามเนื้อ อาจจำเป็นต้องผ่าตัด
นิ้วล็อค โรคนิ้วล็อค พบในผู้ที่มีการใช้งานลักษณะเกร็งมือและนิ้วบ่อยๆ โดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ใช้คีย์บอร์ดพิมพ์งาน หรือคนรุ่นใหม่ที่ใช้มือถือ เล่นแท็บเล็ตกันเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน มีโอกาสเกิดอาการนิ้วล็อคได้สูง อาการนิ้วล็อคจะมีอาการหลายระยะ คือมีอาการปวดที่โคนนิ้วมือ ซึ่งถ้ายังปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาการนิ้วล็อคก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปอาจจะมีอาการสะดุด อาการปวดเวลาขยับนิ้ว หลังจากนั้นระยะต่อมาคือไม่สามารถงอ หรือเหยียดนิ้วได้เอง
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยอายุ 30-50 ปี เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดข้อมือบริเวณฝั่งนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะในขณะทำงานที่ต้องกำมือหรือขยับข้อมือ โดยปัจจัยการเกิดโรคนี้ ได้แก่ การใช้งานข้อมือที่มากเกินไป อุบัติเหตุ หรือเกิดจากภาวะอักเสบด้วยสาเหตุอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรักษาเริ่มจากกินยาลดอักเสบ, ปรับพฤติกรรมการใช้งาน, ดามข้อมือด้วยสนับหัวแม่มือ มักได้ผลดีหายได้ การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ และการผ่าตัดรักษา
ข้อเข่าเสื่อม แม้จะอยู่ในวัยทำงาน แต่หลายคนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นโรค หรือเป็นปัญหาของผู้สูงอายุ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนในวัยทำงานก็สามารถเป็นได้เช่นกัน อาจจะเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การใช้งานข้อเข่าที่หนักไป อุบัติเหตุต่าง ๆ หรือแม้แต่น้ำหนักตัวของเรา ก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ โรคข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวด บวม ที่ข้อเข่า ได้แก่ ปวดบริเวณข้อเข่าขณะเดิน หรือเดินขึ้นลงบันได ข้อฝืด มีเสียงดังเวลาเคลื่อนของข้อเข่า หรือตึงข้อขณะเคลื่อนไหว เช่นมีอาการหลังตื่นนอน ไม่สามารถขยับข้อเข้าได้ตามปกติ ความสามารถในการใช้งานข้อเข่าลดลง เช่น ไม่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ ขึ้นลงรถลำบาก หากปล่อยไว้นาน จะเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ ข้อเข่าผิดรูป เช่น ขาโก่งจากข้อเข่าเสื่อมได้
โรคกระดูกปัญหาใหญ่ของผู้สูงวัย เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมสภาพของร่างกายก็ย่อมเป็นไปวัย โดยเฉพาะเรื่องของกระดูกที่ไม่ว่าจะเป็นในวัยเด็ก หรือวัยทำงานก็สามารถเกิดขึ้นได้ แล้วนับประสาอะไรกับผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้นแล้ว จะไม่พบเจอกับปัญหาโรคกระดูก
กระดูกสะโพกหัก กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุทีไม่รุนแรง เช่น ตกเตียง ตกจากเก้าอี้ ลื่นล้มในห้องน้ำ และมักพบว่ามีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย ผู้สูงอายุที่กระดูกหักต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ เพื่อให้กระดูกเคลื่อนกลับเข้าที่และอยู่ในตำแหน่งเดิมจนกว่าจะหายดี โดยแพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ได้แก่ ผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เป็นต้น
ข้อเข่าเสื่อม ภาวะข้อเขาเสื่อมคือเมื่ออายุมากขึ้นหรือมีการใช้ข้อต่าง ๆ มากขึ้น กระบวนการสลายของกระดูกอ่อนจะเกิดมากกว่ากระบวนการสร้าง และเมื่อบวกกับความเสื่อมของสุขภาพ จึงส่งผลให้กระดูกอ่อนบริเวณข้อมีปริมาณลดลง ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อมีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดการเสียดสีจนสึกกร่อน รู้สึกฝืดที่ข้อเข่า เข่าผิดรูปและทำให้เกิดความเจ็บปวด หากมีอาการติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาทางรักษา เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้อาการมีความรุนเแรงยิ่งขึ้น
กระดูกพรุน คือ โรคที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลง มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก มีผลทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนัก หรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการกระดูกหักง่ายกว่าปกติ ตำแหน่งที่พบกระดูกหักบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือโดยเฉพาะตำแหน่งของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังที่พบว่ามีโอกาสหักมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สำหรับโรคกระดูกพรุนจะไม่พบว่ามีอาการใดๆ เลย เพราะพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะหักง่าย ส่วนใหญ่สามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม น้ำเต้าหู้ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย จะช่วยป้องกัน ช่วยชะลอ หรือช่วยลดความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนได้
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น การเสื่อมของร่างกายก็มักมีเข้ามามากมาย โดยเฉพาะเรื่องของกระดูก ที่เห็นได้บ่อย ๆ ก็จะเป็นในเรื่องของอาการปวดหลัง ปวดขา โดยโรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่อายุมากขึ้น อันเนื่องมากจากความเสื่อมสภาพของข้อกระดูกสันหลังทรุดตัวลง และไปกดทับเส้นประสาทได้ รวมไปถึงการเกิดของกระดูกงอก หรือหินปูนที่เกิดขึ้น จนทำให้ไปทับเส้นประสาทได้ในที่สุด การรักษาโรคกระดูกทับเส้น แพทย์จะดูแลรักษาตามสภาพอาการ ตั้งแต่แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ควบคู่ไปกับการกินยาแก้ปวด และการออกกำลังกายในช่วงที่ยังเป็นไม่มากนัก แต่หากอาการหนักขึ้นมาอีกก็ต้องทำกายภาพบำบัด หากยังไม่หายก็ต้องพิจารณาฉีดยาเข้าช่องประสาทไขสันหลัง หรือทำการผ่าตัดรักษา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก พ่อแม่จับลูกเล่น อุ้มเด็กเหวี่ยงไปมา การดึงหรือยกเด็กขึ้นมาจากพื้นโดยใช้แขนหรือมือเพียงข้างเดียวเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ อาจมีโอกาสทำให้กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็กได้ เพราะกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อศอกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่ เวลาคุณพ่อคุณแม่จูงลูกควรจับที่แขนท่อนบน ที่ติดกับหัวไหล่ เวลายกตัวลูกควรยกที่ใต้รักแร้ ระวังไม่ยกเด็กขึ้นมาจากพื้นโดยจับที่มือ หรือ จับที่แขนท่อนล่าง และไม่เล่นจับลูกเหวี่ยงแบบชิงช้าเพราะอาจได้รับบาดเจ็บ
ขาโก่ง อาการขาโก่งปกติมักจะเป็นตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งขาและเข่าจะโก่งหรือโค้งงอเท่าๆ กันทั้งขาซ้ายและขาขวา อาการจะดีขึ้นและหายไปเมื่อเด็กเริ่มยืดขาได้และหัดเดิน และไม่จำเป็นต้องรับการรักษา แต่หากเด็กยังคงขาโก่งอย่างต่อเนื่องจนอายุ 2-3 ปี อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการเจ็บป่วยด้วยภาวะอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา
ท่านั่ง W-Sitting คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ทันสังเกตว่าลูกน้อยของคุณนั่งแบบนี้ถูกต้องแล้วหรือไม่ ในเด็กวัยอายุ 2-6 ขวบ ชอบนั่งท่านี้เพราะเป็นท่าที่สบาย แต่ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางกายของเด็ก อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสะโพก เข่า และข้อต่อของเด็ก เด็กอาจมีปัญหาด้านสมดุลของร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็กและการเคลื่อนไหวที่ไปพร้อมกัน นอกจากนี้เด็กอาจมีปัญหาในการเดินและการทรงตัว วิธีป้องกันไม่ให้ลูกมีปัญหาการนั่งท่า w คือคอยจัดท่าให้ลูกนั่งในท่าที่เหมาะสมแทน และพยายามแก้ไขทุกครั้งที่ลูกนั่งผิดท่า
เมื่อลูกสะพายกระเป๋าหนักเกินไป ปัญหาสำหรับเด็กในวัยเรียน หารู้ไม่ว่ากระเป๋าหนังสือของนักเรียนในวัยระดับชั้น ป.1-ป.3 ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังของเด็ก พบว่าการสะพายกระเป๋าหนัก ๆ นั้น อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามมาได้ และยังมีความเสี่ยงต่อการปวดหลังเรื้อรังอีกด้วย วิธีแก้ไขใส่แต่ของที่จำเป็น น้ำหนักของกระเป๋าไม่ควรเกิน 10% ของน้ำหนักตัวผู้ถือหรือสะพาย และควรสะพายกระเป๋าให้สายคล้องชิดกับคอ มากกว่าสะพายห่างออกไปจากหัวไหล่ กระเป๋าต้องแนบกับหลัง ไม่ห้อยต่ำหรือเลือกกระเป๋าสะพายที่มีล้อลากด้วย เท้าปุก เท้าปุกเป็นลักษณะของเท้าที่ผิดปกติในเด็ก ที่มักจะตรวจพบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนเด็กโต ลักษณะความผิดปกติที่เรียกว่าเท้าปุกนั้น หน้าตาของเท้าจะมีส่วนของปลายเท้าบิดชี้เข้าหาด้านใน โดยมีร่องที่กลางฝ่าเท้าด้านในและปลายเท้าจิกพื้น ทำให้เด็กไม่สามารถกระดกข้อเท้า หรือกระดกได้เต็มที่เหมือนเด็กทั่วไป การรักษาในกรณีที่ลักษณะผิดปกติเป็นน้อย แพทย์จะสามารถรักษาเท้าปุกให้เด็กโดยการใช้วิธีดัดหรือใส่เฝือก ซึ่งจะช่วยให้รูปเท้าเข้ารูปทรงเป็นปกติ แต่ถ้าหากในลักษณะเท้าปุกที่ผิดปกติมาก การรักษาจะต้องอาศัยแพทย์ในการค่อยๆ ดัดให้เท้าเด็กกลับเข้าที่ทีละน้อย และใส่เฝือกเอาไว้ทุกครั้งที่มาดัด
กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังคดพบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงวัยรุ่น โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นระดับมัธยมต้นจะพบได้บ่อย ส่วนใหญ่จะเป็นไม่มาก ไม่แสดงอาการ ในรายที่เป็นมาก จะทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปชัดเจน แนวสะโพกเอียง มีปัญหาปวดหลัง มีปัญหาต่อการหายใจและการทำงานของปอด หัวใจได้ ผู้ปกครองอาจสังเกตอาการง่าย ๆ โดยให้เด็กก้มเอามือจับเข่า 2 ข้าง จะพบแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง และกระดูกสะบัก 2 ข้าง สูงต่ำไม่เท่ากัน
พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระดูก ปัจจุบันในกลุ่มวัยทำงานก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูก เพราะเป็นวัยที่ใช้ร่างกายหนัก และพักผ่อนน้อย อีกทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน นั่งทำงานในออฟฟิศ มักนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน หรืออาจจะยกของหนัก ก้ม ๆ เงย ๆ ผิดวิธี ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกได้ ถึงแม้อายุจะยังไม่เข้าสู่คนสูงวัยก็ตาม
กระดูกคอเสื่อม ปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกคอเสื่อมเร็วในวัยคนทำงานที่พบได้บ่อยมาจากการนั่งทำงานด้วยตำแหน่งท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน การที่เรานั่งก้มหน้า ยื่นคอไปข้างหน้ามาก ๆ จะเกิดแรงกดบริเวณกระดูกคอมากกว่าปกติ 8-10 เท่า การก้มหน้าเล่นโซเชียลมีเดียผ่านมือถือนาน ๆ หรือแม้แต่การขับรถ เพราะแขนของเราจะต้องจับที่พวงมาลัยตลอดเวลา จึงเกิดการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อคอและกระดูก การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยในเบื้องต้นแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด รวมทั้งให้พยายามเคลื่อนไหวร่างกายและใช้ชีวิตตามปกติ แต่หากมีอาการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจรักษาโดยใช้วิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น
หมอนรองกระดูกเสื่อม ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง เป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงาน เช่น การนั่งทำงานนาน ๆ การขับรถนาน ๆ การทำงานที่ต้องยกของบ่อย ๆ เป็นต้น เกิดขึ้นได้กับกระดูกสันหลังทุกส่วน แต่พบบ่อยบริเวณเอวและคอ หมอนรองกระดูกเสื่อมบางคนอาจไม่มีอาการเจ็บปวด บางคนรู้สึกปวดอย่างรุนแรงจนรบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน ลักษณะเฉพาะคือ จะมีอาการปวดร้าวไปที่แขนหรือขาตามแนวเส้นประสาทที่ถูกกด การรักษาโรค แพทย์จะซักอาการ ประวัติการเจ็บป่วย พฤติกรรมการใช้ชีวิต และกิจกรรมที่คาดว่าอาจเป็นสาเหตุให้มีอาการ หากอาการเข้าข่ายภาวะร้ายแรงหรือมีอาการหลังจากได้รับบาดเจ็บ แพทย์อาจใช้การตรวจด้วยการถ่ายภาพบริเวณกระดูกสันหลัง เช่น การเอกซเรย์ การทำ MRI Scan เป็นต้น การรักษาส่วนใหญ่ เช่นการรักษาโดยไม่ผ่าตัด เช่น ให้ยา ทำกายภาพบำบัด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ในรายที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงของกล้ามเนื้อ อาจจำเป็นต้องผ่าตัด
นิ้วล็อค โรคนิ้วล็อค พบในผู้ที่มีการใช้งานลักษณะเกร็งมือและนิ้วบ่อยๆ โดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ใช้คีย์บอร์ดพิมพ์งาน หรือคนรุ่นใหม่ที่ใช้มือถือ เล่นแท็บเล็ตกันเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน มีโอกาสเกิดอาการนิ้วล็อคได้สูง อาการนิ้วล็อคจะมีอาการหลายระยะ คือมีอาการปวดที่โคนนิ้วมือ ซึ่งถ้ายังปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาการนิ้วล็อคก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปอาจจะมีอาการสะดุด อาการปวดเวลาขยับนิ้ว หลังจากนั้นระยะต่อมาคือไม่สามารถงอ หรือเหยียดนิ้วได้เอง
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยอายุ 30-50 ปี เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดข้อมือบริเวณฝั่งนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะในขณะทำงานที่ต้องกำมือหรือขยับข้อมือ โดยปัจจัยการเกิดโรคนี้ ได้แก่ การใช้งานข้อมือที่มากเกินไป อุบัติเหตุ หรือเกิดจากภาวะอักเสบด้วยสาเหตุอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรักษาเริ่มจากกินยาลดอักเสบ, ปรับพฤติกรรมการใช้งาน, ดามข้อมือด้วยสนับหัวแม่มือ มักได้ผลดีหายได้ การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ และการผ่าตัดรักษา
ข้อเข่าเสื่อม แม้จะอยู่ในวัยทำงาน แต่หลายคนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นโรค หรือเป็นปัญหาของผู้สูงอายุ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนในวัยทำงานก็สามารถเป็นได้เช่นกัน อาจจะเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การใช้งานข้อเข่าที่หนักไป อุบัติเหตุต่าง ๆ หรือแม้แต่น้ำหนักตัวของเรา ก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ โรคข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวด บวม ที่ข้อเข่า ได้แก่ ปวดบริเวณข้อเข่าขณะเดิน หรือเดินขึ้นลงบันได ข้อฝืด มีเสียงดังเวลาเคลื่อนของข้อเข่า หรือตึงข้อขณะเคลื่อนไหว เช่นมีอาการหลังตื่นนอน ไม่สามารถขยับข้อเข้าได้ตามปกติ ความสามารถในการใช้งานข้อเข่าลดลง เช่น ไม่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ ขึ้นลงรถลำบาก หากปล่อยไว้นาน จะเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ ข้อเข่าผิดรูป เช่น ขาโก่งจากข้อเข่าเสื่อมได้
โรคกระดูกปัญหาใหญ่ของผู้สูงวัย เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมสภาพของร่างกายก็ย่อมเป็นไปวัย โดยเฉพาะเรื่องของกระดูกที่ไม่ว่าจะเป็นในวัยเด็ก หรือวัยทำงานก็สามารถเกิดขึ้นได้ แล้วนับประสาอะไรกับผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้นแล้ว จะไม่พบเจอกับปัญหาโรคกระดูก
กระดูกสะโพกหัก กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุทีไม่รุนแรง เช่น ตกเตียง ตกจากเก้าอี้ ลื่นล้มในห้องน้ำ และมักพบว่ามีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย ผู้สูงอายุที่กระดูกหักต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ เพื่อให้กระดูกเคลื่อนกลับเข้าที่และอยู่ในตำแหน่งเดิมจนกว่าจะหายดี โดยแพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ได้แก่ ผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เป็นต้น
ข้อเข่าเสื่อม ภาวะข้อเขาเสื่อมคือเมื่ออายุมากขึ้นหรือมีการใช้ข้อต่าง ๆ มากขึ้น กระบวนการสลายของกระดูกอ่อนจะเกิดมากกว่ากระบวนการสร้าง และเมื่อบวกกับความเสื่อมของสุขภาพ จึงส่งผลให้กระดูกอ่อนบริเวณข้อมีปริมาณลดลง ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อมีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดการเสียดสีจนสึกกร่อน รู้สึกฝืดที่ข้อเข่า เข่าผิดรูปและทำให้เกิดความเจ็บปวด หากมีอาการติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาทางรักษา เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้อาการมีความรุนเแรงยิ่งขึ้น
กระดูกพรุน คือ โรคที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลง มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก มีผลทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนัก หรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการกระดูกหักง่ายกว่าปกติ ตำแหน่งที่พบกระดูกหักบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือโดยเฉพาะตำแหน่งของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังที่พบว่ามีโอกาสหักมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สำหรับโรคกระดูกพรุนจะไม่พบว่ามีอาการใดๆ เลย เพราะพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะหักง่าย ส่วนใหญ่สามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม น้ำเต้าหู้ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย จะช่วยป้องกัน ช่วยชะลอ หรือช่วยลดความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนได้
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น การเสื่อมของร่างกายก็มักมีเข้ามามากมาย โดยเฉพาะเรื่องของกระดูก ที่เห็นได้บ่อย ๆ ก็จะเป็นในเรื่องของอาการปวดหลัง ปวดขา โดยโรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่อายุมากขึ้น อันเนื่องมากจากความเสื่อมสภาพของข้อกระดูกสันหลังทรุดตัวลง และไปกดทับเส้นประสาทได้ รวมไปถึงการเกิดของกระดูกงอก หรือหินปูนที่เกิดขึ้น จนทำให้ไปทับเส้นประสาทได้ในที่สุด การรักษาโรคกระดูกทับเส้น แพทย์จะดูแลรักษาตามสภาพอาการ ตั้งแต่แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ควบคู่ไปกับการกินยาแก้ปวด และการออกกำลังกายในช่วงที่ยังเป็นไม่มากนัก แต่หากอาการหนักขึ้นมาอีกก็ต้องทำกายภาพบำบัด หากยังไม่หายก็ต้องพิจารณาฉีดยาเข้าช่องประสาทไขสันหลัง หรือทำการผ่าตัดรักษา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Bone and Joint Center
Publish date desc: 10/04/2022
Author doctor
Dr. Pichet Siriwattanasakul
Specialty
Orthopaedic Surgeon