ปัจจัยที่ควรหลีกเลี่ยงถ้าไม่อยากเสี่ยง-ldquo-ภาวะมีบุตรยาก-rdquo
ภาวะมีบุตรยาก ฝันร้ายที่คนอยากมีลูกต้องเผชิญ งานนี้ไม่เว้นแม้แต่คู่รักสายฟิตที่ดูแลตัวเองมาเป็นอย่างดี สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย ซึ่งหากมาถึงขั้นนี้แล้วก็อย่าเพิ่งหมดหวังกันไป เพราะทุกปัญหาย่อมมีทางออก เพราะนอกจากเรื่องสุขภาพร่างกายแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่นำไปสู่ภาวะมีบุตรยากได้ ลองหันมาสังเกตการใช้ชีวิตของทั้งคุณและคู่รักให้มากขึ้นดู ไม่แน่ปัจจัยที่จะพูดถึงต่อไปนี้ อาจเป็นต้นเหตุของปัญหามีลูกยากในคู่ของคุณก็เป็นได้ เมื่อรู้ถึงสาเหตุ แก้ไขอย่างตรงจุด ก็พบทางออกของปัญหามีบุตรยากแล้ว
นอกจากยาที่กล่าวไปข้างต้น ในบางวิธีรักษาทางการแพทย์ ก็มีส่วนทำให้มีลูกยากด้วยเช่นกัน เพราะตัวยาที่ใช้ในการทำเคมีบำบัด หรือการทำคีโมนั้น มีผลทำให้รังไข่เสื่อมการทำงานลง หากจำเป็นต้องใช้ก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อลดปัญหามีบุตรยากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
"แค่เครียด ก็เฉียดภาวะการมีบุตรยากแล้วจริงหรือ"
Why so serious? เครียดไปแล้วได้อะไรบ้าง ?
แค่คุณเครียด ก็ได้ปัญหาสุขภาพไปเต็มๆ เพราะความเครียด ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้โดยตรง นั่นจึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมเมื่อเรารู้สึกเครียด จึงมีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหัว ผมร่วง นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติ ฯลฯ ตามมา นอกจากนี้ความเครียดยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากความเครียดจะเข้าไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดภาวะไข่ไม่ตกในเพศหญิง ส่วนคุณผู้ชายก็ยิ่งต้องระวัง เพราะความเครียดมีผลต่อการหลั่งของอสุจิ ทำให้คุณภาพของอสุจิลดลง ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ต่ำลง จนถึงขั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทำให้มีบุตรยากด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันคนไทยจำนวนมากมีความเครียดสะสม จนมีแนวโน้มเป็นภาวะซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในผู้หญิงที่มีภาวะซึมเศร้า หากตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง เป็นอันตรายต่อทั้งตัวผู้เป็นแม่และเด็ก เมื่อความเครียดส่งผลเสียต่อชีวิตของเราได้มากมายขนาดนี้ ก็อย่าลืมหันมาดูแลสุขภาพใจควบคู่ไปกับสุขภาพร่างกาย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงมีลูกยากที่จะเกิดขึ้นได้แล้ว
"มีจริงหรือ การมีบุตรยากแบบหาสาเหตุไม่ได้"
นอกเหนือจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคู่รักอีก 10-15% ที่แม้จะดูแลตัวเองอย่างดี มีสุขภาพแข็งแรง ก็ยังประสบปัญหามีบุตรยากแบบหาสาเหตุไม่ได้ จากผลสำรวจในกลุ่มคนเหล่านี้ ฝ่ายหญิงจะมีโอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้เพียง 1 - 3% ต่อรอบเดือน ในกรณีที่มีปัญหามีบุตรยากและต้องการมีบุตร แนะนำให้เข้าไปปรึกษาคุณหมอจะดีกว่า เพราะในปัจจุบันนอกเหนือไปจากการรักษาโดยวิธีการมาตรฐานปกติแล้วยังมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยสานฝันให้คุณสามารถมีลูกได้อีกหลายวิธี
เห็นไหมว่ายังมีอีกหลายวิธีทางการแพทย์ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสมีลูกให้คุณได้ หากคุณเป็นอีกหนึ่งคู่ที่ต้องเจอกับภาวะมีบุตรยาก ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง ลองเข้าไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อประเมินว่า คู่ของคุณเหมาะสมกับวิธีการแบบไหน ให้คุณทั้งคู่สามารถมีลูกได้อย่างปลอดภัย ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
"ยาหรือการรักษาต่อเนื่องใด ที่อาจส่งผลให้คู่ที่แข็งแรง มีบุตรยาก"หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ยาที่คุณใช้ในชีวิตประจำวัน อาจเป็นสาเหตุของปัญหามีบุตรยาก เพราะสารเคมีในตัวยาบางชนิด เมื่อเรารับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก เป็นเวลานานๆ จะเกิดการสะสมในร่างกาย ทำให้ระบบสืบพันธุ์เสื่อมการทำงานลง ส่งผลให้มีบุตรยาก ทีนี้มาดูกันว่า สารเคมีในยาชนิดใดบ้าง ที่คนอยากมีลูกควรหลีกเลี่ยง
-
- ยาแก้ปวดที่ไม่ผสมสเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) หรือยาในกลุ่มไอบูโพรเฟน ดูเผินๆ เหมือนจะไม่อันตรายแต่ยาเหล่านี้ถ้าใช้ต่อเนื่องนานๆเข้าไปรบกวนวงจรการตกไข่ในผู้หญิง ทำให้เกิดปัญหามีลูกยากได้
- ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการใช้ยาบรรเทาอาการภูมิแพ้ และลดน้ำมูก ตัวยามีผลอสุจิของเพศชายมีจำนวนลดลงและจำนวนเชื้อที่เคลื่อนไหวลดลงได้
- ยาบำบัดอาการผิดปกติทางจิตประสาท (Neuroleptic Medicines) ตัวยากลุ่มนี้มีผลรบกวนต่อกระบวนการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนไม่มา ทำให้มีบุตรยากได้
- ยารักษาอาการบวมน้ำ (Spironolactone) ยาที่ใช้รักษาภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยหัวใจวาย โรคตับแข็ง โรคไตรั่ว ความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงจากยาทำให้รบกวนการสร้างฮอร์โมนเพศชายและอสุจิ และยานี้บางครั้งใช้รักษาตัวในสตรี ซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการตกไข่ได้
- ยาเสพติด เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ยาเสพติดเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก นอกจากนี้สารเสพติดในกัญชาและโคเคน ยังทำให้เกิดภาวะตกไข่ยากในผู้หญิงอีกด้วย
นอกจากยาที่กล่าวไปข้างต้น ในบางวิธีรักษาทางการแพทย์ ก็มีส่วนทำให้มีลูกยากด้วยเช่นกัน เพราะตัวยาที่ใช้ในการทำเคมีบำบัด หรือการทำคีโมนั้น มีผลทำให้รังไข่เสื่อมการทำงานลง หากจำเป็นต้องใช้ก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อลดปัญหามีบุตรยากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
"แค่เครียด ก็เฉียดภาวะการมีบุตรยากแล้วจริงหรือ"
Why so serious? เครียดไปแล้วได้อะไรบ้าง ?
แค่คุณเครียด ก็ได้ปัญหาสุขภาพไปเต็มๆ เพราะความเครียด ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้โดยตรง นั่นจึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมเมื่อเรารู้สึกเครียด จึงมีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหัว ผมร่วง นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติ ฯลฯ ตามมา นอกจากนี้ความเครียดยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากความเครียดจะเข้าไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดภาวะไข่ไม่ตกในเพศหญิง ส่วนคุณผู้ชายก็ยิ่งต้องระวัง เพราะความเครียดมีผลต่อการหลั่งของอสุจิ ทำให้คุณภาพของอสุจิลดลง ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ต่ำลง จนถึงขั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทำให้มีบุตรยากด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันคนไทยจำนวนมากมีความเครียดสะสม จนมีแนวโน้มเป็นภาวะซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในผู้หญิงที่มีภาวะซึมเศร้า หากตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง เป็นอันตรายต่อทั้งตัวผู้เป็นแม่และเด็ก เมื่อความเครียดส่งผลเสียต่อชีวิตของเราได้มากมายขนาดนี้ ก็อย่าลืมหันมาดูแลสุขภาพใจควบคู่ไปกับสุขภาพร่างกาย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงมีลูกยากที่จะเกิดขึ้นได้แล้ว
"มีจริงหรือ การมีบุตรยากแบบหาสาเหตุไม่ได้"
นอกเหนือจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคู่รักอีก 10-15% ที่แม้จะดูแลตัวเองอย่างดี มีสุขภาพแข็งแรง ก็ยังประสบปัญหามีบุตรยากแบบหาสาเหตุไม่ได้ จากผลสำรวจในกลุ่มคนเหล่านี้ ฝ่ายหญิงจะมีโอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้เพียง 1 - 3% ต่อรอบเดือน ในกรณีที่มีปัญหามีบุตรยากและต้องการมีบุตร แนะนำให้เข้าไปปรึกษาคุณหมอจะดีกว่า เพราะในปัจจุบันนอกเหนือไปจากการรักษาโดยวิธีการมาตรฐานปกติแล้วยังมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยสานฝันให้คุณสามารถมีลูกได้อีกหลายวิธี
- การฉีดเชื้อผสมเทียมในโพรงมดลูก (Intrauterine insemination : IUI) เป็นวิธีที่ปลอดภัย ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก วิธีคือ คัดเลือกอสุจิของฝ่ายชายที่มีความแข็งแรง เคลื่อนไหวได้ดี ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก ผ่านท่อที่สอดเข้าทางปากมดลูกของฝ่ายหญิงโดยตรงในช่วงเวลาที่ไข่ตก เพื่อให้อสุจิและไข่เกิดการปฏิสนธิกันได้ง่ายขึ้น วิธีนี้สร้างโอกาสในการมีลูกได้ประมาณ 10-20%
- การทำเด็กหลอดแก้ว (In-Vitro Fertization : IVF) มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง สร้างโอกาสมีลูกได้ประมาณ 30-50% โดยการนำไข่และอสุจิที่คัดเลือกแล้วมาผสมกันในหลอดทดลอง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิขึ้น จากนั้นจึงนำเข้าไปเลี้ยงในตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน ที่มีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เมื่อเกิดเป็นตัวอ่อนเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ 3-5 วันแล้วจึงนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าโพรงมดลูกผ่านทางช่องคลอด
- การทำอิ๊คซี่ (IntraCytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI) การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยการนำเข็มที่มีเชื้อสเปิร์มเพียงตัวเดียวจากฝ่ายชายเจาะเข้าไปที่ไข่ของฝ่ายหญิงโดยตรง จนเกิดการปฏิสนธิขึ้นมา แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการเป็นเวลา 3-5 วัน จึงนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งการทำอิ๊คซี่ (ICSI) ต่างจากวิธีเด็กหลอดแก้ว (IVF) ตรงที่ การทำอิ๊คซี่ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดการปฏิสนธิขึ้นเอง หมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิอ่อนแอ หรือในกรณีที่ไข่กับอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันได้เอง โดยวิธีนี้สร้างโอกาสตั้งครรภ์ได้ถึง 30-50%
เห็นไหมว่ายังมีอีกหลายวิธีทางการแพทย์ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสมีลูกให้คุณได้ หากคุณเป็นอีกหนึ่งคู่ที่ต้องเจอกับภาวะมีบุตรยาก ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง ลองเข้าไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อประเมินว่า คู่ของคุณเหมาะสมกับวิธีการแบบไหน ให้คุณทั้งคู่สามารถมีลูกได้อย่างปลอดภัย ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Women’s Health Center
Publish date desc: 11/04/2022
Author doctor
Dr. Pimpagar Chavanaves
Specialty
ART (Assisted Reproductive Techologies)