เรื่องของวัคซีนที่คุณอาจยังไม่รู้
ทำความรู้จัก “วัคซีน” คืออะไร ?
วัคซีน เป็นสารชีววัตถุ (biological preparation) ที่ผลิตขึ้นจากเชื้อจุลชีพ หรือสารชีวพิษของเชื้อจุลชีพ (toxin) ที่ผ่านกระบวนการให้ไม่สามารถก่อโรคได้ แต่ยังคงกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีได้ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
• วัคซีนเชื้อตาย ทำจากเชื้อโรคที่ตายแล้วหรือบางส่วนของเชื้อ ได้แก่ วัคซีนตับอักเสบ เอ บี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไอกรน
• วัคซีนเชื้อเป็น เป็นวัคซีนที่ผลิตโดยใช้เชื้อโรคผ่านกระบวนการทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถทำให้เกิดโรค สามารถทำให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ได้แก่ วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนงูสวัด วัคซีนไข้สมองอักเสบ
• วัคซีนประเภทท็อกซอยด์ การนำพิษของจุลชีพมาทำให้หมดฤทธิ์แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ ได้แก่ วัคซีนคอตีบ วัคซีนบาดทะยัก
วัคซีนป้องกันโรคได้นานแค่ไหน?
วัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคมีหลายชนิด วัคซีนบางชนิดรับแค่ครั้งเดียว ให้การปกป้องได้เป็นเวลานาน เช่น วัคซีนบาดทะยักที่ควรฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี แต่ขณะที่วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ต้องฉีดทุกปี เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี
วัคซีนมีประโยชน์อย่างไร
การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันจากการเจ็บป่วยรุนแรงและสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคต่างๆ ได้ นอกจากช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคนแล้ว การให้วัคซีนยังทำให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคถึงในชุมชนอีกด้วย ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการที่มีจำนวนประชากรในชุมชนมากพอที่จะทำให้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนผู้เป็นโรค และแพร่การกระจายโรคสู่บุคคลอื่นได้อีกนั่นเอง
ไม่ใช่เฉพาะเด็กเท่านั้นที่ต้องรับวัคซีน ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุก็ควรได้รับวัคซีนเช่นเดียวกัน เพราะปัจจุบัน วัคซีนมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรค เมื่ออายุมากขึ้นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคก็เพิ่มมากขึ้น ภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีนอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไปจึงจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นใหม่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งมีคำแนะนำการรับวัคซีนในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตามนี้
ผู้ใหญ่อายุ 20-60 ปี
• วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์ โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (Tdap/ dT)
- วัคซีนคอตีบ - ไอกรน – บาดทะยัก (Tdap) วัคซีนรวม 1 ครั้งในผู้ใหญ่ โดยฉีด 1 เข็ม
- หลังจากนั้นฉีดวัคซีนคอตีบ – บาดทะยัก (dT) ทุกๆ 10 ปี โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี โดยฉีด 3 เข็ม ซึ่งเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน (0, 1, 6)
• วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ โดยฉีด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ให้ฉีดห่างกัน 6 เดือน (0,6)
• วัคซีนไข้เลือดออก โดยฉีด 2 เข็ม ซึ่งเข็มที่ 2 ให้ฉีดห่างกัน 3 เดือน (0,3) แนะนำรับวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 4 - 60 ปี
• วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ฉีด 3 เข็ม ที่ 0, 2 และ 6 เดือน สามารถรับวัคซีนได้อายุ 9-26 ปี
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
• วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์ โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิด PCV 13 โดยฉีด 1 เข็ม / ชนิด PPSV 23 โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (Tdap/ dT)
- วัคซีนคอตีบ - ไอกรน – บาดทะยัก (Tdap) วัคซีนรวม 1 ครั้งในผู้ใหญ่ โดยฉีด 1 เข็ม
- หลังจากนั้นฉีดวัคซีนคอตีบ – บาดทะยัก (dT) ทุกๆ 10 ปี โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โดยฉีด 2 เข็ม (0, 2-6)
• วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี โดยฉีด 3 เข็ม ซึ่งเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน (0, 1, 6)
• วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ โดยฉีด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ให้ฉีดห่างกัน 6 เดือน (0, 6)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
วัคซีน เป็นสารชีววัตถุ (biological preparation) ที่ผลิตขึ้นจากเชื้อจุลชีพ หรือสารชีวพิษของเชื้อจุลชีพ (toxin) ที่ผ่านกระบวนการให้ไม่สามารถก่อโรคได้ แต่ยังคงกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีได้ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
• วัคซีนเชื้อตาย ทำจากเชื้อโรคที่ตายแล้วหรือบางส่วนของเชื้อ ได้แก่ วัคซีนตับอักเสบ เอ บี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไอกรน
• วัคซีนเชื้อเป็น เป็นวัคซีนที่ผลิตโดยใช้เชื้อโรคผ่านกระบวนการทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถทำให้เกิดโรค สามารถทำให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ได้แก่ วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนงูสวัด วัคซีนไข้สมองอักเสบ
• วัคซีนประเภทท็อกซอยด์ การนำพิษของจุลชีพมาทำให้หมดฤทธิ์แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ ได้แก่ วัคซีนคอตีบ วัคซีนบาดทะยัก
วัคซีนป้องกันโรคได้นานแค่ไหน?
วัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคมีหลายชนิด วัคซีนบางชนิดรับแค่ครั้งเดียว ให้การปกป้องได้เป็นเวลานาน เช่น วัคซีนบาดทะยักที่ควรฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี แต่ขณะที่วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ต้องฉีดทุกปี เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี
วัคซีนมีประโยชน์อย่างไร
การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันจากการเจ็บป่วยรุนแรงและสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคต่างๆ ได้ นอกจากช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคนแล้ว การให้วัคซีนยังทำให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคถึงในชุมชนอีกด้วย ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการที่มีจำนวนประชากรในชุมชนมากพอที่จะทำให้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนผู้เป็นโรค และแพร่การกระจายโรคสู่บุคคลอื่นได้อีกนั่นเอง
ไม่ใช่เฉพาะเด็กเท่านั้นที่ต้องรับวัคซีน ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุก็ควรได้รับวัคซีนเช่นเดียวกัน เพราะปัจจุบัน วัคซีนมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรค เมื่ออายุมากขึ้นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคก็เพิ่มมากขึ้น ภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีนอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไปจึงจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นใหม่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งมีคำแนะนำการรับวัคซีนในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตามนี้
ผู้ใหญ่อายุ 20-60 ปี
• วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์ โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (Tdap/ dT)
- วัคซีนคอตีบ - ไอกรน – บาดทะยัก (Tdap) วัคซีนรวม 1 ครั้งในผู้ใหญ่ โดยฉีด 1 เข็ม
- หลังจากนั้นฉีดวัคซีนคอตีบ – บาดทะยัก (dT) ทุกๆ 10 ปี โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี โดยฉีด 3 เข็ม ซึ่งเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน (0, 1, 6)
• วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ โดยฉีด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ให้ฉีดห่างกัน 6 เดือน (0,6)
• วัคซีนไข้เลือดออก โดยฉีด 2 เข็ม ซึ่งเข็มที่ 2 ให้ฉีดห่างกัน 3 เดือน (0,3) แนะนำรับวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 4 - 60 ปี
• วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ฉีด 3 เข็ม ที่ 0, 2 และ 6 เดือน สามารถรับวัคซีนได้อายุ 9-26 ปี
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
• วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์ โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิด PCV 13 โดยฉีด 1 เข็ม / ชนิด PPSV 23 โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (Tdap/ dT)
- วัคซีนคอตีบ - ไอกรน – บาดทะยัก (Tdap) วัคซีนรวม 1 ครั้งในผู้ใหญ่ โดยฉีด 1 เข็ม
- หลังจากนั้นฉีดวัคซีนคอตีบ – บาดทะยัก (dT) ทุกๆ 10 ปี โดยฉีด 1 เข็ม
• วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โดยฉีด 2 เข็ม (0, 2-6)
• วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี โดยฉีด 3 เข็ม ซึ่งเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน (0, 1, 6)
• วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ โดยฉีด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ให้ฉีดห่างกัน 6 เดือน (0, 6)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Internal Medicine Center
Publish date desc: 11/06/2024
Author doctor
Dr. Bunjerd Poomsai
Specialty
Physician