• banner

รู้ทันมะเร็งเต้านม

การเกิดโรคมะเร็งเต้านมจะเป็นลักษณะไหน
ในแง่ของมะเร็งเต้านม โดยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก หรือที่เราเรียกว่าเป็นน้อยมากๆ จะเป็นได้สองรูปแบบนะครับ อันที่หนึ่งก็คือมาด้วยก้อนเล็กๆ ก้อนเล็กๆ ก็คือขนาด 1 มิล 2 มิล หรือ 3 มิล พวกนี้เราจะสามารถค้นพบด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งเราจะคลำด้วยตัวเองนะครับไม่พบ และอีกชนิดหนึ่งของการเกิดมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่ม มาด้วยจุดหินปูนเล็กๆ เราเรียกกันภาษาแพทย์ว่า Microcalcification ซึ่งจุดหินปูนเล็กๆ อันนี้ เราจะตรวจพบด้วยการตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมกราฟี่ ซึ่งเราก็ต้องมาใช้เครื่องตรวจนะครับ


มะเร็งเต้านมเกิดจากสาเหตุใด

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม หรือกลไกของมะเร็งเต้านม สาเหตุหลักๆ แบ่งออกเป็นสองอย่างนะครับ อันที่หนึ่งเลย วึ่งเป็นสาเหตุที่เจอได้น้อยนะครับ ก็คือ เกิดจากพันธุกรรม สาเหตุจะพบได้ประมาณ 8% 9% หรือไม่เกิน 10% เท่านั้นเอง ก็คือกลุ่มของผู้ป่วย หรือครอบครัวที่มีความผิดปกติของยีนส์ BRCA ซึ่งอาจจะเป็น BRCA 1 หรือ BRCA 2แต่ภาวะนี้เกิดขึ้นได้น้อยนะครับ ส่วนสาเหตุส่วนใหญ่เลยเนี่ยที่เราพบกันก็คือ ไม่ทราบสาเหตุนะครับ คำว่าไม่ทราบสาเหตุนี้ก็คือพบได้ 80-90% แล้วกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุนี้เป็นอย่างไรนะครับ ไม่ทราบสาเหตุนี้ก็คือ จำได้ง่ายๆ เลยครับ ในผู้หญิงนี้ก็จะสัมพันธ์กับภาวะที่เราเรียกว่าเป็นสาวเร็ว เป็นสาวนาน แล้วก็ไม่แก่สักที ก็คือพูดง่ายก็คือเป็นภาวะที่เรายัง exposure (ไม่มั่นใจเรื่องคำศัพท์) หรือยังมีการสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อยู่ในร่างกายนะครับ เป็นสาวเร็วคืออะไรที่จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมก็คือ ประจำเดือนมาเร็วนะครับ แล้วก็ไม่ได้แต่งงานนะครับ หรือแต่งงานไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย หรือมีบุตรแล้วก็ไม่ได้ให้นมบุตรนะครับ แล้วก็หมดประจำเดือนช้า สาเหตุเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุส่วนใหญ่นะครับที่เราไม่ทราบสาเหตุและสัมพันธ์กับกลไกของการเกิดมะเร็งเต้านมครับ

สัญญาณเตือนที่อาจจะบอกว่าเข้าข่ายเป็นมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมจะมีสัญญาณเตือนอย่างไร ก็คือหนึ่งก็คือ เราคลำได้ก้อนผิดปกติ คือเราหมั่นตรวจเต้านมของตัวเองทุกวันนะครับ วันไหนอยู่ดีๆ เอ๊ะ ตรงตำแหน่งนี้คลำได้เป็นเหมือนก้อน ซึ่งเราไม่เคยคลำได้ อันนี้ก็เป็นอีกอันหนึ่งที่ต้องรีบมาพบแพทย์นะครับ หรือว่าอาจจะมีอาการเจ็บแปลกๆ ที่ไม่เคยเจ็บมาก่อนนะครับ หรืออันที่สำคัญก็คือว่ามีของเหลว หรือเลือดออกจากหัวนม แต่อย่างไรก็ดีนะครับ สิ่งที่พูดมาทั้งหมดก็บอกเป็นสัญญาณเตือน อันนี้เวลาถ้ามาตรวจแล้ว แล้วพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมมักจะเป็นระยะหนึ่ง หรือระยะสองแล้วนะครับ จะไม่ใช่ระยะแรกเริ่ม มะเร็งเต้านมที่สำคัญก็คือ มันไม่มีอาการ ก็คือมันเป็นภัยเงียบนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่มีอาการอะไรเลยนะครับ เมื่ออายุครบ 35 ควรจะมาตรวจ หรือเราเรียกว่า check up มาพบแพทย์ที่คลินิกเต้านม 1 ครั้ง แพทย์ก็จะทำการตรวจร่างกาย ซักประวัติ แล้วก็จะทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยเครื่องอัลตราซาวด์นะครับ หลังจากนั้นถ้าเราไม่ได้มีความผิดปกติอะไรนะครับ เมื่อเราอายุครบ 40 ปีก็มาพบแพทย์อีกครั้งหนึ่ง แพทย์ก็จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเพิ่มเติมด้วยอัลตราซาวด์ และที่สำคัญก็คือ ตรวจเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ดิจิตอลแมมโมแกรมกราฟี่ครับ

ถ้าเป็นมะเร็งเต้านมการรักษาต้องตัดเต้านมออกหมดเสมอไปหรือไม่ / ถ้าตัดออกแขนบวมไหม
เมื่อเราได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้วก็คือ เช่น เราคลำได้ก้อนมีความผิดปกติ เรามาพบแพทย์ที่คลินิกเต้านมแล้ว แพทย์จะทำการตรวจร่างกายนะครับ รวมทั้งทำอัลตราซาวด์ แล้วก็ทำดิจิตอลแมมโมแกรมกราฟี่ การรักษาขั้นต่อไปที่สำคัญก็คือ เราจะให้การวินิจฉัย ในปัจจุบันเราก็จะทำการเจาะชิ้นเนื้อ โดยที่เราเรียกว่า Core Needle Biopsy เพื่อที่จะนำชิ้นเนื้อนั้นมาตรวจ เมื่อผลการรักษาออกมาแล้วว่า เราพบว่าเราเป็นมะเร็งเต้านมนะครับ สำหรับมะเร็งเต้านมเมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว คนก็มักจะสิ่งที่กลัวก็คือ การสูญเสียภาพลักษณ์ หรือการสูญเสียเต้านมนะครับ การรักษาของมะเร็งเต้านมเนี่ย ในปัจจุบันแบ่งออกเป็นสองอย่างนะครับ ก็คือหนึ่งที่เต้านมนะครับ ซึ่งผมจะพูดต่อไป อีกอันหนึ่งที่รักแร้นะครับ สำหรับที่เต้านมเนี่ย เราไม่จำเป็นที่จะต้องตัดเต้านมนะครับ ในกรณีที่คนไข้มีก้อนเล็กๆ ขนาด 1 เซน 2 เซน หรือไม่เกิน 3 เซน มีก้อนแค่หนึ่งก้อน หรือสองก้อนที่อยู่ใกล้ๆ กัน ทำอัลตราซาวด์แล้ว ทำดิจิตอลแมม

โมแกรมกราฟี่แล้วก็มีแค่จุดเดียว ไม่มีจุดหินปูนที่กระจายอยู่รอบก้อนนะครับ รวมทั้งไม่มีเลือดและของเหลวออกจากหัวนม อันนี้เราเรียกว่ามีเต้านมที่เป็นก้อนเดียว หรือก้อนใกล้ๆ กัน พวกนี้เราสามารถผ่าตัดแบบเก็บเต้านมได้ หรือเราเรียกว่าการผ่าตัดอนุรักษ์เต้านม แต่ว่าการผ่าตัดแบบเก็บเต้านมจะต้องร่วมกับการฉายแสงหลังผ่าตัดที่เต้านม ผลการรักษาจะเทียบเท่ากับการผ่าตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้า ส่วนอีกกรณีหนึ่งถ้าคนไข้มาด้วยก้อนที่เป็นหลายๆ ก้อน เช่น มีก้อนอยู่ตรงมุมนี้บ้าง มีก้อนอยู่ตรงนี้บ้าง หรือมีจุดหินปูนกระจายหลายๆ จุดนะครับ หรือมีเลือดออกที่หัวนมร่วมด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับก้อนที่เป็นมะเร็งเต้านม อันนี้ก็คือมีมะเร็งหลายๆ จุด อันนี้เราจะไม่สามารถผ่าตัดแบบเก็บเต้านมได้ เราจะต้องผ่าตัดที่เราเรียกว่า การผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้านะครับ ส่วนการผ่าตัดที่รักแร้นะครับ แต่ก่อนเราจะเห็นว่าคนไข้ที่ผ่าตัดมะเร็งเต้านมจะมีภาวะแขนบวม ปัจจุบันนี้มะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่มทุกรายนะครับ ก่อนการผ่าตัดเราจะต้องทำการตรวจต่อมน้ำเหลือง หรือการกระจายของมะเร็งเต้านมเนี่ยไปที่ต่อมน้ำเหลือง เราเรียกการตรวจนี้ว่า การตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลนะครับ ซึ่งเราจะสามารถฉีดสีเข้าไปรอบๆ ก้อนที่เป็นในก้อนของมะเร็งเต้านม หลังจากนั้นสีจะวิ่งเข้าไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็ง ถ้ามะเร็งกระจายจะไปอยู่ที่ต่อมนี้ แล้วเราก็จะหยิบต่อมนี้มาตรวจในขณะที่ผ่าตัด ถ้าสมมติว่าในต่อมน้ำเหลืองไม่มีมะเร็ง เต้านมที่อยู่ในต่อมน้ำเหลือง เราก็ไม่ต้องทำการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ จะทำให้ลดภาวะแขนบวมไปได้มาก ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ การผ่าตัดมะเร็งเต้านมทั้งที่เต้านม และที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เราจะพบว่าคนไข้มีภาวะแขนบวมนี้น้อยมากครับ

ในกรณีที่ไม่สามารถเก็บเต้านมได้ แต่อยากเก็บเต้านมไว้ มีวิธีอย่างไร
คือในคนไข้บางราย อาจจะมีก้อนเต้านม ก้อนมะเร็งเต้านมที่ใหญ่นะครับ หรือว่าในกรณีที่ก้อนเต้านมมีหลายจุดนะครับ หรือว่ามีจุดหินปูนที่เป็นรอยโรคของมะเร็งเต้านมกระจายหลายๆ จุดที่เต้านม อันนี้คือไม่สามารถผ่าตัดแบบอนุรักษ์แบบเต้านมได้ เราต้องทำการผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้านะครับ แต่ว่าถ้าคนไข้ยังอยากมีเต้านมอยู่ให้เหมือนเดิมนะครับ เพื่อให้มีภาพลักษณ์ที่คงเดิม เราก็สามารถทำได้ใหม่ให้ทันทีนะครับ การผ่าตัดทำใหม่ทันทีเราเรียกว่าการเสริมสร้างเต้านมหลังผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้า ก็จะแบ่งเป็น 3 วิธีนะครับ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทั้งรอยโรคเอง ตัวลักษณะของเต้านมเอง และตัวของคนไข้เองนะครับ อันที่หนึ่งก็คือ เป็นวิธีที่ทำได้ไม่ต้องกวนคนไข้มากก็คือ การผ่าตัดหลังจากเอาเต้านมออกแล้ว เราใส่ซิลิโคนให้ทันทีนะครับ ภาวะนี้เราก็จะใส่ซิลิโคนภายใต้กล้ามเนื้อให้ คนไข้ก็จะมีเต้านมใหม่นะครับ แล้วก็รูปร่างคล้ายเคียงเดิมนะครับ การผ่าตัดก็ไม่ได้ใช้เวลาที่ยาวนานนะครับ อันที่สองก็คือ บางครั้งเนี่ย มันจะต้องเอาผิวหนังที่มีมะเร็งออกด้วย ซึ่งไม่สามารถทำให้การผ่าตัดที่ใส่ซิลิโคนอย่างเดียวได้ เราอาจจะต้องใช้เนื้อเยื่อของตัวเองมาร่วมด้วยนะครับ หรือคนไข้ไม่ต้องการซิลิโคนนะครับ คิดว่าซิลิโคนเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่คนไข้มีเต้านมที่ไม่ได้ใหญ่มากนัก เราก็สามารถเอา เนื้อหลัง หรือเนื้อเยื่อ หรือไขมันข้างหลังเนี่ย สามารถเลาะแล้วก็อ้อมลอดใต้รักแร้มาสร้างเต้านมใหม่ให้ทั้งเต้านะครับ หรือในบางกรณีที่คนไข้มีเต้านมที่ใหญ่มากนะครับ แล้วก็มีรอยโรคที่จะต้องเอาเต้านมออกทั้งเต้า แล้วคนไข้มีไขมันบริเวณหน้าท้องส่วนล่างเยอะนะครับ แล้วคนไข้ไม่อยากใส่ซิลิโคน เราก็สามารถเอาเนื้อที่บริเวณไขมัน แล้วก็เนื้อที่บริเวณท้องส่วนล่างเนี่ยมาสร้างเต้านมใหม่ให้ได้นะครับ โดยทั้งโดยสรุปก็จะมีทั้งหมด 3 วิธี คือ วิธีหนึ่งใส่ซิลิโคนนะครับเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด อันที่สองเอาเนื้อหลังมาสร้างเต้านมใหม่ อันนี้ก็จะเหมาะในคนไข้ที่เต้านมไม่ได้ใหญ่มาก ที่เราเรียกว่า LD flap อันที่สามที่ผมพูดไปแล้วก็คือ ถ้าคนไข้มีเต้านมที่ค่อนข้างใหญ่ มีความหย่อนคล้อย แล้วคนไข้มีเนื้อหลัง หรือไขมันบริเวณช่องท้อง บริเวณนั้นค่อนข้างเยอะ เราก็สามารถเอาเนื้อบริเวณช่องท้องมาทำเต้านมใหม่ได้ เราเรียกว่า Tram flap ครับ

สำหรับคุณผู้หญิงนะครับ โดยปกติแล้วอย่างที่ได้กล่าวไปนะครับ สำหรับมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบ ไม่มีอาการนะครับ ไม่มีอาการอะไรที่บอกเตือนนะครับ เมื่อไรที่มีอาการบอกเตือนที่ผมได้กล่าวไปแล้ว เช่น มีก้อน มีของเหลวออกจากหัวนม มีผิวหนังเปลี่ยน อันนี้มักจะเป็นระยะหนึ่ง ระยะสอง แต่การที่เราจะค้นพบมะเร็งเต้านมระยะศูนย์ หรือระยะแรกเริ่มได้ จะต้องมา check up นะครับ การ check up ก็อายุ 35 ปีมาพบแพทย์ 1 ครั้งนะครับ เพื่อทำอัลตราซาวด์ ตรวจร่างกาย อายุ 40 ปี ถ้าไม่มีอาการอะไรเลยก็มาพบแพทย์อีกหนึ่งครั้ง เพื่อที่จะทำการตรวจร่างกาย ทำอัลตราซาวด์ แล้วก็ทำการตรวจที่เราเรียกว่า ดิจิทัลแมมโมแกรมกราฟี่ เพราะว่ามะเร็งเต้านมไม่มีอาการ เป็นภัยเงียบ การค้นพบในระยะแรกเริ่ม จะทำให้การผ่าตัดไม่เสียเต้านม สามารถผ่าตัดแบบเก็บเต้านมได้ และที่สำคัญก็คือ มีระยะปลอดโรคที่ยาวนาน คนไข้จะสามารถอยู่ได้โดยมีชีวิตที่ปราศจากการกลับเป็นซ้ำได้ยาวนานมากครับ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777 
Medical Center: Breast Center
Publish date desc: 20/09/2022

Author doctor

Dr. Prakasit Chirappapha

img

Specialty

General Surgeon

Other Specialty

-

Language Spoken

Thai, English

Contact us