4 วัคซีนสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรค มีวัคซีนอะไรบ้างที่ผู้สูงอายุควรต้องฉีด
• วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยทั่วไปการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ผู้ป่วยมักจะหายได้เองภายใน 3-5 วันหลังจากมีอาการ แต่หากเป็นผู้สูงอายุจะมีอัตราเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สูง รวมทั้งอัตราการเสียชีวิตก็สูงตามไปด้วย ผู้สูงอายุควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
• วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โรคงูสวัดเกิดจากมาจากไวรัส Varicella ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส ทั้งนี้คนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคงูสวัดได้ เมื่ออายุมากขึ้น และมีภาวะเครียด ร่างกายอ่อนแอ ก็มีโอกาสเป็นได้มาก เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายจะลดลง ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนทุกคน ถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคงูสวัด และช่วยลดความรุนแรงของอาการงูสวัดได้
• วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumonia ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบที่มีมากกว่า 90 สายพันธุ์ ที่สามารถทำให้เกิดอาการหูอักเสบ หูหนวก ไซนัสอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ผู้ที่ควรได้รับการฉีดคือ ผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ทุกคน โดยการฉีดวัคซีนควรฉีดทั้ง 2 ชนิด คือ ฉีด PCV15 จากนั้นอีก 8 สัปดาห์จะฉีด PPSV23 ซึ่งจะสามารถป้องเชื้อ Pneumococcus ได้ครบและนานอย่างน้อย 5 ปี
• วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ในผู้สูงอายุหากเกิดแผลจะมีโอกาสติดเชื้อบาดทะยักได้ง่าย จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง มีปัญหาการกลืน โรคคอตีบที่รุนแรงทำให้หายใจลำบาก ทั้งโรคบาดทะยักและคอตีบหากมีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ และโรคไอกรนทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ไอต่อเนื่องอย่างรุนแรง ผู้สูงอายุจึงควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน 1 เข็ม จากนั้นกระตุ้นด้วยวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ ทุก 10 ปี
อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุควรพบแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมรับคำแนะนำเกี่ยวกับรายละเอียดของวัคซีนแต่ละชนิดค่ะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
• วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยทั่วไปการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ผู้ป่วยมักจะหายได้เองภายใน 3-5 วันหลังจากมีอาการ แต่หากเป็นผู้สูงอายุจะมีอัตราเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สูง รวมทั้งอัตราการเสียชีวิตก็สูงตามไปด้วย ผู้สูงอายุควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
• วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โรคงูสวัดเกิดจากมาจากไวรัส Varicella ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส ทั้งนี้คนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคงูสวัดได้ เมื่ออายุมากขึ้น และมีภาวะเครียด ร่างกายอ่อนแอ ก็มีโอกาสเป็นได้มาก เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายจะลดลง ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนทุกคน ถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคงูสวัด และช่วยลดความรุนแรงของอาการงูสวัดได้
• วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumonia ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบที่มีมากกว่า 90 สายพันธุ์ ที่สามารถทำให้เกิดอาการหูอักเสบ หูหนวก ไซนัสอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ผู้ที่ควรได้รับการฉีดคือ ผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ทุกคน โดยการฉีดวัคซีนควรฉีดทั้ง 2 ชนิด คือ ฉีด PCV15 จากนั้นอีก 8 สัปดาห์จะฉีด PPSV23 ซึ่งจะสามารถป้องเชื้อ Pneumococcus ได้ครบและนานอย่างน้อย 5 ปี
• วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ในผู้สูงอายุหากเกิดแผลจะมีโอกาสติดเชื้อบาดทะยักได้ง่าย จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง มีปัญหาการกลืน โรคคอตีบที่รุนแรงทำให้หายใจลำบาก ทั้งโรคบาดทะยักและคอตีบหากมีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ และโรคไอกรนทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ไอต่อเนื่องอย่างรุนแรง ผู้สูงอายุจึงควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน 1 เข็ม จากนั้นกระตุ้นด้วยวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ ทุก 10 ปี
อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุควรพบแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมรับคำแนะนำเกี่ยวกับรายละเอียดของวัคซีนแต่ละชนิดค่ะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
Medical Center: Internal Medicine Center
Publish date desc: 06/10/2024
Author doctor
Dr. Pannawadee Uppathamnarakorn

Specialty
Infectious and Tropical Diseases