ศูนย์ตรวจสุขภาพ
ให้บริการตรวจสุขภาพสำหรับผู้รับบริการทุกช่วงวัย โดยมีโปรแกรมตรวจสุขภาพที่จัดขึ้นเพื่อความเหมาะสมในแต่ละช่วงอายุและเพศ เพื่อการคัดกรองโรคเบื้องต้น หาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในขณะที่ร่างกายยังไม่มีอาการแสดง ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถให้การดูแลรักษาโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที หรือหากตรวจพบในระยะเริ่มต้น แพทย์จะสามารถแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมให้กับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพทั้งรายบุคคลและบุคลากรขององค์กร เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้แล้วยังมีความเสี่ยงอื่นๆ เช่น พันธุกรรม และพฤติกรรม ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งสำหรับการเลือกตรวจคัดกรอง เช่น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ควรเริ่มตรวจคัดกรองเร็วกว่าปกติ หรือผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ ควรคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
แพทย์ประจำศูนย์ตรวจสุขภาพ
- แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน
- เวชศาสตร์ครอบครัว
บริการตรวจสุขภาพ
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การตรวจทางรังสีวิทยา
- การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง
- การตรวจความหนาแน่นของกระดูก
- การตรวจตาโดยจักษุแพทย์
- การตรวจทางเดินอาหาร
- การตรวจทางนรีเวช
- การตรวจฟัน
- การตรวจสมรรถภาพของปอด
- การตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ชนิดแสดงภาพสี
- การตรวจหามะเร็งปากมดลูกโดยสูตินรีแพทย์
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม
- การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง
- การเอกซเรย์ปอด
- การฉีดวัคซีน
ประเภทบริการตรวจสุขภาพ
- การตรวจสุขภาพรายบุคคล
- การตรวจสุขภาพก่อนทำประกันสุขภาพ
- การตรวจสุขภาพเพื่อทำงานเกี่ยวกับงานขับรถยนต์ งานขับเครน หรือทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
- การตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ
- การตรวจแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ
- การตรวจสุขภาพบริษัทคู่สัญญา
- การตรวจสุขภาพทางด้านอาชีวเวชศาสตร์
- การตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความพร้อมในการทำงาน
- การตรวจสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน
- การตรวจสุขภาพก่อนเกษียณ หรือก่อนออกจากงาน
การตรวจสุขภาพสำหรับพนักงานบริษัท
ให้บริการตรวจสุขภาพแบบครอบคลุมแก่บริษัทชั้นนำ รวมทั้งให้บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ หากท่านสนใจสอบถามข้อมูลได้ที่แผนกพัฒนาธุรกิจ (ลูกค้าองค์กร)
โทร. 02 265 7777
- กรุณางดอาหารและเครื่องดื่มหลัง 24.00 น. หรืออย่างน้อย 6-8 ช.ม. ก่อนการตรวจร่างกาย
- ในการตรวจสมรรถภาพหัวใจในภาวะออกกำลัง (Exercise Stress Test) ท่านต้องเตรียมตัวดังนี้
- ต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม 2 ชั่วโมงอย่างน้อยก่อนมารับการตรวจ
- ถ้ารับประทานยาประจำ ขอให้สอบถามแพทย์ก่อนว่าควรหยุดยาหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยารักษาโรคหัวใจ (ดิจิทาลิส(digitalis), ไนเตรท(nitrate), เบตาบล็อคเกอร์(betablocker), ยาขับปัสสาวะ(diuretic) ฯลฯ) อย่างน้อยประมาณ 3 วัน เพราะมีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- ในวันที่มาตรวจควรมีร่างกายสมบูรณ์ดี ไม่เป็นไข้หวัดหรือมีอาการป่วยอื่นๆ ถ้ามีให้งดหรือปรึกษาแพทย์ ผู้ทดสอบก่อน
- ในวันตรวจควรใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมต่อการเดินและวิ่ง เสื้อควรมีกระดุมเปิดด้านหน้า และเตรียมรองเท้าวิ่ง หรือรองเท้ากีฬาที่ท่านสวมใส่สบาย
- วันตรวจกรุณามาถึงศูนย์โรคหัวใจ อาคารวิชัยยุทธเหนือ ชั้น 5 หรืออาคารศูนย์การแพทย์ ชั้น 10 ก่อนเวลานัดประมาณ 15 นาที ถ้ามาตามนัดไม่ได้กรุณาโทรแจ้งล่วงหน้า
โทร.02-265-7777 ต่อ 30513 – 14 -
การทำอัลตราซาวด์ช่องท้อง (Ultrasound Whole Abdomen) ท่านยังคงงดอาหารและเครื่องดื่ม
- การทำอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound of Upper Abdomen) ท่านยังคงต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม
- การทำอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound of Lower Abdomen) ท่านต้องกลั้นปัสสาวะให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะเพียงพอก่อนตรวจ ไม่ต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม กรณีสุภาพสตรีมีประจำเดือนสามารถตรวจได้
-
การตรวจปัสสาวะ
ให้ท่านปัสสาวะส่วนต้นทิ้งเล็กน้อย และใช้ภาชนะเก็บปัสสาวะส่วนกลางประมาณครึ่งกระป๋องปิดฝาให้สนิท แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่พยาบาล กรณีสตรีมีรอบเดือน แนะนำให้เก็บหลังหมดประจำเดือนแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ -
การตรวจอุจจาระ
นำกระดาษทิชชู่รองโถส้วมเวลาถ่ายอุจจาระ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน เมื่อได้อุจจาระแล้ว ให้ใช้ช้อนพลาสติกตักอุจจาระขนาดประมาณ 1 นิ้ว เก็บลงในกระปุกเก็บอุจจาระ พร้อมปิดฝาให้สนิท จากนั้นเก็บกระปุกอุจจาระลงในถุงพลาสติกใสอีกชั้นและปิดปากถุงให้แน่น โดยนำส่งเจ้าหน้าที่พยาบาลภายใน 4 ชั่วโมง กรณีสตรีมีรอบเดือน แนะนำให้เก็บหลังหมดประจำเดือนแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ -
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ในสุภาพสตรีนั้น สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่แนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในกรณีสตรีมีรอบเดือน แนะนำให้ทำการตรวจหลังหมดประจำเดือนแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ -
หากท่านมีรายการตรวจส่องกล้อง Gastroscopy หรือ Colonoscopy
ในการตรวจเหล่านี้แนะนำให้พบแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารและตับก่อน เพื่อปรึกษาในการตรวจ การเตรียมตัวและทราบผลข้างเคียงของการส่องกล้อง
- ท่านต้องเตรียมลำไส้ก่อนทำการตรวจ Colonoscopy โดย 2 วันก่อนทำการตรวจให้ท่านงดรับประทานอาหาร ประเภทมีกากใย(ผัก ผลไม้) ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยได้ง่าย
- ต้องรับประทานยาระบายก่อนรับการตรวจ Colonoscopy โดยให้มาติดต่อรับยา(ตามนัดหมาย) ทั้งนี้ แพทย์จะสั่งยาระบาย พร้อมคำแนะนำก่อนการตรวจ Colonoscopy ไว้ให้ทราบ
- ถ้าท่านมีประวัติในการรับประทานยาในกลุ่มละลายลิ่มเลือด ท่านต้องทำการงดยาละลายลิ่มเลือดทุกชนิด เช่น Plavix, BABY Aspirin, Ticlid, Coumadin ก่อน 1 สัปดาห์ จนถึงวันที่ทำการตรวจแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวผู้รักษา ก่อนเข้ารับการตรวจ
- ในการทำการส่องกล้องตรวจ Colonoscopy ท่านต้องมีญาติหรือคนขับรถพากลับบ้าน ห้ามขับรถเอง
- กรณีตรวจประเมินการรับสัมผัสสารเบนซีน (Benzene)
- กรณีตรวจประเมินการรับสัมผัสสารหนู (Arsenic) และปรอท (Mercury)
- กรณีตรวจประเมินการรับสัมผัสสารAcetone
- กรณีตรวจประเมินการรับสัมผัสสารHexane
- คําแนะนําก่อนการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry)
- คําแนะนําก่อนการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการมองเห็น เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านสายตาของพนักงานให้เหมาะกับลักษณะงาน
- คําแนะนําก่อนการตรวจคัดกรองสมรรถภาพปอด (Spirometry)
- คําแนะนําก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ กรณีเข้ารับการตรวจตามปัจจัยเสี่ยงด้านสารเคมี Sodium Benzoate
ข้อปฏิบัติก่อนการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย
เงื่อนไขการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพ
กรุณาทำนัดหมายก่อนล่วงหน้า หรือโทรสอบถามเงื่อนไขหรือรายละเอียดโปรแกรมก่อนเข้ารับบริการได้ที่ศูนย์ตรวจสุขภาพ ชั้น 11 อาคารศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ
โทร. 0 2265 7777
วันและเวลาทำการ
วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 07.00 – 15.00 น.
สถานที่
ชั้น 11 อาคารศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ