เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)
ให้บริการตรวจผู้ป่วยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถตรวจได้หลายอวัยวะ เช่น สมอง ช่องท้อง ปอด และระบบหลอดเลือด ปัจจุบันแผนกรังสีวิทยาให้บริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงชนิด 2 หลอดเอกซเรย์ (Dual Source Computed Tomography) เครื่องแรกของประเทศไทย มีประสิทธิภาพสูงที่ใช้ในการตรวจหัวใจได้ดี
วิธีการตรวจ
ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ผู้รับบริการจะต้องนอนนิ่งๆบนเตียงตรวจ อาจมีการขอให้กลั้นหายใจ (เฉพาะส่วนที่มีการเคลื่อนไหวจากการหายใจ) ตามที่เจ้าหน้าที่บอกในการตรวจอวัยวะบางส่วน อาจต้องดื่มน้ำผสมสารทึบรังสี หรือฉีดยาที่เป็นสารทึบรังสี ซึ่งทั้งการกินยาและฉีดยาจะช่วยทำให้การวินิจฉัยโรคดียิ่งขึ้น และยาที่ฉีดจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ภายในเวลาประมาณ 15-30 นาที ปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลสามารถให้บริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทั่วไป และตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์พิเศษ ได้แก่ เทคนิคการสร้างภาพหลอดเลือดแดง การคำนวณหินปูนบริเวณหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนเทคนิคการสร้างภาพเหมือน การตรวจส่องกล้องลำไส้และหลอดลม เทคนิคการสร้างภาพ 3 มิติของส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นต้น
การเตรียมตัว | |
---|---|
ก่อนวันตรวจ 1 วัน | วันที่มาตรวจ |
เวลา 8:00 น. ทาน Zantac 1 เม็ด และ Clarityne 1 เม็ด
|
เวลา 8:00 น. ทาน Zantac 1 เม็ด และ Clarityne 1 เม็ด
|
ข้อดีของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- ใช้เวลาในการตรวจน้อย แต่ให้รายละเอียดของอวัยวะในระบบต่างๆ ได้
- ใช้ในการตรวจเส้นเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
- ใช้ในการตรวจอวัยวะได้ทุกส่วน โดยเฉพาะสมอง ตับ ไต ถุงน้ำดี และตับอ่อน
- สามารถแสดงตำแหน่งของเนื้องอก หรือร่องรอยโรคอย่างแม่นยำ
- การตรวจจะไม่ได้รับความเจ็บปวด นอกจากขณะได้รับการฉีดสารทึบรังสี ท่านอาจรู้สึกร้อนไปตามตัวได้
ข้อจำกัด
- ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ไม่สามารถเข้ารับการตรวจได้
- ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ไอโอดีน หรือสารทึบรังสีไม่สามารถเข้ารับการตรวจได้
- ในรายที่ต้องฉีดสารทึบรังสี อาจได้รับผลข้างเคียง หรือแพ้สารได้
วันและเวลาทำการ
วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 07.30 – 19.00 น.
สถานที่
ชั้น 10 อาคารศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ
ชั้น 5 อาคารวิชัยยุทธเหนือ