Work From Home ให้ปลอดภัย ห่างไกล Office Syndrome
หนุ่มสาวออฟฟิศที่กำลัง Work from Home ถ้ายังไม่อยากให้อาการ Office Syndromeเล่นงาน ลองอ่านข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับการ Work from Home ให้ปลอดภัยจาก Office Syndrome โดย นพ.สุดหล้า ปรีชานนท์ แพทย์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิชัยยุทธกันค่ะ
ทุกคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า Office Syndrome หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่เกิดขึ้นจากการทำงานในออฟฟิศโดยมีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะการนั่ง ส่งผลต่อการเกิดอาการปวดได้หลายจุด เช่น บ่า คอ ไหล่ หรือหลัง และมักจะเป็นเรื้อรัง หนึ่งในเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 คือ การเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานจากออฟฟิศเป็นที่บ้าน หรือ “Work From Home” ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาที่หลายคนไม่คาดคิด คือ อาการปวดต่างๆ ที่ตนเองเคยเป็นจาก Office Syndrome กลับแย่ลงกว่าเดิม หรือคนที่ไม่เคยปวดมาก่อนเลยก็อาจจะเริ่มมีอาการได้ ทำให้ช่วงนี้ผู้ป่วยหลายท่านต้องมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยอาการและสาเหตุที่คล้ายๆ กัน (จึงขอเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า “Work From Home Syndrome”)
ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการนี้?
แบ่งเป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ
1. จากการเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เช่น บางบริษัทมีการประชุมเพื่อปรับแผนกลยุทธการดำเนินงานต่างๆ ทำให้ในแต่ละวันมีการประชุมทางไกลโดยใช้ Computer, Tablet หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานมากขึ้น (ผู้ป่วยบางรายเล่าว่า เวลาประชุมนั้นตนเองแทบจะไม่สามารถไปทำอย่างอื่นได้เพราะต้องเปิดกล้องไว้ตลอดและมิหนำซ้ำในแต่ละวันยังมีการประชุมติดต่อกันหลายเรื่องทั้งวัน)
2. จากท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) เช่น - นั่งทำงานบนเตียงหรือนั่งกับพื้น ใช้โต๊ะญี่ปุ่นแทนโต๊ะทำงาน - นั่งทำงานในห้องรับประทานอาหาร ใช้โต๊ะอาหารเป็นโต๊ะทำงาน - ใช้ Laptop Computer แทนการใช้ Desktop Computer เป็นเวลานานๆ - ติดต่อสื่อสารกันโดยการพิมพ์ในโทรศัพท์มือถือหรือ Tablet มากขึ้น ส่งผลให้ท่าทางในการทำงานอยู่ในลักษณะไม่เหมาะสมมากขึ้น เช่น ไหล่สองข้างห่อ คางยื่นไปด้านหน้า บ่ายกตัว หลังโก่งงอหรือเอียง
หลักการในการแก้ไข
1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้มีความกระชับมากขึ้น เช่น ในการประชุมต่างๆควรมีช่วงเวลาพักระหว่างการประชุมมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ประชุมสามารถทำกิจกรรมอื่นๆในบ้านได้ในขณะที่กำลังประชุม รวมถึงจำกัดเวลาในการประชุมในแต่ละวันไม่ให้มากเกินไป
2. ปรับสภาพแวดล้อมและท่าทางการทำงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics)
3. มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงจากการใช้งานนานๆอยู่สม่ำเสมอ ทุก 1/2-1 ชั่วโมง
หลักการยศาสตร์ในการนั่งทำงาน
1. ศีรษะ ตั้งตรงหรือก้มเล็กน้อยทำมุม 10-15 องศา สายตาขนานกับพื้นและอยู่ระนาบเดียวกันกับขอบบนสุดของหน้าจอคอมพิวเตอร์
2. คอ ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. หลัง ชิดกับพนักพิงหลัง ไม่แอ่นหรือก้ม
4. สะโพก แนบกับมุมฉากของพนักเก้าอี้ ลงน้ำหนักที่สะโพกทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน
5. ข้อศอก วางแนบลำตัวหรือวางบนพนักวางแขน งอศอกทำมุมประมาณ 90 องศา
6. ข้อมือ สามารถวางบนโต๊ะทำงานได้ในขณะที่ใช้ Computer
7. ต้นขา วางราบกับที่นั่ง
8. เข่า งอทำมุม 90 องศา
9. เท้า วางราบกับพื้น ถ้าเท้าลอยจากพื้นให้นำวัสดุมารองได้ เช่น หมอนหนาๆ
คำแนะนำเพิ่มเติม
1. ถ้าคิดว่าในอนาคตต้องทำงานจากที่บ้านเป็นระยะเวลานาน ควรจัดสิ่งแวดล้อมและสถานที่ในการทำงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์เลย เช่น จัดหาเก้าอี้หรือโต๊ะทำงานมาไว้ในบ้าน
2. ควรใช้ Desktop Computer มากกว่าการใช้ Laptop Computer เพราะทำให้เราสามารถจัดท่าทางการทำงานได้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ หรือทำการปรับเปลี่ยนโดยการยกความสูงของ Laptop Computer ขึ้นมาให้ขอบด้านบนของหน้าจอ อยู่ในระนาบเดียวกันกับสายตา และทำการเชื่อมต่อ Keyboard รวมถึง Mouse ภายนอกแยกออกมาต่างหาก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ทุกคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า Office Syndrome หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่เกิดขึ้นจากการทำงานในออฟฟิศโดยมีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะการนั่ง ส่งผลต่อการเกิดอาการปวดได้หลายจุด เช่น บ่า คอ ไหล่ หรือหลัง และมักจะเป็นเรื้อรัง หนึ่งในเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 คือ การเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานจากออฟฟิศเป็นที่บ้าน หรือ “Work From Home” ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาที่หลายคนไม่คาดคิด คือ อาการปวดต่างๆ ที่ตนเองเคยเป็นจาก Office Syndrome กลับแย่ลงกว่าเดิม หรือคนที่ไม่เคยปวดมาก่อนเลยก็อาจจะเริ่มมีอาการได้ ทำให้ช่วงนี้ผู้ป่วยหลายท่านต้องมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยอาการและสาเหตุที่คล้ายๆ กัน (จึงขอเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า “Work From Home Syndrome”)
ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการนี้?
แบ่งเป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ
1. จากการเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เช่น บางบริษัทมีการประชุมเพื่อปรับแผนกลยุทธการดำเนินงานต่างๆ ทำให้ในแต่ละวันมีการประชุมทางไกลโดยใช้ Computer, Tablet หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานมากขึ้น (ผู้ป่วยบางรายเล่าว่า เวลาประชุมนั้นตนเองแทบจะไม่สามารถไปทำอย่างอื่นได้เพราะต้องเปิดกล้องไว้ตลอดและมิหนำซ้ำในแต่ละวันยังมีการประชุมติดต่อกันหลายเรื่องทั้งวัน)
2. จากท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) เช่น - นั่งทำงานบนเตียงหรือนั่งกับพื้น ใช้โต๊ะญี่ปุ่นแทนโต๊ะทำงาน - นั่งทำงานในห้องรับประทานอาหาร ใช้โต๊ะอาหารเป็นโต๊ะทำงาน - ใช้ Laptop Computer แทนการใช้ Desktop Computer เป็นเวลานานๆ - ติดต่อสื่อสารกันโดยการพิมพ์ในโทรศัพท์มือถือหรือ Tablet มากขึ้น ส่งผลให้ท่าทางในการทำงานอยู่ในลักษณะไม่เหมาะสมมากขึ้น เช่น ไหล่สองข้างห่อ คางยื่นไปด้านหน้า บ่ายกตัว หลังโก่งงอหรือเอียง
หลักการในการแก้ไข
1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้มีความกระชับมากขึ้น เช่น ในการประชุมต่างๆควรมีช่วงเวลาพักระหว่างการประชุมมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ประชุมสามารถทำกิจกรรมอื่นๆในบ้านได้ในขณะที่กำลังประชุม รวมถึงจำกัดเวลาในการประชุมในแต่ละวันไม่ให้มากเกินไป
2. ปรับสภาพแวดล้อมและท่าทางการทำงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics)
3. มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงจากการใช้งานนานๆอยู่สม่ำเสมอ ทุก 1/2-1 ชั่วโมง
หลักการยศาสตร์ในการนั่งทำงาน
1. ศีรษะ ตั้งตรงหรือก้มเล็กน้อยทำมุม 10-15 องศา สายตาขนานกับพื้นและอยู่ระนาบเดียวกันกับขอบบนสุดของหน้าจอคอมพิวเตอร์
2. คอ ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. หลัง ชิดกับพนักพิงหลัง ไม่แอ่นหรือก้ม
4. สะโพก แนบกับมุมฉากของพนักเก้าอี้ ลงน้ำหนักที่สะโพกทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน
5. ข้อศอก วางแนบลำตัวหรือวางบนพนักวางแขน งอศอกทำมุมประมาณ 90 องศา
6. ข้อมือ สามารถวางบนโต๊ะทำงานได้ในขณะที่ใช้ Computer
7. ต้นขา วางราบกับที่นั่ง
8. เข่า งอทำมุม 90 องศา
9. เท้า วางราบกับพื้น ถ้าเท้าลอยจากพื้นให้นำวัสดุมารองได้ เช่น หมอนหนาๆ
คำแนะนำเพิ่มเติม
1. ถ้าคิดว่าในอนาคตต้องทำงานจากที่บ้านเป็นระยะเวลานาน ควรจัดสิ่งแวดล้อมและสถานที่ในการทำงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์เลย เช่น จัดหาเก้าอี้หรือโต๊ะทำงานมาไว้ในบ้าน
2. ควรใช้ Desktop Computer มากกว่าการใช้ Laptop Computer เพราะทำให้เราสามารถจัดท่าทางการทำงานได้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ หรือทำการปรับเปลี่ยนโดยการยกความสูงของ Laptop Computer ขึ้นมาให้ขอบด้านบนของหน้าจอ อยู่ในระนาบเดียวกันกับสายตา และทำการเชื่อมต่อ Keyboard รวมถึง Mouse ภายนอกแยกออกมาต่างหาก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 08/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
นพ. สุดหล้า ปรีชานนท์
ความถนัดเฉพาะทาง
เวชศาสตร์ฟื้นฟู