การปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด
ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 15-25 ปี อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ นอกจากนี้ฟันซี่อื่นๆ ก็อาจจะคุดได้ แต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
การผ่าตัดฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกให้เห็นฟัน แล้วใช้เครื่องกรอตัดแบ่งฟันออกมาแล้วล้างทำความสะอาดและเย็บแผลปิด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
การผ่าฟันคุดมีอันตรายหรือผลแทรกซ้อนหรือไม่
ผลแทรกซ้อนของการผ่าตัดฟันคุดที่พบได้ เช่น อาการปวดและบวม มีเลือดไหลจากแผลผ่าตัด มีไข้ หลังผ่าตัด 3-5 วัน แล้วอาการปวดบวมจะมากที่สุด หลังจากนั้นจะเริ่มดีขึ้น อาจมีอาการชาของริมฝีปากล่างนานผิดปกติทั้งที่หมดฤทธิ์ของยาชาแล้ว ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้มากจนผิดปกติ ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อหาทางแก้ไข แต่ผลแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้เนื่องจากเป็นการอักเสบของแผลก่อนแผลจะหาย ไม่ต้องกังวลจนกลัวแล้วไม่ยอมไปผ่าตัดฟันคุด เพราะถ้าเก็บฟันคุดไว้จะมีอันตรายยิ่งกว่า
จะป้องกันอันตรายจากฟันคุดได้อย่างไร
การพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและเอกซเรย์ฟัน จะทำให้ทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่ในตำแหน่งใดบ้าง หากมีข้อบ่งชี้ควรผ่าฟันคุดออกก่อนที่จะมีอาการปวดบวม หรือทำให้ฟันข้างเคียงมีปัญหา การผ่าตัดในช่วงที่อายุยังน้อย (15-25 ปี) สามารถทำได้ง่าย แผลหายเร็ว และผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อย เพราะฉะนั้นหากมีฟันคุดแล้วอย่ารั้งรอ ควรรีบผ่าตัดออกแต่เนิ่นๆ
ข้อแนะนำหลังการผ่าฟันคุด
1. กัดผ้าให้แน่นพอสมควรประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากการผ่าฟันคุด แล้วคายผ้าทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมาอีก ให้กัดผ้าที่สะอาดใหม่อีก 1 ชั่วโมง
2. ถ้าปริมาณเลือดไม่ลดลงภายหลังการกัดผ้า 3-4 ชั่วโมง ควรติดต่อศูนย์ทันตกรรมหรือศูนย์โรคฉุกเฉินทันที
3. ควรใช้น้ำแข็งห่อประคบนอกปากบริเวณที่ผ่าฟันคุดใน 48 ชั่วโมงแรก เพื่อลดอาการบวม
4. หลังจากนั้นควรประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น จะช่วยให้อาการบวมยุบเร็วขึ้น
5. ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาใดๆ ในวันแรก ถ้าจำเป็นให้บ้วนเบาๆ มิฉะนั้นเลือดที่กำลังจะแข็งตัวอาจหลุดไป และอาจทำให้ปวดได้
6. แปรงฟันทำความสะอาดตามปกติ แต่ให้ระวังแผลที่ถอนฟันหรือผ่าตัด
7. ห้ามเอานิ้วมือ ไม้จิ้มฟัน แคะ เขี่ยบริเวณแผล และห้ามดูดแผลเล่น
8. ถ้ามีอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ยาปวดตามแพทย์สั่ง
9. ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และหลีกเลี่ยงอาหารที่อุ่นจัดหรือร้อน
10. ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา 3 วันหลังการผ่าฟันคุด
11. ห้ามออกกำลังกายในวันที่ผ่าฟันคุด
12. กลับมาตัดไหมและตรวจดูความเรียบร้อยประมาณ 7 วันหลังผ่าฟันคุด ในกรณีที่ใช้ไหมละลาย อาจไม่มีการนัดตัดไหม
13. ควรติดต่อศูนย์ทันตกรรมทันทีถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติ หรือมีข้อสงสัยในการปฏิบัติตัว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
การผ่าตัดฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกให้เห็นฟัน แล้วใช้เครื่องกรอตัดแบ่งฟันออกมาแล้วล้างทำความสะอาดและเย็บแผลปิด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
การผ่าฟันคุดมีอันตรายหรือผลแทรกซ้อนหรือไม่
ผลแทรกซ้อนของการผ่าตัดฟันคุดที่พบได้ เช่น อาการปวดและบวม มีเลือดไหลจากแผลผ่าตัด มีไข้ หลังผ่าตัด 3-5 วัน แล้วอาการปวดบวมจะมากที่สุด หลังจากนั้นจะเริ่มดีขึ้น อาจมีอาการชาของริมฝีปากล่างนานผิดปกติทั้งที่หมดฤทธิ์ของยาชาแล้ว ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้มากจนผิดปกติ ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อหาทางแก้ไข แต่ผลแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้เนื่องจากเป็นการอักเสบของแผลก่อนแผลจะหาย ไม่ต้องกังวลจนกลัวแล้วไม่ยอมไปผ่าตัดฟันคุด เพราะถ้าเก็บฟันคุดไว้จะมีอันตรายยิ่งกว่า
จะป้องกันอันตรายจากฟันคุดได้อย่างไร
การพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและเอกซเรย์ฟัน จะทำให้ทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่ในตำแหน่งใดบ้าง หากมีข้อบ่งชี้ควรผ่าฟันคุดออกก่อนที่จะมีอาการปวดบวม หรือทำให้ฟันข้างเคียงมีปัญหา การผ่าตัดในช่วงที่อายุยังน้อย (15-25 ปี) สามารถทำได้ง่าย แผลหายเร็ว และผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อย เพราะฉะนั้นหากมีฟันคุดแล้วอย่ารั้งรอ ควรรีบผ่าตัดออกแต่เนิ่นๆ
ข้อแนะนำหลังการผ่าฟันคุด
1. กัดผ้าให้แน่นพอสมควรประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากการผ่าฟันคุด แล้วคายผ้าทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมาอีก ให้กัดผ้าที่สะอาดใหม่อีก 1 ชั่วโมง
2. ถ้าปริมาณเลือดไม่ลดลงภายหลังการกัดผ้า 3-4 ชั่วโมง ควรติดต่อศูนย์ทันตกรรมหรือศูนย์โรคฉุกเฉินทันที
3. ควรใช้น้ำแข็งห่อประคบนอกปากบริเวณที่ผ่าฟันคุดใน 48 ชั่วโมงแรก เพื่อลดอาการบวม
4. หลังจากนั้นควรประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น จะช่วยให้อาการบวมยุบเร็วขึ้น
5. ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาใดๆ ในวันแรก ถ้าจำเป็นให้บ้วนเบาๆ มิฉะนั้นเลือดที่กำลังจะแข็งตัวอาจหลุดไป และอาจทำให้ปวดได้
6. แปรงฟันทำความสะอาดตามปกติ แต่ให้ระวังแผลที่ถอนฟันหรือผ่าตัด
7. ห้ามเอานิ้วมือ ไม้จิ้มฟัน แคะ เขี่ยบริเวณแผล และห้ามดูดแผลเล่น
8. ถ้ามีอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ยาปวดตามแพทย์สั่ง
9. ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และหลีกเลี่ยงอาหารที่อุ่นจัดหรือร้อน
10. ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา 3 วันหลังการผ่าฟันคุด
11. ห้ามออกกำลังกายในวันที่ผ่าฟันคุด
12. กลับมาตัดไหมและตรวจดูความเรียบร้อยประมาณ 7 วันหลังผ่าฟันคุด ในกรณีที่ใช้ไหมละลาย อาจไม่มีการนัดตัดไหม
13. ควรติดต่อศูนย์ทันตกรรมทันทีถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติ หรือมีข้อสงสัยในการปฏิบัติตัว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์ทันตกรรม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 17/01/2025
แพทย์ผู้เขียน
ทพญ. หัทยา ศิริสวย
ความถนัดเฉพาะทาง
ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล