ดูแลจิตใจอย่างไร เมื่อพบเหตุการณ์สะเทือนใจ
เหตุการณ์ความรุนแรงที่จังหวัดนครราชสีมาที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อาจทำให้ใครหลายคนเกิดอาการและความรู้สึกต่างๆ เช่น โกรธ กลัว วิตกกังวล เศร้า อาการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการแสดงออกทางจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ หากได้รับการช่วยเหลือและดูแลด้านจิตใจที่เหมาะสม ก็จะสามารถปรับอารมณ์ และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแลด้านจิตใจของตนเองและคนใกล้ชิดมาฝากค่ะ
ทั้งนี้ หากพบความผิดปกติ ควรรีบพาไปพบจิตแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือติดต่อขอคำปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
- หลีกเลี่ยงการรับข่าวที่มากเกินไปจากสื่อ ภาพความรุนแรงต่างๆ รวมไปถึงข่าวปลอมและข่าวลือ อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดและปัญหาด้านสุขภาพจิตภายหลังพบเหตุการณ์
- หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และความรู้สึกตัวเอง ความเปลี่ยนแปลงด้านการกิน การนอน รู้สึกหมดกำลัง และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เป็นสัญญาณของระดับความเครียดสูง ถ้าเป็นเด็กและเยาวชนอาจจะมีอาการ เช่น เกาะคนดูแลแน่น ร้องไห้ หรือแสดงอารมณ์รุนแรง ควรรีบให้การดูแลโดยด่วน
- ให้ความสำคัญกับอารมณ์ของตนเอง ซึ่งอาจเกิดความรู้สึกมากมายในจิตใจ ต้องให้เวลาในการจัดการและช่วยเหลือตนเอง และคนรอบข้างให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้ พยายามรับประทานอาหาร นอนหลับพักผ่อน ออกกำลัง และพยายามใช้ชีวิตปกติให้มากที่สุด
- เพิ่มการพูดคุยและติดต่อกับผู้อื่นเท่าที่ทำได้ เพื่อระบายความรู้สึก
ทั้งนี้ หากพบความผิดปกติ ควรรีบพาไปพบจิตแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือติดต่อขอคำปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพจิต
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 12/02/2020
แพทย์ผู้เขียน
นพ. พงศธร เนตราคม
ความถนัดเฉพาะทาง
จิตแพทย์