• banner

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อน้ำในหูไม่เท่ากัน

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดขึ้นจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นในที่มีปริมาณของน้ำในหูมากเกินปกติ  ส่วนใหญ่มักเป็นกับหูเพียงข้างเดียว ส่งผลให้มีอาการเวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการหูอื้อ เสียงดังในหู คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สามารถทรงตัวได้ พบบ่อยในวัยทำงานที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ถึงแม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมได้ด้วยยา และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

    • หากมีอาการเวียนศีรษะขณะเดิน ควรหยุดเดิน และนั่งพัก เพราะการฝืนเดิน อาจทำให้ล้ม เกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงขณะขับรถหรือทำงานมีอาการเวียนศีรษะ ควรหยุดรถข้างทาง หรือหยุดการทำงาน
    • หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยทางเรือ เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะมากขึ้น
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ช็อคโกแลต น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีผลต่อการทำงานของหูชั้นในที่ควบคุมระบบการทรงตัว
    • ควรหลีกเลี่ยงภาวะความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ
    • ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม  เพราะเกลือโซเดียมที่มีปริมาณมากขึ้นในร่างกาย จะทำให้มีน้ำคั่งในหูชั้นในมากขึ้น    
    • การให้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาขับปัสสาวะ เพื่อทำให้น้ำคั่งในหูชั้นในน้อยลง ยาขยายหลอดเลือด ช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูชั้นในดีขึ้น และยาลดอาการเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน
    • การผ่าตัด เพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นใน ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและให้ยารักษาเต็มที่แล้ว อาการเวียนศีรษะไม่ดีขึ้น จนรบกวนการประกอบอาชีพและกิจวัตรประจำวัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคหู คอ จมูก
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 26/05/2024

แพทย์ผู้เขียน

นพ. กรีฑา ม่วงทอง

img

ความถนัดเฉพาะทาง

โสต-ศอ-นาสิกแพทย์

ความถนัดเฉพาะทางอื่น

-

ภาษาสื่อสาร

ไทย, อังกฤษ

ติดต่อเรา

แพ็กเกจอื่นๆ