อาการแบบไหน รักษาได้ด้วยการฝังเข็ม
การฝังเข็ม เป็นหนึ่งในศาสตร์ของแพทย์แผนจีนที่ใช้รักษาโรคมานานกว่า 4,000 ปี ตามทฤษฎีเชื่อว่าการฝังเข็มจะช่วยฟื้นฟูร่างกายที่เสียสมดุลไปให้กลับเข้าสู่สมดุล ทำให้ระบบลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น และยังสามารถรักษาอาการเจ็บป่วยและโรคได้ด้วยการฝังเข็ม ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้มีความปลอดภัย และไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาอีกด้วย
อาการเจ็บป่วยและโรคที่รักษาได้ด้วยการฝังเข็ม
• ปวดศีรษะไมเกรน มักไม่หายด้วยการใช้ยากินยาฉีด แต่มีผู้ป่วยจำนวนมากที่อาการปวดหัวสงบลงด้วยการรักษาโดยวิธีฝังเข็ม
• อาการปวดเส้นประสาทจากโรคงูสวัด จำเป็นต้องทำการฝังเข็มภายใน 1 เดือน นับจากวันแรกที่เกิดตุ่ม หรือผื่นผิวหนัง หากทำช้ากว่านั้นจะได้ผลไม่ดี หรือไม่หาย และหากทำเร็วที่สุดตอนเริ่มเป็นขณะที่มีตุ่มใส ตุ่มหนอง ผิวหนัง จะหายอย่างรวดเร็ว ทำให้ลดแผลเป็นได้มากและอาจไม่มีอาการปวดเสนประสาทตามาภายหลัง
• อาการปวดประสาทใบหน้าจากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5 อักเสบ
• อัมพาตใบหน้า จากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 อักเสบ ควรทำฝังเข็มภายใน 7 วัน ยิ่งเร็วยิ่งดี อาการจะหายเร็วกว่าปกติ 3-4 เท่า และมีโอกาสหายมากขึ้น
• อัมพฤกษ์ อัมพาต จากเส้นโลหิตในสมองตีบ ตัน หรือแตก หากเกิดจากสมองขาดเลือด ควรทำภายใน 72 ชั่วโมงจะได้ผลดีที่สุด หากเป็นมานานภายใน 11 วัน ยังได้ผลดี หากเกิน 30 วันอาจให้ผลไม่ดี หากเป็นในกรณีเส้นโลหิตในสมองแตก ควรรอ 10-14 วัน จึงเริ่มทำการฝังเข็ม
• อาการปวด หรือชาจากรากประสาทถูกระดูก หมอนรองกระดูกเสื่อมกดทับ
• อาการชา หรือเจ็บปวดจากปลายประสาทเสื่อม เช่น ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
• สำลักอาหารจากการกลืนลำบาก หรืออาการพูดไม่ชัดจากโรคของสมอง
• อาการสมองเสื่อมในระยะต้น
• ฟื้นฟูการทำงานของสมองหลังจากได้รับอุบัติเหตุ หรือหลังการผ่าตัดสมอง
• โรคพาร์กินสัน ช่วยชะลอการเดินหน้าของโรค และทำให้การใช้ยาน้อยลง ซึ่งจะได้ผลเฉพาะผู้ป่วยระยะแรกของโรค
• อาการมือสั่น ขาสั่นจากสมองทำงานผิดปกติ
• อาการวิงเวียนศีรษะ อาการเดินเซ เสียการทรงตัว จากโรคประสาทหู จากสมองน้อยเสื่อมที่พบในผู้ป่วย Hypothyroid (ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย) โรคพิษสุราเรื้อรัง รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง แต่จะไม่ได้ผลในผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม
• อาการปวดท้ายทอย
• อาการปวดคอบ่าไหล่ (Office Syndrome)
• ข้อกรามอักเสบ
• อาการปวดข้อเข่า ข้อเข่าเสื่อม ที่ข้อเข่ายังไม่มีการผิดรูปอย่างมาก
• อาการปวดหลังจากสาเหตุต่างๆ
• อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ
• กรดไหลย้อน
• ลำไส้แปรปรวน
• อาการคลื่นไส้จากการรักษาด้วยเคมีบำบัด
• อาการแพ้ท้อง
• อาการปวดประจำเดือน
• วัยทอง
• อาการของโรคต่างๆ ระหว่างให้นมบุตร และต้องการหลีกเลี่ยงการใช้ยาระหว่างให้นมบุตร สามารถใช้การรักษาด้วยการฝังเข็มมาทดแทนชั่วคราวได้หลายโรค
• การฟื้นฟูการทำงานของลำไส้หลังผ่าตัดช่องท้องจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปรับลำไส้ให้ทำงานเป็นปกติได้เร็วขึ้น
การฝังเข็มทำอย่างไร
ปักเข็มขนาดเล็กๆ บนจุดฝังเข็มที่มีผลต่อการรักษาโรค แล้วคาเข็มไว้ 20-30 นาที จากนั้นกระตุ้นเข็มด้วยวิธีการต่างๆ หรือไม่กระตุ้นก็ได้ โดยอาจกระตุ้นด้วยมือ หรือกระแสไฟฟ้าจากถ่านไฟฉาย จึงไม่มีโอกาสเกิดไฟดูดจนเป็นอันตราย จากนั้นก็จะถอนเข็มออก วิธีนี้แท้จริงควรเรียกว่าการปักเข็ม เพราะไม่ได้ฝังลงไปจริงๆ และเป็นวิธีที่ปลอดภัยมีภาวะแทรกซ้อนน้อย
การฝังเข็มมีอันตรายไหม
โดยทั่วไปเข็มจะมีขนาดเล็ก และไม่ได้แหลมคมเหมือนเข็มฉีดยา เป็นการยากที่จะแทงทำอันตรายต่อเส้นประสาท หรือเส้นเลือดขนาดใหญ่ หากแพทย์ที่ทำการรักษามีความรู้ด้านกายวิภาคก็สามารถหลบหลีกได้ แต่ผู้ป่วยอาจยังมีอาการเขียวช้ำเลือดออกได้บ้างจากเส้นเลือดขนาดฝอยๆ เมื่อเข็มเฉี่ยวไปโดน
อย่างไรก็ตามจากการทบทวนรายงานอันตรายที่เกิดขึ้นจากทั่วโลก มีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น รอยช้ำ เป็นลม ภาวะเยื่อหุ้มปอดทะลุ ซึ่งพบได้ไม่บ่อย เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เลือดออกในก้านสมอง เลือดออกในข้อ เส้นโลหิตได้รับอันตรายและอาจมีอันตรายต่ออวัยวะภายใน แม้จะยังมีโอกาสเกิดน้อยแต่ก็อาจเกิดขึ้นได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
อาการเจ็บป่วยและโรคที่รักษาได้ด้วยการฝังเข็ม
• ปวดศีรษะไมเกรน มักไม่หายด้วยการใช้ยากินยาฉีด แต่มีผู้ป่วยจำนวนมากที่อาการปวดหัวสงบลงด้วยการรักษาโดยวิธีฝังเข็ม
• อาการปวดเส้นประสาทจากโรคงูสวัด จำเป็นต้องทำการฝังเข็มภายใน 1 เดือน นับจากวันแรกที่เกิดตุ่ม หรือผื่นผิวหนัง หากทำช้ากว่านั้นจะได้ผลไม่ดี หรือไม่หาย และหากทำเร็วที่สุดตอนเริ่มเป็นขณะที่มีตุ่มใส ตุ่มหนอง ผิวหนัง จะหายอย่างรวดเร็ว ทำให้ลดแผลเป็นได้มากและอาจไม่มีอาการปวดเสนประสาทตามาภายหลัง
• อาการปวดประสาทใบหน้าจากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5 อักเสบ
• อัมพาตใบหน้า จากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 อักเสบ ควรทำฝังเข็มภายใน 7 วัน ยิ่งเร็วยิ่งดี อาการจะหายเร็วกว่าปกติ 3-4 เท่า และมีโอกาสหายมากขึ้น
• อัมพฤกษ์ อัมพาต จากเส้นโลหิตในสมองตีบ ตัน หรือแตก หากเกิดจากสมองขาดเลือด ควรทำภายใน 72 ชั่วโมงจะได้ผลดีที่สุด หากเป็นมานานภายใน 11 วัน ยังได้ผลดี หากเกิน 30 วันอาจให้ผลไม่ดี หากเป็นในกรณีเส้นโลหิตในสมองแตก ควรรอ 10-14 วัน จึงเริ่มทำการฝังเข็ม
• อาการปวด หรือชาจากรากประสาทถูกระดูก หมอนรองกระดูกเสื่อมกดทับ
• อาการชา หรือเจ็บปวดจากปลายประสาทเสื่อม เช่น ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
• สำลักอาหารจากการกลืนลำบาก หรืออาการพูดไม่ชัดจากโรคของสมอง
• อาการสมองเสื่อมในระยะต้น
• ฟื้นฟูการทำงานของสมองหลังจากได้รับอุบัติเหตุ หรือหลังการผ่าตัดสมอง
• โรคพาร์กินสัน ช่วยชะลอการเดินหน้าของโรค และทำให้การใช้ยาน้อยลง ซึ่งจะได้ผลเฉพาะผู้ป่วยระยะแรกของโรค
• อาการมือสั่น ขาสั่นจากสมองทำงานผิดปกติ
• อาการวิงเวียนศีรษะ อาการเดินเซ เสียการทรงตัว จากโรคประสาทหู จากสมองน้อยเสื่อมที่พบในผู้ป่วย Hypothyroid (ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย) โรคพิษสุราเรื้อรัง รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง แต่จะไม่ได้ผลในผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม
• อาการปวดท้ายทอย
• อาการปวดคอบ่าไหล่ (Office Syndrome)
• ข้อกรามอักเสบ
• อาการปวดข้อเข่า ข้อเข่าเสื่อม ที่ข้อเข่ายังไม่มีการผิดรูปอย่างมาก
• อาการปวดหลังจากสาเหตุต่างๆ
• อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ
• กรดไหลย้อน
• ลำไส้แปรปรวน
• อาการคลื่นไส้จากการรักษาด้วยเคมีบำบัด
• อาการแพ้ท้อง
• อาการปวดประจำเดือน
• วัยทอง
• อาการของโรคต่างๆ ระหว่างให้นมบุตร และต้องการหลีกเลี่ยงการใช้ยาระหว่างให้นมบุตร สามารถใช้การรักษาด้วยการฝังเข็มมาทดแทนชั่วคราวได้หลายโรค
• การฟื้นฟูการทำงานของลำไส้หลังผ่าตัดช่องท้องจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปรับลำไส้ให้ทำงานเป็นปกติได้เร็วขึ้น
การฝังเข็มทำอย่างไร
ปักเข็มขนาดเล็กๆ บนจุดฝังเข็มที่มีผลต่อการรักษาโรค แล้วคาเข็มไว้ 20-30 นาที จากนั้นกระตุ้นเข็มด้วยวิธีการต่างๆ หรือไม่กระตุ้นก็ได้ โดยอาจกระตุ้นด้วยมือ หรือกระแสไฟฟ้าจากถ่านไฟฉาย จึงไม่มีโอกาสเกิดไฟดูดจนเป็นอันตราย จากนั้นก็จะถอนเข็มออก วิธีนี้แท้จริงควรเรียกว่าการปักเข็ม เพราะไม่ได้ฝังลงไปจริงๆ และเป็นวิธีที่ปลอดภัยมีภาวะแทรกซ้อนน้อย
การฝังเข็มมีอันตรายไหม
โดยทั่วไปเข็มจะมีขนาดเล็ก และไม่ได้แหลมคมเหมือนเข็มฉีดยา เป็นการยากที่จะแทงทำอันตรายต่อเส้นประสาท หรือเส้นเลือดขนาดใหญ่ หากแพทย์ที่ทำการรักษามีความรู้ด้านกายวิภาคก็สามารถหลบหลีกได้ แต่ผู้ป่วยอาจยังมีอาการเขียวช้ำเลือดออกได้บ้างจากเส้นเลือดขนาดฝอยๆ เมื่อเข็มเฉี่ยวไปโดน
อย่างไรก็ตามจากการทบทวนรายงานอันตรายที่เกิดขึ้นจากทั่วโลก มีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น รอยช้ำ เป็นลม ภาวะเยื่อหุ้มปอดทะลุ ซึ่งพบได้ไม่บ่อย เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เลือดออกในก้านสมอง เลือดออกในข้อ เส้นโลหิตได้รับอันตรายและอาจมีอันตรายต่ออวัยวะภายใน แม้จะยังมีโอกาสเกิดน้อยแต่ก็อาจเกิดขึ้นได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์ฝังเข็ม
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 16/09/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. กิตติศักดิ์ เก่งสกุล
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบประสาท