พ่อแม่เข้ม เด็กเครียด
เด็กเป็นช่วงวัยที่กำลังเติบโตและมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย จิตใจและอุปนิสัย การเจริญเติบโตดังกล่าวส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออก การใช้ชีวิตในปัจจุบัน และในช่วงวัยถัดไปจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ ยิ่งในยุคของการแข่งขันที่สูงขึ้น การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่พ่อแม่ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นสนับสนุนเด็กให้มีความเก่ง เฉลียวฉลาดไม่แพ้คนอื่น ทำให้พ่อแม่หลายครอบครัวเกิดความเครียดและกังวลใจตั้งแต่การเฟ้นหาสถาบันการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรู้ที่ดีให้กับเด็กและตอบโจทย์ความต้องการของพ่อแม่ แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่พ่อแม่กังวลใจนั้นสามารถส่งผลให้เด็กเกิดภาวะความเครียดได้ ในบทความนี้จึงอยากจะขยายความถึงภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นกับเด็ก เพื่อเป็นแนวทางให้พ่อแม่เข้าใจและสังเกตเด็กเบื้องต้น ดังนี้
ความเครียดในเด็ก แบ่งเป็น 2 ระดับ
ระดับที่ 1 ภาวะเครียดฉับพลัน (Acute Stress) จะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ
ระดับที่ 2 ภาวะเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) จะทำให้เด็กต้องทุกข์ทรมานเป็นเวลานานๆ และอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเคมีในสมอง (Brain Chemistry) และทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง
อาการของเด็กที่มีความเครียด
การสังเกตเด็กที่เครียดอาจจะยาก แต่สามารถพบได้จากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรมและทางร่างกาย เช่น
วิธีการลดความเครียดของเด็ก
“ความเครียดในเด็ก” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจและดูแล อย่าปล่อยปละละเลย หากพบว่าเด็กมีอาการซึมเศร้า ผิดปกติ พ่อแม่ได้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายในครอบครัวแล้วแต่ยังไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นก็ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาโดยเร็ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ความเครียดในเด็ก แบ่งเป็น 2 ระดับ
ระดับที่ 1 ภาวะเครียดฉับพลัน (Acute Stress) จะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ
ระดับที่ 2 ภาวะเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) จะทำให้เด็กต้องทุกข์ทรมานเป็นเวลานานๆ และอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเคมีในสมอง (Brain Chemistry) และทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง
อาการของเด็กที่มีความเครียด
การสังเกตเด็กที่เครียดอาจจะยาก แต่สามารถพบได้จากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรมและทางร่างกาย เช่น
- ร้องไห้และกรีดร้องบ่อยครั้ง
- พฤติกรรมก้าวร้าว ดื้อดึง เกเร
- พัฒนาการในการเรียนรู้เกิดความบกพร่องและ/หรือลดลง
- ทักษะการพูดอ่อน พูดติดอ่าง
- ขาดความมั่นใจในตนเอง มีความวิตกกังวล หรือมีความกลัว
- แยกตัวจากเพื่อน เล่นน้อยลง
- ขี้หงุดหงิด ขี้แย
- กลัวการแยกจากคนหรือสิ่งของ
- ไม่มีสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ บ่นปวดศรีษะ
- น้ำหนักน้อยหรือตกเกณฑ์และไม่อยากอาหาร
- ปวดท้อง หรือมีปัญหาในการย่อยอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
- นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท
- ฝันร้าย
วิธีการลดความเครียดของเด็ก
- การทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวเช่น ทานข้าวร่วมกัน ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ ให้เด็กได้ช่วยงานบ้านเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีความสุข ทำให้เด็กลืมเรื่องเครียด อีกทั้งยังทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัวด้วย
- การพูดอย่างสร้างสรรค์ และแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมพูดในทางบวก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับการพูดจากับเด็กให้มาก คือการพูดในทางบวก การชมเชยลูก การให้กำลังใจ ในการสอนลูก ควรใช้คำพูดที่สุภาพ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี และช่วยให้ความสัมพันธ์ของคุณและเด็กมีคุณภาพขึ้น
- การให้เด็กได้พบกับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆนอกจากการเรียน เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้เด็ก ควรให้เด็กรู้จักความผิดพลาดบ้าง เพื่อทำให้เด็กเกิดความเรียนรู้ รู้จักปรับตัวและรู้จักแก้ไขปัญหา
- การยอมรับในความสามารถของเด็กและไม่ควรบังคับเด็กให้ทำในสิ่งที่ยังไม่พร้อม ไม่เร่งเด็กในด้านวิชาการมากจนเกินไป และควรให้เวลากับเด็กในการเรียนรู้ปรับตัวด้านสังคมด้วย พ่อแม่ส่วนใหญ่มักมองข้ามและเร่งเด็กให้เรียนกวดวิชาเพิ่ม ทำให้ไม่มีโอกาสได้ใช้เวลาทำกิจกรรมอื่นหรือเล่นกับเพื่อน “ทำให้เด็กขาดทักษะการเข้าสังคม” เข้ากับเพื่อนไม่ได้ และไม่รู้ว่าการเข้ากับเพื่อนต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
- รับฟังความคิดเห็นเด็กเมื่อเด็กทำผิดสิ่งที่ควรทำคือรับฟังความคิดเห็น และถามถึงเหตุผลที่เด็กกระทำสิ่งนั้นว่าคืออะไร? ทำไมจึงทำ? เมื่อทราบสาเหตุจะทำให้เข้าใจถึงการกระทำของเด็ก ส่งผลให้เราสามารถพูดคุยและสอนเด็กได้อย่างถูกต้อง และส่งเสริมให้เด็กได้แก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น
“ความเครียดในเด็ก” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจและดูแล อย่าปล่อยปละละเลย หากพบว่าเด็กมีอาการซึมเศร้า ผิดปกติ พ่อแม่ได้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายในครอบครัวแล้วแต่ยังไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นก็ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาโดยเร็ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพจิต
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 11/04/2022
แพทย์ผู้เขียน
พญ. เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ความถนัดเฉพาะทาง
จิตเวชเด็กและวัยรุ่น