มะเร็งผิวหนัง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
ผิวหนังเป็นส่วนที่อยู่นอกสุด และต้องสัมผัสสิ่งต่างๆมากที่สุดในร่างกาย สิ่งหนึ่งที่ผิวหนังต้องสัมผัสเป็นประจำ คือ แสงแดด แสงแดดเมื่อกระทบผิวหนังทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ หลายอย่าง การสัมผัสแสงแดดต่อเนื่อง สะสมเป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ มะเร็งผิวหนังเกิดจาก การที่ผิวหนังมีการสร้างเซลล์ที่ผิดปกติไปจากเดิมเกิดเป็นเนื้อร้ายขึ้นมา สามารถเกิดได้ในทุกตำแหน่งของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่สัมผัสแสงแดดเป็นประจำ เรามาทำความรู้จักโรคมะเร็งผิวหนังให้มากขั้นกันดีกว่าค่ะ
มะเร็งผิวหนังคือโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง เนื่องมาจากความผิดปกติในการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยในคนไทย สาเหตุที่สำคัญยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า หูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรังเมื่อเกิดการระคายเคืองเป็นระยะเวลานานอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อย มี 3 ชนิด คือ
• มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ คาร์ซิโนมา (Basal cell carcinoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด มักปรากฏบนผิวหนังที่โดนแดดบ่อย ๆ เช่น ใบหน้า ลำคอ หลัง และมือ ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงมากนัก แต่หากทิ้งไว้ไม่รักษาอาจมีการลุกลามลึกลงไปใต้ผิวหนังได้
• มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ คาร์ซิโนมา (Squamous cell carcinoma) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า มักจะลุกลามลงลึกสู่ด้านล่างของผิวหนัง ถ้าคลำดูผิวหนังด้านล่างมักจะพบว่าเป็นก้อนแข็งๆ
• มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งจากเซลล์สร้างเม็ดสี เมลานิน พบได้น้อย แต่มีความร้ายแรงมาก เพราะสามารถกระจายได้บ่อยกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น
สาเหตุ
แสงแดดไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเท่านั้น เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งได้อีก เช่น
• มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
• ผู้ที่มีสีผิวขาว เช่น ชาวยุโรปหรืออเมริกา
• ผิวหนังในบริเวณที่เคยได้รังสีรักษา
• ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น HIV หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน
• มีประวัติการถูกสารเคมีเรื้อรังเป็นเวลานาน เช่น สารหนู
อาการ
• มีตุ่ม ก้อนเนื้อ หรือแผลเรื้อรังที่ผิวหนัง
• ผื่นแดง อักเสบเรื้อรัง มีอาการคัน และเจ็บได้ แผลเรื้อรังที่ไม่หายภายใน 3-4 สัปดาห์
• ตุ่มหรือผื่นที่เป็นมานานและมีการแตกเป็นแผล มีเลือดออก
• ไฝที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง มีการเปลี่ยนแปลง เช่น โตเร็วผิดปกติ ไฝเม็ดเล็กกระจายออกข้างๆ สีไม่สม่ำเสมอหรือสีเปลี่ยนแปลง ขอบเขตไม่เรียบ
การรักษา
การรักษามะเร็งผิวหนังมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิด ตำแหน่ง และการลุกลามของโรค โดยแพทย์เฉพาะทางจะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่งทั่วไปจะใช้วิธีการผ่าตัดทั้งรอยโรคและในส่วนบริเวณผิวหนังที่ปกติโดยรอบออก บางชนิดอาจแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะส่วนอื่นอาจต้องรักษาร่วม เช่น การฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
มะเร็งผิวหนังคือโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง เนื่องมาจากความผิดปกติในการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยในคนไทย สาเหตุที่สำคัญยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า หูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรังเมื่อเกิดการระคายเคืองเป็นระยะเวลานานอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อย มี 3 ชนิด คือ
• มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ คาร์ซิโนมา (Basal cell carcinoma) เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด มักปรากฏบนผิวหนังที่โดนแดดบ่อย ๆ เช่น ใบหน้า ลำคอ หลัง และมือ ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงมากนัก แต่หากทิ้งไว้ไม่รักษาอาจมีการลุกลามลึกลงไปใต้ผิวหนังได้
• มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ คาร์ซิโนมา (Squamous cell carcinoma) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า มักจะลุกลามลงลึกสู่ด้านล่างของผิวหนัง ถ้าคลำดูผิวหนังด้านล่างมักจะพบว่าเป็นก้อนแข็งๆ
• มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งจากเซลล์สร้างเม็ดสี เมลานิน พบได้น้อย แต่มีความร้ายแรงมาก เพราะสามารถกระจายได้บ่อยกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น
สาเหตุ
แสงแดดไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเท่านั้น เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งได้อีก เช่น
• มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
• ผู้ที่มีสีผิวขาว เช่น ชาวยุโรปหรืออเมริกา
• ผิวหนังในบริเวณที่เคยได้รังสีรักษา
• ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น HIV หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน
• มีประวัติการถูกสารเคมีเรื้อรังเป็นเวลานาน เช่น สารหนู
อาการ
• มีตุ่ม ก้อนเนื้อ หรือแผลเรื้อรังที่ผิวหนัง
• ผื่นแดง อักเสบเรื้อรัง มีอาการคัน และเจ็บได้ แผลเรื้อรังที่ไม่หายภายใน 3-4 สัปดาห์
• ตุ่มหรือผื่นที่เป็นมานานและมีการแตกเป็นแผล มีเลือดออก
• ไฝที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง มีการเปลี่ยนแปลง เช่น โตเร็วผิดปกติ ไฝเม็ดเล็กกระจายออกข้างๆ สีไม่สม่ำเสมอหรือสีเปลี่ยนแปลง ขอบเขตไม่เรียบ
การรักษา
การรักษามะเร็งผิวหนังมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิด ตำแหน่ง และการลุกลามของโรค โดยแพทย์เฉพาะทางจะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่งทั่วไปจะใช้วิธีการผ่าตัดทั้งรอยโรคและในส่วนบริเวณผิวหนังที่ปกติโดยรอบออก บางชนิดอาจแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะส่วนอื่นอาจต้องรักษาร่วม เช่น การฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 24/06/2024
แพทย์ผู้เขียน
พญ. จันทกานต์ นิติเนาวรัตน์
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคผิวหนัง