ส่องกล้องคัดกรอง ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจสุขภาพประจำปีของแต่ละช่วงวัยจะมีโปรแกรมการตรวจที่แตกต่างกัน สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ซึ่งพบว่าจะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ ทั้งยังช่วยประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด โดยพบบ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะต้นมักจะไม่มีอาการ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากติ่งเนื้อเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยๆ กลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมักใช้เวลา 5-10 ปี กว่าจะมีอาการและตรวจพบ ก้อนมะเร็งมักจะใหญ่และลุกลามไปแล้ว แต่ถ้ามีการตรวจคัดกรองก่อน ก็สามารถป้องกันได้
ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ และการตรวจหาความผิดปกติที่ลำไส้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก พบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างชัดเจน โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธี เช่น ตรวจอุจจาระ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (CT Colonography) แต่วิธีที่เหมาะสมที่สุด คือ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เพราะถือเป็นการตรวจที่แม่นยำกว่าวิธีอื่นๆ
ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในกรณีผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง ควรตรวจตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป อย่ารอจนกระทั่งมีอาการ หรือหากผลการตรวจไม่พบความผิดปกติ แนะนำให้ทำการตรวจซ้ำทุก ๆ 5 ปี
ข้อดีของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
• แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียดและถูกต้อง มีความแม่นยำในการตรวจหาเนื้องอก
• สามารถวินิจฉัยสาเหตุอาการของโรคทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง น้ำหนักลดผิดปกติ ขับถ่ายผิดปกติ
• ประเมินความผิดปกติของก้อนเนื้อ ซึ่งกล้องแสดงให้เห็นลักษณะของก้อนเนื้อ แผลในลำไส้ที่ผิดปกติ หรือการอักเสบ
• ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่และช่วยในการรักษาก้อนเนื้องอกแบบที่ไม่ใช่มะเร็ง (polyps) ที่เจริญเติบโตขึ้นที่บริเวณผนังลำไส้ใหญ่ เพื่อป้องกันไม่กลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจอย่างละเอียดด้วยการส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ จะช่วยคัดกรองความผิดปกติที่เกิดขึ้นในลำไส้ได้อย่างแม่นยำ เพราะมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย การตรวจคัดกรองจะช่วยให้ตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งระยะแรกทำให้สามารถป้องกันหรือให้การรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด โดยพบบ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะต้นมักจะไม่มีอาการ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากติ่งเนื้อเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยๆ กลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมักใช้เวลา 5-10 ปี กว่าจะมีอาการและตรวจพบ ก้อนมะเร็งมักจะใหญ่และลุกลามไปแล้ว แต่ถ้ามีการตรวจคัดกรองก่อน ก็สามารถป้องกันได้
ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ และการตรวจหาความผิดปกติที่ลำไส้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก พบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างชัดเจน โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธี เช่น ตรวจอุจจาระ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (CT Colonography) แต่วิธีที่เหมาะสมที่สุด คือ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เพราะถือเป็นการตรวจที่แม่นยำกว่าวิธีอื่นๆ
ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในกรณีผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง ควรตรวจตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป อย่ารอจนกระทั่งมีอาการ หรือหากผลการตรวจไม่พบความผิดปกติ แนะนำให้ทำการตรวจซ้ำทุก ๆ 5 ปี
ข้อดีของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
• แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียดและถูกต้อง มีความแม่นยำในการตรวจหาเนื้องอก
• สามารถวินิจฉัยสาเหตุอาการของโรคทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง น้ำหนักลดผิดปกติ ขับถ่ายผิดปกติ
• ประเมินความผิดปกติของก้อนเนื้อ ซึ่งกล้องแสดงให้เห็นลักษณะของก้อนเนื้อ แผลในลำไส้ที่ผิดปกติ หรือการอักเสบ
• ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่และช่วยในการรักษาก้อนเนื้องอกแบบที่ไม่ใช่มะเร็ง (polyps) ที่เจริญเติบโตขึ้นที่บริเวณผนังลำไส้ใหญ่ เพื่อป้องกันไม่กลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจอย่างละเอียดด้วยการส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ จะช่วยคัดกรองความผิดปกติที่เกิดขึ้นในลำไส้ได้อย่างแม่นยำ เพราะมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย การตรวจคัดกรองจะช่วยให้ตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งระยะแรกทำให้สามารถป้องกันหรือให้การรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 03/07/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. กำธร เผ่าสวัสดิ์
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินอาหาร