กระดูกสันหลังคด รู้เร็ว รักษาได้
กระดูกสันหลังคด เป็นภาวะความผิดปกติที่พบได้ทุกเพศทุกวัย พบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากในช่วงวัยรุ่นและวัยทำงาน ภาวะหลังคดนี้ นอกจากจะทำให้บุคลิกภาพไม่ดีแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่เป็นต้นเหตุให้เกิดโรค หรืออาการต่างๆ ตามมาได้อีกมากมาย
โรคกระดูกสันหลังคดคืออะไร
โรคกระดูกสันหลังคด คือ โรคที่ผู้ป่วยจะมีลักษณะของกระดูกสันหลังผิดรูป เริ่มโค้งงอไปทางด้านข้างและหากวัดมุมส่วนโค้ง หรือที่เรียกว่ามุมกระสันหลังคด (Cobb angle) มีมากกว่า 10 องศา
สาเหตุ
ส่วนใหญ่ไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน ที่เรียกว่ากระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) พบบ่อยในเด็กวัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 10-15 ปี ในบางรายอาจสังเกตเห็นตั้งแต่เด็กเล็กๆ ก็ได้ ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่
โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด (Congenital Scoliosis) การคดชนิดนี้มักเป็นมาตั้งแต่เกิด หรือค่อยๆ คดมากขึ้นตั้งแต่เด็กเล็ก และส่งผลให้พัฒนาการทางร่างกายมีความผิดปกติร่วมด้วย แม้ว่าอาจจะแก้ไขให้กระดูกอยู่ในแนวที่ถูกต้อง 100% ไม่ได้ แต่ก็สามารถปรับให้ดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง โดยชะลอการเพิ่มขึ้นของกระดูกสันหลังคดไม่ให้รวดเร็วเกินไป กระดูกคดชนิดนี้ ถ้ามีการคดมากอาจมีผลต่อการทำงานของปอดและจำกัดการขยายตัวของปอดได้
โรคกระดูกสันหลังคดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อระบบประสาท (Neuromuscular Scoliosis) การคดชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ หรือระบบประสาท ทำให้กระดูกสันหลังค่อยๆ คดขึ้นมาภายหลัง การคดชนิดนี้รักษายากและได้ผลไม่ดี
โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง (Degenerative Scoliosis) การคดชนิดนี้เกิดในผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมของกระดูกสันหลัง อาจมีกระดูกสันหลังเคลื่อนร่วมด้วย แล้วมีกระดูกสันหลังคดมากขึ้นตามมาภายหลัง อาจเกิดจากความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อหลังก็ได้
กระดูกสันหลังคดจากสาเหตุอื่น (Functional Scoliosis) การคดแบบนี้ไม่ได้เกิดจากกระดูกสันหลังคดโดยตรง อาจเกิดจากขายาวไม่เท่ากัน มีการอักเสบที่อื่นๆ นอกกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ หรืออาจเกิดจากท่าทางผิดปกติที่เกิดขึ้นซ้ำทุกวัน วันละหลายๆชั่วโมง และต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ท่าทางการทำงานของร่างกายที่ไม่สมดุล เช่น การนั่งลงน้ำหนักที่ก้นด้านเดียว สะพายกระเป๋าด้านเดียว การวางจอคอมพิวเตอร์เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ฯลฯ อุปนิสัยเช่นนี้เมื่อเคยชินก็จะทำโดยไม่รู้ตัว และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดกระดูกสันหลังคดได้หากกระทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
อาการ
• แนวกระดูกสันหลังไม่ตรง
• ระดับหัวไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน
• ด้านหลังอาจมีกระดูกนูน เห็นชัดในท่าก้มตัวไปข้างหน้า
ผู้ป่วยที่เป็นหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ มักมาพบแพทย์ด้วยความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง มีคนไข้ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการปวดหลังร่วมด้วย ส่วนหลังคดจากสาเหตุอื่นๆ อาจมีปวดหลังร่วมด้วย
วิธีการใดที่สามารถบอกว่าเราอาจเป็นโรคกระดูกสันหลังคด
นอกจากแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง ความสูงของระดับหัวไหล่ไม่เท่ากันแล้ว อาจดูได้จากการตรวจง่ายๆ คือ Adam’s forward bending test ให้ผู้ป่วยยืนเท้าชิดกัน และให้ก้มไปด้านหน้า พยายามใช้มือ 2 ข้างแตะพื้น จะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน
การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังคด
นอกจากการดูลักษณะที่ผิดปกติแล้ว แพทย์จะตรวจการทำงานของระบบประสาท และอาจส่งตรวจทางรังสี หรือส่งเอกซเรย์เพื่อการวินิจฉัย และประเมินระดับความรุนแรงของโรค
ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) จะต้องทำอย่างไร
ผู้ป่วยและญาติต้องเข้าใจโรคกระดูกสันหลังคด การดำเนินโรค และคอยช่วยแพทย์สังเกตความเปลี่ยนแปลง ความคดของกระดูกสันหลัง และมาติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพราะจุดประสงค์การรักษา คือ ควบคุมหรือลดการคดของกระดูกสันหลังไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น หลังจากแพทย์ประเมินระดับความรุนแรงของโรค อายุกระดูก และการเจริญเติบโตของผู้ป่วยแล้วจึงจะพิจารณาให้การรักษา
ทางเลือกการรักษา การรักษาแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง คือ
• การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีมุมองศาที่คดไม่มาก โดยการใช้การสังเกตอาการ (observe) หรืออาจะต้องใช้เสื้อเกราะ (brace) ในผู้ป่วยบางราย
• การรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีมุมองศาที่คดมาก หรือมีการเพิ่มของมุมองศาที่คดมากขึ้นขณะติดตามการรักษา
การรักษาด้วยการสังเกตอาการ (Observe)
กรณีที่ผู้ป่วยมีมุมองศาที่คดไม่มากจึงสามารถใช้วิธีการรักษานี้ได้ โดยการสังเกตว่ากระดูกสันหลังคดมากขึ้นหรือไม่ และจำเป็นต้องมาติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิดทุก 4-6 เดือน ถ้ามีการเพิ่มขึ้นของมุมองศาที่คด อาจต้องใช้การรักษาอื่นร่วมด้วย
ถ้าต้องรักษาด้วยเสื้อเกราะ (Brace) ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
การรักษาจะใช้เสื้อเกราะ (brace) ใส่ป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้น ผู้ป่วยจะใส่ตลอดเวลาประมาณ 23 ชั่วโมงต่อวัน ยกเว้นเวลาอาบน้ำสามารถถอดได้ การใส่เสื้อเกราะจะต้องใส่จนกว่าผู้ป่วยหยุดเจริญเติบโต และค่อยๆ ลดจำนวนชั่วโมงที่ใส่ลงจนแน่ใจว่ากระดูกสันหลังไม่คดมากขึ้นแล้ว ก็จะหยุดใส่ได้
จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเมื่อไร
• ผู้ป่วยที่มีมุมของกระดูกสันหลังคดมากกว่า 45 องศาในวัยกำลังเจริญเติบโต (Immature)
• ผู้ป่วยที่มีมุมของกระดูกสันหลังคดมากกว่า 50-55 องศาในวัยที่หยุดการเจริญเติบโตแล้ว (Maturity)
• ผู้ป่วยที่มีการคดของกระดูกสันหลังมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะรับการรักษาโดยการใส่เสื้อเกราะ (Brace)
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดมีจุดประสงค์เพื่อลดความผิดรูปของกระดูกสันหลัง และทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในภาวะสมดุล โดยการผ่าตัดแพทย์จะพยายามจัดแนวกระดูกสันหลังให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วใช้อุปกรณ๋โลหะยึดตรึงกระดูกสันหลัง หลังจากนั้นทำการเชื่อมกระดูกสันหลังและเย็บปิดแผล
โรคกระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และในแต่ละชนิดก็มีความรุนแรงของโรคและการดำเนินของโรคแตกต่างกันไป สำคัญที่การวินิจฉัยในระยะแรกๆ ของโรค ถ้าวินิจฉัยได้เร็วและเริ่มการรักษาได้เร็ว ก็อาจจะสามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดได้ ดังนั้นถ้าตรวจพบ ควรรีบมาพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นจากสาเหตุใด เพื่อการเฝ้าระวังอย่างถูกต้อง และให้การรักษาที่เหมาะสม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
โรคกระดูกสันหลังคดคืออะไร
โรคกระดูกสันหลังคด คือ โรคที่ผู้ป่วยจะมีลักษณะของกระดูกสันหลังผิดรูป เริ่มโค้งงอไปทางด้านข้างและหากวัดมุมส่วนโค้ง หรือที่เรียกว่ามุมกระสันหลังคด (Cobb angle) มีมากกว่า 10 องศา
สาเหตุ
ส่วนใหญ่ไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน ที่เรียกว่ากระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) พบบ่อยในเด็กวัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 10-15 ปี ในบางรายอาจสังเกตเห็นตั้งแต่เด็กเล็กๆ ก็ได้ ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่
โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด (Congenital Scoliosis) การคดชนิดนี้มักเป็นมาตั้งแต่เกิด หรือค่อยๆ คดมากขึ้นตั้งแต่เด็กเล็ก และส่งผลให้พัฒนาการทางร่างกายมีความผิดปกติร่วมด้วย แม้ว่าอาจจะแก้ไขให้กระดูกอยู่ในแนวที่ถูกต้อง 100% ไม่ได้ แต่ก็สามารถปรับให้ดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง โดยชะลอการเพิ่มขึ้นของกระดูกสันหลังคดไม่ให้รวดเร็วเกินไป กระดูกคดชนิดนี้ ถ้ามีการคดมากอาจมีผลต่อการทำงานของปอดและจำกัดการขยายตัวของปอดได้
โรคกระดูกสันหลังคดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อระบบประสาท (Neuromuscular Scoliosis) การคดชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ หรือระบบประสาท ทำให้กระดูกสันหลังค่อยๆ คดขึ้นมาภายหลัง การคดชนิดนี้รักษายากและได้ผลไม่ดี
โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง (Degenerative Scoliosis) การคดชนิดนี้เกิดในผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมของกระดูกสันหลัง อาจมีกระดูกสันหลังเคลื่อนร่วมด้วย แล้วมีกระดูกสันหลังคดมากขึ้นตามมาภายหลัง อาจเกิดจากความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อหลังก็ได้
กระดูกสันหลังคดจากสาเหตุอื่น (Functional Scoliosis) การคดแบบนี้ไม่ได้เกิดจากกระดูกสันหลังคดโดยตรง อาจเกิดจากขายาวไม่เท่ากัน มีการอักเสบที่อื่นๆ นอกกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ หรืออาจเกิดจากท่าทางผิดปกติที่เกิดขึ้นซ้ำทุกวัน วันละหลายๆชั่วโมง และต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ท่าทางการทำงานของร่างกายที่ไม่สมดุล เช่น การนั่งลงน้ำหนักที่ก้นด้านเดียว สะพายกระเป๋าด้านเดียว การวางจอคอมพิวเตอร์เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ฯลฯ อุปนิสัยเช่นนี้เมื่อเคยชินก็จะทำโดยไม่รู้ตัว และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดกระดูกสันหลังคดได้หากกระทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
อาการ
• แนวกระดูกสันหลังไม่ตรง
• ระดับหัวไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน
• ด้านหลังอาจมีกระดูกนูน เห็นชัดในท่าก้มตัวไปข้างหน้า
ผู้ป่วยที่เป็นหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ มักมาพบแพทย์ด้วยความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง มีคนไข้ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการปวดหลังร่วมด้วย ส่วนหลังคดจากสาเหตุอื่นๆ อาจมีปวดหลังร่วมด้วย
วิธีการใดที่สามารถบอกว่าเราอาจเป็นโรคกระดูกสันหลังคด
นอกจากแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง ความสูงของระดับหัวไหล่ไม่เท่ากันแล้ว อาจดูได้จากการตรวจง่ายๆ คือ Adam’s forward bending test ให้ผู้ป่วยยืนเท้าชิดกัน และให้ก้มไปด้านหน้า พยายามใช้มือ 2 ข้างแตะพื้น จะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน
การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังคด
นอกจากการดูลักษณะที่ผิดปกติแล้ว แพทย์จะตรวจการทำงานของระบบประสาท และอาจส่งตรวจทางรังสี หรือส่งเอกซเรย์เพื่อการวินิจฉัย และประเมินระดับความรุนแรงของโรค
ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) จะต้องทำอย่างไร
ผู้ป่วยและญาติต้องเข้าใจโรคกระดูกสันหลังคด การดำเนินโรค และคอยช่วยแพทย์สังเกตความเปลี่ยนแปลง ความคดของกระดูกสันหลัง และมาติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพราะจุดประสงค์การรักษา คือ ควบคุมหรือลดการคดของกระดูกสันหลังไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น หลังจากแพทย์ประเมินระดับความรุนแรงของโรค อายุกระดูก และการเจริญเติบโตของผู้ป่วยแล้วจึงจะพิจารณาให้การรักษา
ทางเลือกการรักษา การรักษาแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง คือ
• การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีมุมองศาที่คดไม่มาก โดยการใช้การสังเกตอาการ (observe) หรืออาจะต้องใช้เสื้อเกราะ (brace) ในผู้ป่วยบางราย
• การรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีมุมองศาที่คดมาก หรือมีการเพิ่มของมุมองศาที่คดมากขึ้นขณะติดตามการรักษา
การรักษาด้วยการสังเกตอาการ (Observe)
กรณีที่ผู้ป่วยมีมุมองศาที่คดไม่มากจึงสามารถใช้วิธีการรักษานี้ได้ โดยการสังเกตว่ากระดูกสันหลังคดมากขึ้นหรือไม่ และจำเป็นต้องมาติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิดทุก 4-6 เดือน ถ้ามีการเพิ่มขึ้นของมุมองศาที่คด อาจต้องใช้การรักษาอื่นร่วมด้วย
ถ้าต้องรักษาด้วยเสื้อเกราะ (Brace) ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
การรักษาจะใช้เสื้อเกราะ (brace) ใส่ป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้น ผู้ป่วยจะใส่ตลอดเวลาประมาณ 23 ชั่วโมงต่อวัน ยกเว้นเวลาอาบน้ำสามารถถอดได้ การใส่เสื้อเกราะจะต้องใส่จนกว่าผู้ป่วยหยุดเจริญเติบโต และค่อยๆ ลดจำนวนชั่วโมงที่ใส่ลงจนแน่ใจว่ากระดูกสันหลังไม่คดมากขึ้นแล้ว ก็จะหยุดใส่ได้
จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเมื่อไร
• ผู้ป่วยที่มีมุมของกระดูกสันหลังคดมากกว่า 45 องศาในวัยกำลังเจริญเติบโต (Immature)
• ผู้ป่วยที่มีมุมของกระดูกสันหลังคดมากกว่า 50-55 องศาในวัยที่หยุดการเจริญเติบโตแล้ว (Maturity)
• ผู้ป่วยที่มีการคดของกระดูกสันหลังมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะรับการรักษาโดยการใส่เสื้อเกราะ (Brace)
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดมีจุดประสงค์เพื่อลดความผิดรูปของกระดูกสันหลัง และทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในภาวะสมดุล โดยการผ่าตัดแพทย์จะพยายามจัดแนวกระดูกสันหลังให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วใช้อุปกรณ๋โลหะยึดตรึงกระดูกสันหลัง หลังจากนั้นทำการเชื่อมกระดูกสันหลังและเย็บปิดแผล
โรคกระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และในแต่ละชนิดก็มีความรุนแรงของโรคและการดำเนินของโรคแตกต่างกันไป สำคัญที่การวินิจฉัยในระยะแรกๆ ของโรค ถ้าวินิจฉัยได้เร็วและเริ่มการรักษาได้เร็ว ก็อาจจะสามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดได้ ดังนั้นถ้าตรวจพบ ควรรีบมาพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นจากสาเหตุใด เพื่อการเฝ้าระวังอย่างถูกต้อง และให้การรักษาที่เหมาะสม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคกระดูกและข้อ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 12/11/2024
แพทย์ผู้เขียน
นพ. ศัลยพงศ์ สรรพกิจ
ความถนัดเฉพาะทาง
ศัลยแพทย์ทางด้านโรคกระดูกและข้อ